อัศโตรา ชาบัต*
ชาวพุทธใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ทั้งหมดเป็นชาวไทยมาจากแผ่นดินสยาม สมัยสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี-รัฒนะโกสินทร์ แต่พวกเขาเป็นชาวพุทธในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตอนกลาง และตอนบน เชื่อสายชาวมลายูพุทธศรีวิชัยและชาวมลายูพุทธลังกาสุกะ
บางส่วนของชาวไทยพุทธภาคใต้ตอนล่าง ตอนกลาง และตอนบนนั้นเป็นเชื่อสายชาวอินเดีย ชาวทมิฬ ชาวมอญ ชาวขอม ชาวจีนและชาวอื่นๆ ที่เคยตั้งรกราก หรือปกครองแผ่นดินปลายด้ามขวานก่อนและหลังอาณาจักรศรีวิชัยและลังกาสุกะไปอีก
ทั้งชาวมลายูพุทธศรีวิชัย ชาวมลายูพุทธลังกาสุกะ ชาวอินเดีย ชายทมิฬ ชาวมอญ ชาวขอม ชาวจีนและชาวอื่นๆได้ถูกผสมกลมกลืนทางชาติพันธ์ ภาษา และวัฒนะธรรม หลอรวมกลายเป็นไทย จงไม่สามารถจะอ้างรากเดิมในอดีตได้ง่ายๆอีกแล้ว
ชาวมลายูพุทธศรีวิชัยและมลายูพุทธลังกาสุกะได้นับถือศาสนาพุทธมาใน 2 ช่วง.
1- ช่วง สมัยอาณาจักร์มลายูพูทธศรีวิชัยเคยมีอำนาจการปกครองคาบสมุทรมลายูประมาณมากว่า 700 ปี ตั้งแต่คริสต์ที่ 7 ไปจนถึงคริสต๋ศักราชที่ 14.
2- ช่วงอาณาจักรชาวมลายู่พุทธลังกาสุกะเคยที่มีอำนาจการปกครองคาบสมุทรมลายูนานมากกว่า 1300 ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 2 ไปจนถึงคริสต์ศักราชที่ 15
ก่อนหน้านั้นสมัยก่อนคริสต์กาลชาวมลายูชาวมลายูพุทธเหล่านั้นเคยนับถือศาสนาพรามห์มาก่อนในสมัยอาณาจักรทมิฬราชวงศ์โจฬะ (300 ปีก่อนคริสต๋กาลจนถึงปีคริสต์ศักราช 1279) ที่ปกครองตอนใต้ของอินเดีย แล้วแผ่อำนาจการปกครองมาถึงแถวเอเชียตะวันออกเฉียงรวมถึงคาบสมุทรมลายู
เพราะฉะนั้นที่เรียกชาวมลายูพุทธศรีวิชัย ชาวมลายูพุทธลังกาสุกะ ณ ที่นี่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นชาวมลายูพุทธร้อยเปอร์เช็น แต่รวมชาวมลายูที่เป็นพรามหณ์ด้วย เพราะในสังคมชาวมลายูพุทธอาณาจักรศรีวิช้ยและอาณาจักรลังกาสุกะนั้นมีพรามหณ์ผสมปนเปอยู่ ที่เรียกไปอย่างนั้นเพราะสมัยนั้นชาวมลายูพุทธเป็นคนส่วนใหญ่ แต่ชาวมลายูพรามหณ์เป็นคนส่วนน้อยของสังคม
นี่คือสรุปจากการอ่าน การศึกษาและการค้นคว้าข้อมูลประวัติศาสตร์ ศิลาจารึกและหลักฐานทางโบราณคดีที่ทำโดยนักวิชาการในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เราทราบว่าคนใต้ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างไปถึงภาคใต้ตอนกลางและภาคใต้ตอนบน ทั้ง14 จังหวัดส่วนใหญ่เป็นเชื่อสายและเลือดเนื้อเดียวกัน
ตามหามลายูที่เกาะปันหยี พังงา
ใครจะเรียกว่าไทย หรือมลายู หรือเรียกศรีวิชัย หรือลังกาสุกะ หรือเรียกอะไรก็ตาม แต่ในโลกความเป็นจริงแล้วคนใต้นั้นมีเลือดผสมตั้งแต่พันๆปีมาแล้ว เพราะสันนิษฐานว่าภาคใต้นั้นด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์มีชายทะเลทั้งสองฝากฝั่งทะเละ อันดามัน และทะเลจีนใต้ เป็นเรื่องธรรมดามี่จะต้องมีมนุษย์ไปมาหรือมาอยู่อาศัยเป็นพันๆปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้เรือในการเดินทางอย่างกว้างขวางในสมัยพันๆปี่มาแล้ว
มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้เรือเป็นครั้งแรกประมาณ 45,000 ปีมาแล้ว
อย่างไรก็ตามบทความนี้จะไม่พูดเกี่ยวมนุษย์ที่ไปมาหรือมาอยู่อาศัยสมัย 45,000 ปี หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด แต่จะโฟกัสและวิเคราห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นมาของชาวมลายูพุทธภาคใต้และความสัมพันธ์กับชาวมุสลิมโดยรวม
ด้วยเหตุผลชาวใต้เชื่อสายและเลือดเนื้อเดียวและเคยมีอดีตวัฒนธรมที่เหมือนกัน จึงอย่าได้แปลกใจเลยว่าทำไมชาวไทยพุทธทั่วภาคใต้เวลานี้มีความเหมือนหรือความคล้ายมากมายกับชาวมลายูมุสลิมในเรื่องประเพณีและคติชนเกี่ยวข้องกับความเชื่อต่างๆ
ความเหมือนหรือความคล้ายนี้จะแยกไม่ออกและไม่สามารถรู้เลยว่าอันไหนเป็นของมลายูมุสลิม และอันไหนเป็นของไทยพุทธ
การผสมผสานประเพณีของชาวไทยพุทธกับมลายูมุสลิมจะเห็นได้ในความเชื่อถือดังเดิมอย่างเช่นความเชื่อเกี่ยวกับเรืองภูตผีปีศาจ (hantu jembalang), วิญญาณบรรบุรุษ (roh datuk nenek), ขวัญ (semangat), เสือสมิง (tok hala), สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (keramat), เครื่องรางของขลัง (tangkal azimat), การรักษาด้วยการทรงเจ้าเข้าผี (berbagih) ฯลฯ
แต่เพราะการศึกษา ความเจริญ และการเรียนรู้ทางศาสนาอิสลามในรูปแบบปฏิรูปและฟื้นฟูทำให้ความเชื่อเหล่านี้จะจางไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับหายจากสังคมชาวมุสลิมไปหมดแต่อย่างใด เพราะในชนบท หรือในกลุ่มผู้คนที่มีการศึกษาน้อยนั้นประกฏการณ์ความเชื่อบรรพกาลนี้ยังมีให้เห็นอย่างหนาตาเลยที่เดียว
เอาเรื่องเล็กๆรอบตัวเราที่ง่ายในการทำความเข้าใจเป็นตัวอย่าง สักสองอย่าง คือเกี่ยวกับจิตนการรูปร่างภูตผีปีศาจ และการผูกด้ายที่หัวข้อมือ
ความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจนี้ถีงแม้ชาวมลายูมุสลิมยึดมั่นด้วยคำสอนของอัลกุรอาน ศาสดามุฮำหมัด และอุลามา (นักวิชาการศาสนา) แต่การจินตนาการเกี่ยวกับรูปร่างภูตผีปีศาจต่างกับชาวมุสลิมอาหรับในตะวันออกกล่างอย่างสิ้นเชิง หากแต่กลับมาเหมือนหรือคล้าวกับจินตนาการของชาวไทยพุทธ อย่างเช่นผีตายโหง ที่ชาวมลายูมุสลิมเรียกกว่า ฮันตูโอรังมาตีดีบูนุห์ (hantu orang mati dibunuh), ผีลูกกรอก ชาวมลายูมุสลิมเรียกว่า อานักกือรัก (anak kerak), ผีนางไม้ เรียกว่า ฮันตูปารี (hantu pari) ผีกระสือ เรียกว่า ฮันตู ปือนังกัลลัน (hantu penanggalan) ฯลฯ
สมัยเด็กๆ ผู้เขียนและเพื่อนๆก็มีการผูกด้ายสีเหลืองที่ข้อมือ บางครอบรัวใช้ด้ายสีดำหรือสีอื่นๆ ประเพณีนี้ปฏิบัติต่อเด็กๆเท่านั้น แต่สมัยนี้การผูกด้ายที่ข้อมือเด็กเกือบจะสาบสูญหายไปแล้วจากสังคมมลายูมุสลิม ถ้ามีคงคงที่ชนบทที่ห่างไกลจากเจริญ การผูกด้ายที่ข้อมมือถูกมองว่าขัดกับคำสอนของศาสนาอิสลามที่แท้จริง ในสังคมไทยพุทธนั้นยังนิยมผูกกันอยู่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
