Skip to main content

 

รายการโทรทัศน์ “สิทธิ...วิวาทะ”

หัวข้อ “ทวิภาษา : อัตลักษณ์ไทยเสียไปหรือไม่”

ออกอากาศในวันที่ 21 มกราคม 2553

(รายการสิทธิ..วิวาทะ เปลี่ยนเวลาออกอากาศ เป็น 11 โมงเช้า วันอังคาร ทางทีวีไทย)

สืบเนื่องมาจากการที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายให้โรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนใต้เน้นเรียนภาษามาลายูถิ่นจนถึงชั้นประถมปีที่สี่ และเพิ่มความเข้มเรียนภาษาไทยในชั้นประถมปีที่ห้าเป็นต้นไป เพื่อลดความขัดแย้งในพื้นที่ เนื่องจากความรับรู้ของคนในสังคมจำนวนหนึ่งมองว่าภาษาไทยคืออัตลักษณ์ไทยและที่ผ่านมาหลักสูตรการเรียนภาษาในโรงเรียนก็ไม่เคยอนุญาตให้สอนภาษาถิ่น การอนุญาตให้สอนภาษาถิ่นเป็นภาษาที่สองอาจมีข้อถกเถียงทางสังคมต่อไปว่าทำให้เสียอัตลักษณ์ไทย 

 

 

 

 

ประเด็นสนทนา

1. ปัญหาอุปสรรคของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาไทยไม่ได้หรือไม่ชัด มีอะไรบ้าง ตัวอย่างมีอะไรบ้าง

2. อัตลักษณ์ไทยคืออะไร การส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่นจะทำให้อัตลักษณ์ไทยเสียไปหรือไม่

3. ถ้าเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่สืบทอดภาษาถิ่นของตน จะเกิดผลกระทบอย่างไร

4. เห็นด้วยหรือไม่ ถ้าโรงเรียนทั่วประเทศ เปิดโอกาสให้สอนภาษาถิ่นในโรงเรียน ถ้าเห็นด้วยควรมีการจัดการอย่างไร (เช่น กรณีที่ถิ่นนั้นมีมากกว่าหนึ่งภาษาถิ่น)

5. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ เป็นไปได้หรือไม่ที่ในบางพื้นที่จะมีภาษาราชการที่สอง เช่น ภาษามาลายูถิ่นที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดนใต้

 

ผู้เข้าร่วมรายการ

1. คุณฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง   เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2. คุณมาลีรัตน์ แก้วก่า  อดีตสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร

3. ดร. ประเสริฐ ตระการศุภกร  มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. คุณตูแวดานียา ตูแวแมแง  ผู้อำนวยการ ศูนย์พิทักษ์วัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดชายแดนใต้

ผู้ดำเนินรายการ

คุณสุนี ไชยรส