Skip to main content

ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดคำถามตามมาว่ากระบวนการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร พลเมืองข่าวพูดคุยในประเด็นนี้กับ

นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี

นายรอมฎอน ปันจอร์ จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

คำถาม ช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นการตื่นตัวการทำงานของภาคประชาสังคมในสามจังหวัดเยอะมากๆ แต่ว่าตอนนี้ดูเหมือนจะแผ่วไป สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

รอมฎอน ปันจอร์ กิจกรรมตอนนี้ก็ยังคึกคักเหมือนเดิม การทำงานของกลุ่มองค์กรต่างๆ การรวมกลุ่มขององค์กรที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะแล้วก็ไม่ใช้ภาครัฐ หรือว่าไม่ใช้ปืนหรือว่าไม่ใช้กำลังก็ยังคงคึกคักอยู่ ยังคงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวโน้มของการลงทำงานในชุมชน มีมากขึ้นนะอาจจะเป็นไปได้ว่าระยะหลังเริ่มเห็นความจำเป็นจริงๆแล้วว่า จำเป็นที่จะต้องลงทำงานกับชุมชน ทั้งในแง่ของการสร้างความรู้ เวทีต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีอยู่แต่ว่าไม่เป็นข่าว

อนุกูล อาแวปูเตะ ครั้งที่แล้วกระบวนการพูดคุยเจรจามันเริ่มมีการเปิดพื้นที่มาก่อนอย่างเช่น มีนโยบายของ สมช.ที่เห็นเป็นรูปธรรม แล้วก็หลังจากนั้นแม้แต่ ศอบต.เองก็มีการลงพื้นที่ กับประชาชนอยู่ตลอด แต่ว่าพอมาหลังรัฐประหารมันก็เลยทำให้บรรยากาศมันอึมครึมไปนิดหนึ่ง  แต่ว่าในพื้นที่ก็ยังมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าคนข้างนอกอาจจะมองไม่เห็นถึงการทำงานของคนในพื้นที่

คำถาม อยากให้สองท่านเน้นย้ำให้ฟังถึงความสำคัญของการทำงานของภาคประชาสังคมในพื้นที่ มีความสำคัญกับการแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไรบ้าง

รอมฎอน ปันจอร์  คนที่จะแก้ปัญหาต้องฟังพวกเขา ไม่ว่า คุณจะอยู่ฝ่ายไหนก็ตาม เพราะว่าเขาอยู่กับชีวิตจริงที่นั่น ใช้ชีวิตจริงที่นั่น แล้วก็จะอยู่กับอนาคตที่นั่นด้วย ไม่ว่าอนาคตที่ว่านั้นจะหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ว่าเขาต้องอยู่กับมัน เพราะฉะนั้นคนที่เคยเป็นเหยื่อ จากความรุนแรง หรือว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย คนพวกนี้มีความชอบธรรมสูงมากที่จะบอกว่า อนาคตควรจะเป็นอย่างไร นี่คือความจำเป็นที่พวกเขาควรจะมีบทบาทในกระบวนการสร้างสันติภาพ

อนุกูล อาแวปูเตะ ในพื้นที่ช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชนมันสูงมากทั้งในเรื่องภาษา อัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ มันเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เข้าไม่ถึง ในส่วนของอำนาจรัฐ การที่มีภาคประชาสังคมที่มาทำงาน ก็คือเป็นกลุ่มที่มีความรู้ มีการศึกษา เข้าสามารถเป็นตัวกลางสื่อสารกับภาครัฐได้ แล้วก็งานที่เขาเน้นก็คืองานที่ให้การช่วยเหลือของสิทธิอย่างเช่นพวกเด็กกำพร้า พวกสูญเสีย พวกเหยื่อต่างๆ แล้วก็รวมถึงคนที่ถูกละเมิดสิทธิ์ หรือถูกใช้กฎหมายพิเศษ กลุ่มเหล่านี้ก็ค่อนข้างที่จะใกล้ชิดกับชาวบ้านจริงๆ

คำถาม ด้วยเรื่องของการเมืองที่เปลี่ยนแปลงทำให้ภาคประชาสังคมถูกลดบทบาทลง พูดอย่างนี้ได้ไหม

รอมฎอน ปันจอร์ จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ความเปราะบางของสถานการณ์ทางการเมืองมันทำให้คนระมัดระวัง โดยเฉพาะในพื้นที่ความขัดแย้งที่เล่นกันถึงตายที่พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถ้าโดยเปรียบเทียบแล้วมันคล้ายๆกับระวังตัวสักนิดหนึ่ง แต่ว่ายังมีการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง อาจจะไม่ได้เปรียบเทียบกับปีที่แล้วแต่ว่าก็ค่อยๆขยับไป อันนี้เป็นความต่าง

