Skip to main content

วิพากษ์ภาพยนตร์โฆษณา  “ตลาด” และ “รถเมล์”
กับการลดความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทย
--------------------------------------------------------------------
ระวีวรรณ ชุมแสง
 
บทนำ
 
รอยฟกช้ำใบหน้าพาใจหาย               ทั่วร่างกายเขียวช้ำย้ำรอยหม่น
            หยาดน้ำใสไหลรินแก้มกมล                      นี่คือผลของความรักที่รับมา
                    ด้วยเป็นหญิงยอมทุกสิ่งบนทางรัก       พ่อแม่ทักตักเตือนเหมือนไร้ค่า
 เอาความรักเป็นใหญ่ไว้บูชา                      อนิจจา!ไร้เดียงสาน้ำตาริน
พิมญดา
หากมีใครได้ยินบทกลอนนี้ก็คงจะสามารถตีความได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงของสังคมไทยในปัจจุบัน    เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ นางวันดี จันตรี หนึ่งในสตรีผู้ถูกกระทำความรุนแรง เล่าว่า “เมื่อก่อนทำธุรกิจประตูอัลลอยด์ สามีดีมาก ให้เกียรติดูแลเรา แต่พักหลังทำตัวแปลกๆ แอบรับโทรศัพท์ ออกไปเจอลูกค้าก็ฉีดน้ำหอมฟุ้ง จนเราจับได้ว่าเขาแอบไปมีอะไรกับลูกค้า” วันดีเล่ามาถึงเหตุการณ์วันที่เธอทนไม่ไหว ใช้มีดเสียบล้อรถภรรยาน้อยที่มาจอดอยู่หน้าบ้านเธอ เพื่อติดรถสามีของเธอออกไปเที่ยวด้วยกัน เธอโดนสามีแจ้งความข้อหาทำลายทรัพย์สิน “ตัวเองติดคุก ภาพที่จำติดตาคือเรายืนเกาะหลังลูกกรงบนโรงพักมองสามีโอบไหล่ผู้หญิงคนนั้นเดินจากไป” หลังออกจากห้องขัง วันดีถูกสามีซึ่งรูปร่างใหญ่กว่าเธอสองเท่าจับเหวี่ยงไปชนกำแพงเพราะถามถึงภรรยาน้อย เขาใช้ไม้หน้าสามไล่ตีจนเธอต้องวิ่งหนีไปอยู่บ้านคนอื่น “ไม่มีใครยอมช่วย เขาว่าเรื่องของผัวเมียไม่อยากยุ่ง ดิฉันไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เรื่องราวของวันดีจบลงด้วยการหย่าร้าง “เราต่างใช้ความรุนแรงเข้าใส่กัน เขาทำร้ายเรา เราทุ่มแจกันใส่โต๊ะกระจกแตกเป็นเสี่ยงๆ วันดีพูดต่อว่า “คนเราเจ็บแล้วก็ต้องจำ เพื่อวันข้างหน้าเราจะได้ไม่เจ็บซ้ำ” (มูลนิธิเพื่อนหญิง.บันทึกจาก Group Support ของผู้หญิงที่โดนสามีทำร้าย : 2552)
จากเหตุการณ์ข้างต้นเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ผู้หญิงยังคงตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในสังคม และเกิดจากคนใกล้ชิด แฟน และสามีมากกว่าคนที่ไม่รู้จักกันหรือคนแปลกหน้า ได้
 
-------------------------------------------------
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
นักเขียนอิสระ
กระทำความรุนแรงทั้งทางกาย ทางเพศ และทางด้านจิตใจ และหลายกรณีของความรุนแรงต่อผู้หญิงมีปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการกระทำความรุนแรง เป็นผลมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และการพนัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้ผู้ชายมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายภรรยาซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
 