สันนิษฐานว่าคงมีน้อยมากชาวมลายูพุทธศรีวิชัยและลังกาสุกะในจังหวัดภาคใต้ตอนกลางและตอนบนที่ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม เพราะชาวมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ตอนกลางและตอนบนนั้นมาจากสังคมมุสลิมของเมืองที่เคยปกครองโดยเจ้าเมืองมุสลิม อย่างเช่นสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช และไชยา
ชาวมุสลิมสงขลา (ประมาณ 33.16 เปอร์เซ็น) มาจากสายเปอร์เชีย ชวาและมลายู ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครอง สุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์(คริสศักราช 1605–1680)แห่งสงขลา ท่านปกครองตั้งแต่ตอนล่างของนครศรีธรรมราชมาจดเขตปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน พัทลุง และสงขลา
ชาวมุสลิมพัทลุง (ประมาณ 12.00 เปอร์เซ็น) ก็มาจากสายตระกูลชาวมุสลิมที่อยู่ภายการปกครองเจ้าเมืองพัทลุง สุลต่าน ตวนกู ฮูเซ็น ( พระยาแก้วโกรพพิชัยภักดีบดินเดโชชัย), สุลต่าน ตวนกู ฟารีซี (ทวดโหม), พระยาพัทลุง(ขุน) และพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (หวัง). ทั้งหมดนี้สืบสายตระกูลมาจากสุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์ แห่งสงขลา
ชาวมุสลิมสุราษฎร์ธานี (ประมาณ 2.83 เปอร์เซ็น) มาจากสายตระกูลเจ้าเมืองไชยา ตวนกู มุซตาฟา (พระยาวิชิตภักดีศรีสงคราม บุตรสุลต่าน ตวนกู สุลัยมานชาห์ แห่งสงขลาเช่นกัน
ชาวมุสลิมนครศรีธรรมราช (ประมาณ 7.50 เปอร์เซ็น) มาจากสายตระกูล สมเด็จพระเพทราชา พระยารามเดโช(ชู)
ผู้เขียนได้มีอากาศไปบรรยายเชิงวิชาการที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่นครศรีธรรมราช 2 ครั้ง และรั้งล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้สัมผัสกับสังคมมุสลิมที่นั้น ได้ทราบว่ายังมีคนมุสลิมในบางหมู่บ้านแถวท่าศาลายังพูดภาษามลายูได้ ส่วนมากเป็นคนแก่และผู้สูงอายุ แต่เด็กๆและวัยรุ่นพูดภาษามลายูไม่ได้อีกแล้ว
ชาวบ้านที่ได้เจอมาส่วนมากจะพูดภาษามลายูสำเนียงเคดาห์ (รัฐมาเลเซียติดกับสงขลาและยะลา) พวกเขาเล่าว่าปู่ย่าตายายของพวกเขามาจากเคดาห์ บางคนบอกว่ามาจากกลันตัน และปัตตานี พวกเขาเป็นเฉลยศึกสงครามที่ถูกต้อนมาหลายร้อยปีมาแล้ว
มีผู้เฒ่าผู้แก่มุสลิมที่นครศรีธรรมราชพูดภาษามลายูที่คนมลายูสมัยนี้อาจจะฟังไม่เข้าใจด้วย เพราะเป็นภาษามลายูโบราณ ภาษามลายูโบราณนี้ยังมีใช้อยู่ในชนบทบางแห่งที่ภาคใต้
สุดท้ายผู้เขียนสันนิษฐานว่าชาวใต้นั้นเป็นมลายู เพราะการปกครอง ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ไม่ใช่เพราะชาติพันธ์ จึงได้กลายเป็นชาวมลายูมุสลิม และชาวมลายูพุทธที่คนทั่วไปไม่รู้จัก
ชาวมลายูพุทธที่คนทั่วไปไม่รู้จักนี้เป็นส่วนหนึ่งของชาวไทยพุทธภาคใต้ในขณะนี้ แต่พวกเขาอาจจะเป็นคนส่วนใหญ่ก็ได้ถ้าไม่นับคนไทยเชื้อสายจีน
เหลือแต่ชื่อเพี้ยน Kra Phunga จาก Kuala Punggah ชื่อเดิมพังงาในภาษามลายู
หมายเหตุ: *ผู้สื่อข่าวอาวุโส นักจัดรายการวิทยุ ที่ปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ ผู้สอนการเขียนข่าวภาษามลายู และ Peace advocate of King Prajadhipok"s Institute (สถาบันพระปกเกล้า)