คำถาม ถ้าเกิดว่าให้มองจากคนในพื้นที่ท่าทีของรัฐที่มีต่อการทำงานของภาคประชาสังคมเชื่อมโยงกับคนที่อยู่ในพื้นที่ กับอีกปีหนึ่งของการเคลื่อนไหว ภาพตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

อนุกูล อาแวปูเตะ  ผมว่ารัฐยังไม่เข้าใจการทำงานของภาคประชาสังคมที่ผ่านมามองภาคประชาสังคมเหมือนมาคอยจับผิดเหมือนกับว่าเป็นอุปสรรคที่รัฐจะเดินอะไรบ้างอย่างฝ่ายรัฐก็อยากจะใช้อำนาจ อยากที่จะแสดงศักยภาพในการใช้อำนาจในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ชัดเจนว่าเขาจะต่อสู้เหมือนกันแต่คนที่อยู่ตรงกลางกลุ่มคนนี้เขาก็จะต้องคิดว่าจะอยู่ต่อไปในชะตากรรมในอนาคตของเขาข้างหน้าตรงนี้ก็เลยจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ พูดง่ายๆก็คือเป็นพื้นที่ทางการเมืองในการแสดงความคิดเห็นของคนในพื้นที่ เพราะว่ายอมรับอยู่แล้วว่า คิดต่างแน่นอนทั้งสองฝ่าย แต่ว่าจะทำยังไงที่จะทำให้คนในพื้นที่มีโอกาสในการที่จะพูดได้ส่งเสียงได้ เขาจะพูดยังไงก็ให้พูด ไม่ใช่ว่าพอแสดงออกไม่ถูกใจ ก็มีการตอบโต้ อย่างนี้มันไม่เกิดบรรยากาศในการที่จะสร้างบรรยากาศในพื้นที่

รอมฎอน ปันจอร์  มันมีแนวโน้มที่คนจะแบ่งเขาแบ่งเราแยกมิตรแยกศัตรูฉะนั้นมันก็ไม่แปลกที่ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่รัฐหรือว่าฝ่ายนโยบายของรัฐอาจจะมองกลุ่มที่เคลื่อนไหวบนดิน กลุ่มที่เคลื่อนไหวภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อจิตสาธารณะในนัยยะที่แบ่งเขา คล้ายๆบอกว่าเป็นแนวร่วม ผมว่าอันนี้เป็นกรอบการมองชนิดหนึ่ง แต่ผมคิดว่าพอเริ่มมีการพูดคุยกับฝ่ายตรงกันข้ามมีการเปิดพื้นที่มากขึ้นผมคิดว่าสังคมไทยและเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนคงเริ่มที่จะเข้าใจว่ามันมีความต่างกันอยู่

คำถาม มีกระบวนการที่นำไปสู่เป้าหมายนั้นได้ไหมคะ

รอมฎอน ปันจอร์  ในจุดนี้ เมื่อรัฐบาล คุณประยุทธ์ กำลังจะเดินหน้าการพูดคุย แม้ยังไม่มีความชัดเจน แต่อย่างไรเสีย กระบวนการนี้ต้องการการสนับสนุนจากสาธารณะชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาสังคมที่ทำงานกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบที่ทำงานในมิติต่างๆมากมายฉะนั้นกระบวนการเหล่านี้ทั้งรัฐและภาคประชาสังคมเอง คล้ายๆกับมีจุดร่วมอยู่อย่างหนึ่งเพียงแต่ปัญหาอยู่ที่ว่ากระบวนการที่ว่านี้มันจะมีน้ำหนัก มีความหมายมากพอหรือเปล่าสำหรับคนในพื้นที่อันนี้คือสิ่งที่รัฐบาลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายกระบวนการต่อสู้เพื่อปัตตานีเองก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าที่จะคุยหรือไม่คุยกันนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่แค่ไหน

คำถาม ถ้ามีการยกภาคประชาสังคมออกมาจากพื้นที่ ตอนนี้ไม่มีแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น