ความจริงที่ต้องยอมรับคือ ”สตรี” ยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของเด็กและสตรีโดนทารุณกรรม โดยการทุบตี ล่อลวงหรือล่วงละเมิด รวมไปถึงการปล่อยคลิปฉาว เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงทั้งทางกาย วาจา ใจ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วมักไม่ได้รับการช่วยเหลือ บุคคลที่พบเห็นเกิดความเพิกเฉยไม่ให้ความช่วยเหลือ โดยเกิดความคิดที่ว่าเป็นปัญหาครอบครัว ปัญหาของคนสองคน จึงไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เหยื่อที่ถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการเอาเรื่องกับผู้กระทำ เนื่องจากหวาดกลัวการถูกทำร้ายซ้ำ และเกรงสังคมจะตราหน้าให้อับอาย ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกกระทำ โดยการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวก็ตาม และยังมีหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Service Center) ซึ่งมักเป็นหน่วยงานแรกที่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงไปขอความช่วยเหลือ, มูลนิธิเพื่อนหญิง เป็นต้น ที่คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือสตรีที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง แต่ปัญหาเรื่องการกระทำความรุนแรงต่อสตรีก็ยังมีอยู่มากในสังคม
มีการศึกษาเรื่องการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นความหวังว่าจะสามารถนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหาได้ดีกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะมุ่งให้ความคุ้มครองบุคคลในครอบครัวทั้งหมด แต่ในข้อเท็จจริงความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นปัญหามากที่สุด ทั้งในแง่ของจำนวนกรณี และความยากลำบากในการแก้ไขก็คือปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว 
ผู้เขียนคิดว่าสาเหตุที่ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำก็ยังคงมีตัวเลขสูง เพราะการใช้กฎหมายแก้ไขปัญหานี้อยู่ที่ปลายเหตุ ซึ่งอาจจะช่วยในการลงโทษผู้ที่กระทำผิดมาลงโทษ เพื่อให้เห็นถึงผลของการกระทำความรุนแรงต่อสตรี แต่ด้านของสตรีที่ถูกทำร้ายนั้น ผู้เขียนคิดว่ากฎหมายยังไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะสตรีผู้เคราะห์ร้ายได้รับความปวดร้าวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูจิตใจ บางรายก็ต้องใช้ระยะเวลานานเพราะจิตใจบอบช้ำเป็นอย่างมาก หรือบางรายเหยื่อก็ถูกทำร้ายจนถึงกับชีวิต
-------------------------------------------------
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พ.ศ.2550
รายงานสถิติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว
ตั้งแต่ปี 2548 ถึง กุมภาพันธ์ 2551
 
 
ถูกทำร้ายร่างกาย
ถูกข่มขืน
ถูกอนาจาร
ถูกทอดทิ้ง /กักขัง /หน่วงเหนี่ยว
พรากผู้เยาว์
พยายามฆ่า
ฆาตกรรม
อื่นๆ
รวม
สามี
1,425
14
2
9
0
4
6
5
1,465
บิดา
43
54
15
5
1
0
1
7
126
บิดาเลี้ยง
19
96
46
0
0
1
2
3
167
มารดา
15
0
1
4
0
1
0
4
25
มารดาเลี้ยง
9
0
0
0
0
0
0
0
9
ญาติ
243
180
107
3
5
2
4
7
551
เพื่อน
1,355
2,947
1,309
77
528
13
14
150
6,393
คนแปลกหน้า
608
 
370
263
9
28
11
6
32
1,327
นายจ้าง
7
11
9
0
0
0
0
5
32
อื่นๆ
198
119
65
8
25
9
2
24
450
ไม่ระบุมา
125
69
38
3
9
2
2
23
271
รวม
10,816
                        
 ข้อมูลจาก สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
จากภาพรวมของรายงานสถิติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวตั้งแต่ปี 2548 ถึง กุมภาพันธ์ 2551 ตอกย้ำให้เห็นว่าปัญหาความรุนแรงต่อสตรีนั้นเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วน
ในขณะที่ประเทศไทยมีสตรีดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากเป็นอันดับ 3 ของโลกแต่อีกด้านหนึ่งตัวเลขสตรีไทยที่ถูกสามีทำร้ายก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน ไม่รวมสตรีอีกนับจำนวนไม่ถ้วนที่ไม่กล้าปริปากบอกใครแม้แต่เพื่อนสนิท ว่าเธอถูกคนที่รักทำร้ายจิตใจและร่างกาย จนแทบทนไม่ไหวแล้ว
 
