Skip to main content

นับจากวันที่28กุมภาพันธ์2556 ตัวแทนรัฐไทยได้ลงนามในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับผู้คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ โดยมีประเทศมาเลเซียทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ซึ่งในครั้งนั้นภาคประชาสังคมมีบทบาทอย่างชัดเจนในคณะการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่ถึงตอนนี้เริ่มเกิดคำถามว่า บทบาทของภาคประชาสังคมหายไปไหน

ผศ.ดร.ศรีสมภพ  จิตร์พิรมศรี ผู้อำนวยการ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีตัวแทนภาคประชาสังคมเข้าไปร่วมอาจจะเป็นไปได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการพูดคุยสันติภาพในภาคใต้เน้นคุยเฉพาะคู่ขัดแย้ง คู่เจรจามากกว่า ภาคประชาสังคมก็ลดบทบาทลงในส่วนนี้

นางโซรยา จามจุรีเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า  วันนี้คนที่ไปคุยในฐานที่เป็นประชาสังคมด้วยมันไม่มี เราก็ไม่รู้ว่ามีใครอยู่ในคณะชุดนี้บ้างนอกเหนือจากทหารและเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะฉะนั้นการขาดตัวแทนของผู้แทนภาคประชาสังคมเข้าไปมันก็เลยเชื่อต่อกับประชาชนลำบาก

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในระยะสองถึงสามปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงการตื่นตัวของคนในพื้นที่ ซึ่งบอกเล่าผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งการลงพื้นที่ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและการเปิดเวทีพูดคุยเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้

ผศ.ดร. ศรีสมภพ  จิตร์พิรมศรี ผู้อำนวยการ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวว่า ถ้าหากว่าไม่มีภาคประชาสังคมไปร่วมด้วยหรือว่าโอกาสของประชาชน ในระดับรากหญ้าในการสร้างความรู้สึกหรือความรู้ความเข้าใจในความเข้าใจในกระบวนสันติภาพมันลดน้องลง สันติภาพก็ไม่ยั่งยืนตกลงกันไม่ได้ หรืออาจจะ ตกลงกันได้ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เป็นรากเหง้าของปัญหา

นายอับดุลกอฮาร์  อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานีกล่าวว่า  บทบาทของภาคประชาสังคมที่มีอยู่มันคือตัวถ่วงดุลตัวหนึ่งทีไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นายแวอิสมาแอล์  แนแซ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชนกล่าวว่า ภาคประชาสังคมไปเติมเต็มส่วนที่ขาดของการแก้ปัญหา  แม้แต่บางเรื่องทื่ทางรัฐจัดการไม่ได้ภาคประชาสังคมก็สามารถที่จะใช้พื้นที่หรือใช้โอกาสที่มันที่คาบเกี่ยวกับสันติภาพได้

นายฮาร่า ชินทาโร่ อาจารย์คณะมุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี กล่าวว่า ภาคประชาสังคมมีความสำคัญสามารถเป็นตัวแทนของชาวบ้านในระดับหนึ่ง ในความต้องการของทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้ขบวนการสันติภาพที่มีความสำเร็จต้องมาจากCSOในพื้นที่ไม่ใช่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่ฝ่ายกระบวนการหรือฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียว ต้องมีส่วนร่วมกันทุกฝ่าย

แม้ว่านับจากนี้ไป กลุ่มภาคประชาสังคมจะไม่มีส่วนร่วมในโต๊ะเจรจาหรือเวทีการพูดคุยสันติภาพ แต่กลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ยังคงมีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนสันติภาพในพื้นที่ต่อไป อย่างวิทยาลัยประชาชน ในพื้นที่ปัตตานี เป็นสถาบันวิชาการที่มุ่งเน้นให้การศึกษา อบรม เสวนา วิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกระบวนการในการสร้างสันติภาพ ให้กับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้นำชุมชน

นายแวอิสมาแอล์  แนแซ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชนกล่าว่า ทำงานเพื่อเป็นพื้นที่หนึ่งหรือชาญชลาหนึ่งเป็นองค์ที่ทำงานให้ความรู้กับ cso และผู้นำนักศึกษา ผู้นำประชาชนซึ่ง งานเกี่ยวกับสันติภาพเราให้ความสำคัญกับช่วงนี้เป็นพิเศษ คือช่วงเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งหลายฝ่ายก็ต่างให้ความสำคัญกับการเจรจาสันติภาพ จริงอยู่ กระบวนการเจรจายังไม่ได้เป็นรูปแบบระบบตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ แต่อันนี้เป็นการรึเริ่มที่ดีของกระบวนการนี้

เช่นเดียวกับกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้เป็นซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีบทบาทในการขับเคลื่อนสันติภาพและมีความตื่นตัวที่จะหาทางออกที่ไม่ใช่ความรุนแรง โดยการจัดเวทีการพูดคุย

โซรยา จามจุรี เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า  ผู้หญิงมีบทบาทในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และการเปิดพื้นที่พูดคุยกันในชุมชนที่มีความเห็นต่างอย่างเช่นเจ้าหน้าที่ คนในชุมชน ชาวพุทธ มุสลิม คุยกันแล้วเริ่มหาทางออกต่อเรื่องที่เห็นต่างและขัดแย้งกัน เป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการหนุนเสริมการพูดคุยในระดับบน

แม้การเจรจาครั้งนี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของคนทำงานภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่ แต่บทบาทของภาคประชาสังคมก็ไม่อาจหยุดนิ่งและยิ่งมีสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆหากความรุนแรงยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้