อนุกูล อาแวปูเตะ  ถ้าเหมือนผม ทำงานในกระบวนการยุติธรรม ผมถามว่าคนที่มีหมายจับทั้งที่หมายจับถูกซัดทอด ถูกอะไรตามกฎหมายพิเศษบางคนมาพุดกับผมว่าถ้าเกิดไม่มีศูนย์ทนายความมุสลิม เขาคงหนีไปแล้ว ผมว่าตัวนี้มันทำให้คนยอมรับในกระบวนการยุติธรรมแต่ต้องสร้างความเป็นธรรมให้เป็นจริงให้ได้ถ้าเกิดว่าใช้กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างนี้ความรุนแรงมันก็ต้องเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าคนที่มี ความคิด ในกลุ่มของกระบวนการก็มีความคิด แต่สิบปีที่ผ่านมารัฐต้องยอมรับความผิดพลาดเหมือนกัน กระบวนการซ้อมทรมาน กระบวนการพิเศษต่างๆที่เกิดขึ้นมันสร้างความเป็นทำในพื้นที่ให้เกิดขึ้น คือยังไม่ได้รับการเยียวยาเขาต้องถูผลักออกไปโดยปริยาย มันต่างกับคนที่เขามีความผิดเดิมอยู่แล้ว

รอมฎอน ปันจอร์  ผมคิดว่าสถานการณ์เลวร้ายลงแน่นอน การใช้กำลังจะสูงมาก เพราะว่ามันไม่มีตัว บัฟเฟอร์ ทั้งในแง่ของการสื่อสารหรือว่าการทำความเข้าใจการให้ทางเลือกกับผู้คนรวมทั้งให้ทางเลือกกับฝ่ายรัฐด้วยในการที่จะจัดการหรือว่าต่อรองกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนประเด็นท่าองที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนก็คือ ผมกลับพบว่าหลังการพูดคุยที่ มาเลเชีย สองปีมาแล้วนั้น ผมว่าสถานการณ์ในพื้นที่เปลี่ยนแน่นอนว่าโดยรวมคนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เห็นภาพอาจจะยังไม่เห็นสิ่งที่จับต้องได้แต่ว่าสถานการณ์เปลี่ยน

คำถาม ก่อนหน้านี้ที่บอกว่าการเจรจาผ่านมาสองปีแล้ว เราจะเห็นการจรจาจะเกิดขึ้นอีกเร็วๆนี้ไหม

อนุกูล อาแวปูเตะ ผมคิดว่ายังไงก็ต้องเจรจาเพราะว่ารัฐบาลก็ประกาศนโยบายไปแล้วเพียงแต่ว่าในตอนนี้อาจจะยังไม่มีการเริ่มต้นที่มันเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ว่าการที่รัฐบาลจะประกาศเขาอาจจะมองว่าในครั้งที่ผ่านมามันเป็นยังไงคือภาคประชาชนสนับสนุนอยู่แล้ว เพราะการเจรจามันคือการหาสันติภาพหรือสันติสุขในพื้นที่ ก็คงจะมีแค่เครื่องมือตัวนี้ตัวเดียวที่จะสามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต แต่ว่าทางรัฐเองจะต้องสื่อสารให้เข้าใจโดยเฉพาะจะต้องเปิด ในที่นี้หมายถึงว่า ภาคประชาชนหรือว่าคนในพื้นที่สามารถที่จะเห็นการเจรจาที่มีความคืบหน้าเป็นลำดับผมคิดว่ารัฐบาลมีอำนาจอยู่แล้วในการที่จะทำเรื่องนี้เพียงแต่ว่าจะวางรูปแบบ แบบไหนเท่านั้นเอง

คำถาม ถ้าเกิดว่าจะลงลึกถึงรายละเอียดการทำงานของภาคประชาสังคมในพื้นที่แต่ละกลุ่มที่ทำงานก็มีหลายกลุ่ม มองสันติภาพไปในทิศทางเดียวกันไหม

รอมฎอน ปันจอร์   ในภาคประชาลังคมเองก็ต่างกันเยอะ มันไม่ใช่ต่างกันแค่เรื่องภารกิจหรือว่าหน้างานที่แต่ละคนทำแต่ละฝ่ายแต่ละองค์กรทำไม่ได้ต่างแค่ภูมิหลังหรือว่าแบ็คกราวเท่านั้นแต่ผมคิดว่าความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการหาทางออกทางการเมืองที่ไม่ฆ่ากันยังต่างกันอยู่บางกลุ่มก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องไกลๆเลย แค่ขอให้ยุติความรุนแรงก่อนเพราะว่าตัวเองต้องการใช้ชีวิต แต่บางกลุ่มหรือว่าบางเครือข่ายก็อาจจะมีการผสมผสานกัน ต่างวัฒนธรรม ต่างชาติพันธุ์คือทั้งหมดทั้งมวลมันน่าสนใจตรงที่ว่าการลุกขึ้นมาแบบว่าตัวเองนิยามสันติภาพคำว่าสันติภาพอย่างไร สิ่งนี้คือการเมืองที่น่าสนใจมากถ้ามีพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงออกอย่างที่คุณอนุกูลว่าเราจะเห็นความหลากหลายตรงนี้และผมเชื่อว่าความหลากหลายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นเนื้อหาสาระจริงๆที่ทั้งฝ่าย บีอาเอ็น และฝ่ายรัฐบาลไทย จะเก็บรับและนำไปต่อยอดในการพูดคุยเพราะว่าถ้าเราไม่ฟังเสียงที่ต่างนี้ว่าประชาชนคิดอะไรอยู่ไม่มีการเก็บขึ้นมาจากข้างล่างเราก็จะไม่รู้เลยว่าไอที่เราคุยกันสองคนมันจะได้ผลหรือเปล่าและถ้ามีวิธีการฟังเสียงประชาชนที่ดีพอเราก็จะสามารถออกแบบอนาคตร่วมกันได้