 
 
 
 
 
-------------------------------------------------
ข้อมูลปีจาก Grant Thornton พ.ศ. 2552
 ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาล 253 แห่ง ทั่วประเทศในช่วงสองปีที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ขอความช่วยเหลือเพิ่มกว่า 19,000 ราย
ด้านการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่าสตรีร้อยละ 10-50 มีประสบการณ์ในช่วงชีวิตที่ถูกสามีหรือคู่รักของตนทำร้ายร่างกาย และสตรีประมาณร้อยละ 12-25 เคยถูกสามีหรือคู่รักพยายามขืนใจหรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย ที่สำคัญ คือ ความรุนแรงที่สตรีได้รับจากคู่หรือสามีหรือผู้ชายอื่น เป็นสาเหตุสำคัญ 1 ใน 10 ของสาเหตุการตายของสตรีอายุระหว่าง 15-44 ปี 
จากข้อมูลเบื้องต้น สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าความรุนแรงที่สตรีประสบจากคู่ของตนนั้นเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญและเป็นประเด็นที่แสดงถึงการที่สตรีถูกคุกคามและละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการที่จะมีชีวิตอย่างปลอดภัย
 
“ความรุนแรงที่กระทำต่อผู้หญิงไม่ว่ารูปแบบใด
มาจากทัศนคติและค่านิยมที่ผิดของผู้ชาย
ที่มองผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ ด้อยกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ภรรยาเป็นสมบัติของสามีจะทำอย่างไรก็ได้
จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
 
            ทัศนคติเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และจิตวิญญาณอันเป็นการลิดรอนสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้หญิง ตลอดจนส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม
ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันหน้าเข้าหากัน และร่วมกันต่อต้านการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดก็คือ ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อในทุกแขนง
จากงานวิจัยของนางวันดี ทองงอก ซึ่งศึกษาเรื่องผลกระทบของสื่อมวลชนที่มีต่อค่านิยมและพฤติกรรมของเยาวชนสตรีในเขตภาคเหนือตอนบน และศึกษาเรื่องผู้หญิงในภาพข่าวของหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ จากผลการศึกษาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อต่อสังคมวิเคราะห์ได้ว่า “สื่อ” เป็นตัวกลางที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยสังคมยอมรับในบทบาทของสื่อที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข่าวสาร ประสานสังคม และคอยระแวดระวังภัยให้กับคนในสังคม ขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงความสนุกสนาน เพราะฉะนั้นเมื่อสื่อมีความสำคัญต่อสังคม ด้วยการแสดงหน้าที่ที่เห็นบทบาทค่อนข้างชัดเจนในการโน้มน้าวใจประชาชน ในกระแสของการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยม สื่อมวลชนจึงมักแสดงบทบาทในการสนับสนุนธุรกิจ หรือหน่วยงาน องค์กรใดๆ ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงสุดแก่สื่อได้หรือพูดได้อีก
 
