หลังการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าตรวจสอบความผิดปกติในพื้นที่ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานีและเกิดเหตุปะทะทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยมีข้อเสนอถึงความชัดเจนของนโยบายไปละเมิดสิทธิของประชาชน
"เราอุตส่าห์สร้างคนดี แล้วคุณมาทำลาย เราเสียใจ" กลายเป็นข้อความภาพที่หลายคนในพื้นที่ชายแดนใต้ ใช้เป็นภาพโปรไฟล์ในเฟซบุ๊ก โดยทางมหาวิทยาลัยฟาฏอนีเป็นผู้เผยแพร่ข้อความภาพเป็นฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ในแนวทางสันติวิธีเพื่อแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์วิสามัญฆาตรกรรมที่ทุ่งยางแดงนักศึกษาพยายามจะแสดงออกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ไซยาฟ ราชเเดหวา นักศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฎอนี กล่าว่า เราอยากเห็นนโยบายที่ป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในอนาคตอีกต่อไป อยากให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายและอยากให้เป็นบทเรียน อีกทั้งอยากเห็นแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้อ่านคำแถลงการณ์ 5 ข้อเท็จจริงหลังการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าตรวจสอบความผิดปกติในพื้นที่ อ.ทุ่งยางแดง โดย 1 ในข้อเรียกร้องจากมหาวิทยาลัยคือให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตอบรับและแต่งตั้งให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยหรือผู้แทนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกลางเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี กล่าวว่า ผมมองว่าสันติวิธีเท่านั้นที่จะนำสันติสุขสู่พื้นที่แห่งนี้ได้ ตราบที่ทุกฝ่ายตระหนักใช้สันติวิธีบนพื้นฐานที่ยุติธรรม
ขณะเดียวกันหนึ่งในคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง มองว่า การหาทางออกร่วมกัน หลักสำคัญเปิดเผยความจริง และสร้างพื้นที่กลางร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกๆฝ่าย
ผศ. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าาว่า ประการแรกนโยบายต้องมีความชัดเจน ชัดเจนว่าจะไม่ปฎิบัติหรือใช้กฎหมายพิเศษหรือใช้กฎอัยการศึกที่ไปละเมิดสิทธิ ของประชาชนต้องยุติการใช้หรือหลีกเลี่ยงการใช้หรือการหามาตรการอย่างอื่นเข้ามารองรับว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ทำไปละเมิดสิทธิของประชาชน ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะแก้ไขปัญหาได้ อีกด้านหนึ่งคิดว่ากระบวนการมารองรับด้วยตั้งกรรมภาคประชาชนการก็เป็นอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเป็นแนวทางสันติภาพ
การสร้างความกระจ่างชัดและร่วมกันทุกภาคส่วน ให้เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เราจำเป็นต้องให้ความเป็นธรรมและสร้างความเข้าใจ