คำถาม แล้วอย่างนี้ภาคประชาสังคมเองที่บอกว่าอาจจะคิดไม่ได้เหมือนกันทุกอย่าง กระบวนการอาจจะแตกต่างกันมีขัดแย้งกันบ้างไหม

อนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี  ขัดแย้งนี่คงไม่มีครับเพราะอย่าลืมว่าการเกิดขึ้นของภาคประชาสังคมมันเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเมตตาผมคิดว่าไม่ได้มาทำงานเพื่อที่จะใช้ทำมาหากิน ก็คือมีจิตสำนึกที่จะช่วยเหลือและเป็นคนในพื้นที่ซะส่วนใหญ่

มีการทำงานจากนอกพื้นที่ความขัดแย้งที่เข้ามาช่วยส่งเสริมหรือว่าช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงทำให้ภาคประชาสังคมในพื้นที่เข้มแข็งขึ้น มีส่วนไหนยังไงบ้างคะ

รอมฎอน ปันจอร์ จากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ แน่นอนครับ เราพบว่าตัวแสดงที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้น่าสนใจมาก คือในช่วงสามสี่ปีมานี้ องค์กรด้านซับพอร์ต สนับสนุนด้านกระบวนการสันติภาพองค์กรที่เป็นหน่วยงานเหนือรัฐ เช่น ยูเอ็น ยูนิเซฟ ยูเนสโก  เหล่านี้นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการพูดคุยที่เคแอล ทิศทางในการซับพอร์ต การเคลื่อนไหว ในการทำกิจกรรมต่างๆที่วางอยู่บนพื้นฐานการซับพอร์ตองค์กรณ์ภาคประชาสังคม ก็ค่อยๆเริ่มเปลี่ยนมา พุดถึงการสร้างศักยภาพของผู้คน ให้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานเพื่อสันติภาพแต่ว่ามันชี้ให้เห็นว่า มันไม่ใช่แค่คนในเท่านั้นที่จะกำหนดอะไร แต่มันมาจากการสนับสนุนจากข้างนอกด้วยเหมือนกัน

อนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี ส่วนหนึ่งประชาชนในภาคประชาสังคมในพื้นที่ยังไม่มีองค์ความรู้ในเรื่องพวกนี้ผมมองว่าเราจะเห็นได้ว่าประเทศอื่นๆในต่างประเทศนั้นบทบาทของภาคประชาสังคมในเรื่องกระบวนการสันติภาพมีบทบาทมากแต่ว่าสำหรับคนในพื้นที่ด้วยความที่ว่าทำงานมานานในพื้นที่อย่างสิบปีที่ผ่านมามันก็ตกผลึกทางความคิดอะไรบางอย่างแต่ถ้าจะให้มองดูภาพรวมทั่วๆไปบางทีในเชิงของยุทธศาสตร์มันอาจจะยังคิดไม่ออกจำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆเข้ามาเพื่อที่จะสร้างเสริมให้คนในพื้นที่สามารถที่จะทำงานร่วมกันในภาคประชาสังคมแล้วก็ร่วมกันกับส่วนของภาครัฐได้นี่คือบทบาทส่วนหนึ่งที่คนในพื้นที่ก็อาจจะต้องปรับตัวด้วยในส่วนของภาคประชาสังคม

รอมฎอน ปันจอร์  อันนี้ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีเอกภาพอย่างไรสำหรับภาคประชาสังคมในหน่วยงานภาครัฐจำเป็นมากที่เขาจะต้องมีนโยบายแต่ภาคประชาสังคมนี่จำเป็นหรือเปล่าผมอยากจะเปรียบเทียบเหมือนกับตลาดการมีร้านค้าหลายร้านและอาจจะทำให้คนได้เลือกซื้อสินค้าได้เลือกฟังข้อเสนอในทางการเมืองอย่างหลากหลาย ไม่ใช่ถูกกำหนดโดยเจ้าใหญ่รายเดียวในตลาด มันจะดีกว่าถ้าทำให้คนได้ช่วยกันคิดแล้วก็ถกเถียงข้อเสนอเหล่านี้มันก็จะมาแตกกันเองและกลุ่มต่างๆองค์กรต่างๆจะมาแตกกันเอง

คำถาม แล้วจุดศูนย์ร่วมที่ทุกคนเห็นร่วมกันในเรื่องของสันติภาพ ณ ตอนนี้คืออะไร

อนุกูล อาแวปูเตะ มันเหมือนกับว่าเข้าไม่อยากจะเห็นความรุนแรงทั้งสองฝ่ายไม่ได้หมายถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่อยากเห็นบรรยากาศของการที่เมือมันเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว โซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ ออกมาโจมตีฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ ผมว่าบรรยากาศแบบนี้คนเข้าไม่อยากเห็น เขาเบื่อบรรยากาศแบบนี้แล้วโครงสร้างบางอย่างมันก็มีปัญหา อย่างเช่นกลไกของกระบวนการยุติธรรม กลไกลของกฎหมายพิเศษเหล่านี้ก็ยังมีปัญหาอยู่ องค์กรที่ทำงานในภาคประชาชน ผมอยากจะเน้นในส่วนของการที่เข้าไปร่วมตรวจสอบมีบทบาทในเชิงของการตรวจสอบ เพราะว่าสิบปีที่ผ่านมาไม่รู้ว่าใครเป็นใครและบางครั้งต้องยอมรับว่าไม่ได้เกิดจากการกระทำของกลุ่มกระบวนการหรือปัญหาอย่างอื่นอย่างเช่นถ้ามันไม่สามารถที่จะแยกแยะออกมาได้ มันก็จะอยู่ในบรรยากาศของการหวาดกลัว อยากจะลดบรรยากาศของการหวาดกลัวลงมันต้องมีเป้าธนูที่เข้มแข็งในการทำงาน

คำถาม ในที่อยู่นอกพื้นที่ สามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง

รอมฎอน ปันจอร์  คิดว่าต้องทบทวนวิธีการมองปัญหาของชายแดนภาคใต้ใหม่ได้แล้วอันนี้ต้องใจเย็นๆนิดหนึ่ง เพราะว่าตอนนี้กรุณารับทราบด้วยว่าในคนในพื้นที่จำนวนหนึ่งในคนจำนวนมากเริ่มมีความคาดหวังว่ามันน่าจะมีวิธีการหาทางออกที่ลงตัวได้โดยที่ไม่ใช้กำลังอยู่ที่ว่าสังคมไทยจะยอมตระหนักหรือว่าจะยอมมองเห็นปัญหานี้ใหม่ว่ามันไม่ใช่ใช้กำลังอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหาแล้วเราต้องหาทางออก แล้วก็เรามีความท้าทายเยอะมากในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

อนุกูล อาแวปูเตะ ในเรื่องของความขัดแย้ง หนึ่ง ใจต้องบริสุทธิ์ก่อน พยายามลดความมีอคติในตัวเอาออกมาก่อนแล้วก็มองปัญหาอย่างจริงจัง หลายครั้งในภาคใต้ที่มันเกิดขึ้นนั้น คนข้างนอกเขาจะมองในเรื่องของความรุนแรงมองในเรื่องของการด่าการประณามต่างๆ เราต้องเข้าใจว่าในสิ่งเหล่านั้นมันไม่มีใครชอบอยู่แล้วถึงไม่ได้ประณามในการแสดงออก แต่ในใจเขาก็รับไม่ได้กับการกระทำที่ทำให้เกิดความสูญเสีย เราไม่อยากสร้างบรรยากาศที่มันมีอารมณ์ของความเกลียดชัง แล้วก็คนในพื้นที่เขาก็มีการทำกิจกรรมเยอะตอนนี้ แม้แต่ในเรื่องของกิจกรรมของชุมชน ของประวัติศาสตร์ในพื้นที่เริ่มมีการตื่นตัวออกมาคืออาจจะได้มิติใหม่ในการมองมันมีสีสันมีบรรยากาศหรือมองในแง่มุมอื่นเพื่อที่จะร้างความสบายใจกับความรุนแรงในสิบปีที่ผ่านมาอันนี้อยากจะขอจากคนนอกพื้นที่ครับ

ความหวังของทุกคนในตอนนี้คือคือโอกาสที่จะมีพื้นที่กลางในการให้ภาคประชาชนเข้ามามีพื้นที่ในการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อมุ่งสู่สันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้