 
-------------------------------------------------
 ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปีพ.ศ.2551
อย่างว่าสื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือของทุนนิยมเสรี โดยเฉพาะการโฆษณา ด้วยเหตุนี้การบริโภคแบบไม่ลืมหูลืมตาจึงเป็นบทบาทหนึ่งที่สื่อกำลังถ่ายทอดไปยังสังคม สิ่งที่จะช่วยบรรเทาให้สื่อเป็นสื่อที่พึ่งของคนไทยจนๆได้ก็คือ คุณธรรม จริยธรรมที่ให้สาระแก่สังคมแบบมีสำนึกนั่นเอง
“สื่อ” สามารถสร้างผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบเกี่ยวกับการเสนอข่าวหรือนำเสนอรายการต่างๆ แม้แต่การโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสตรี แต่ในปัจจุบันเรามักจะเห็นผลกระทบทางด้านลบบ่อยๆคือ การที่สื่อต้องตกเป็นเหยื่อของค่านิยมที่บ่มเพาะความรุนแรง ส่งผลให้ผู้ได้รับความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ถูกข่มขืน หรือถูกทำร้ายจากคนรอบข้าง ตกเป็นเหยื่ออีกชั้นหนึ่งจากการเสนอข่าวของสื่อ อย่างไรก็ตามเมื่อสื่อมีอิทธิพลต่อสังคม และสังคมก็มีอิทธิพลต่อสื่อดังนี้แล้ว สื่อก็ควรลุกขึ้นสู้กับอิทธิพลหรือค่านิยมที่นำไปสู่ความรุนแรงในสังคม โดยการสอดแทรกแนวคิดสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคทางเพศ เพื่อป้องกันความรุนแรง หรือจัดทำรายการในเชิงสร้างสรรค์หรือช่วยเหลือสังคม โดยไม่ต้องพึ่งพาการใส่สีสันให้แก่ข่าวมากเกินไป หรือเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมเพื่อเรียกลูกค้าบางกลุ่ม
 
ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อลดการกระทำความรุนแรงต่อสตรี
            จากปัญหาการกระทำความรุนแรงต่อสตรีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาเป็นเวลานานและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน จึงได้มีหน่วยงานจากหลายภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญ และร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์และต่อต้านการกระทำความรุนแรงต่อสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งประชาชาติ (UNIFEM) เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือสตรี ในด้านความรุนแรงความเสมอภาคของสตรี จัดตั้งโดยสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ 1976 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นหน่วยงานระดมทุนที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการและงบประมาณ แก่โครงการที่ส่งเสริมการสร้างพลังแก่ผู้หญิง และความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยมุ่งที่ความก้าวหน้าในสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงเป็นหลัก ซึ่งโครงการที่ดำเนินการมีทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยปัจจุบันดำเนินการครอบคลุม 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และติมอร์ตะวันออก และอาจมีประเทศอื่นๆที่อยากจะเข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมกันยุติความรุนแรงต่อผู้สตรี ซึ่งในประเทศไทยก็มีหลายภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการ เช่น
ยูนิเฟม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม มูลเพื่อนหญิง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง 
 
-------------------------------------------------
ข้อมูลจากการวิเคราะห์งานวิจัยของนางวันดี ทองงอก ปี 2538 เรื่องผลกระทบของสื่อมวลชนที่มีผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมของเยาวชนสตรีในเขตภาคเหนือตอนบนและการศึกษาเรื่องผู้หญิงในภาพข่าวของหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ โครงการจัดตั้งคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และจะถือเอาวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสากลเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เป็นเดือนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์คือ ป้องกัน ด้วยการแก้ไขทัศนคติ และอคติทางสังคม อันเป็นบ่อเกิดของความต้องการผู้หญิงที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ และบ่อเกิดของความรุนแรงต่อสตรี (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ : 2551)
โครงการหนึ่งของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จัดทำขึ้นโดยใช้สื่อเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงได้นำเสนอ โฆษณารณรงค์ “หนึ่งเสียงหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง” โดยได้ออกภาพยนตร์โฆษณาชุด “ตลาด” และ “รถเมล์”และได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะ ทูตสันถวไมตรีของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ร่วมเชิญชวน ไม่เพิกเฉย ต่อความรุนแรงกับผู้หญิง
โฆษณาชิ้นนี้นับว่าโดดเด่นในหลายแง่มุม นับตั้งแต่วิธีการนำเสนอไอเดีย ซึ่งนับว่าเป็นพระกรุณาธิคุณที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงมีส่วนร่วมตั้งแต่การหาวิธีเล่าเรื่อง และการเลือกเนื้อเรื่องของความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เหมาะสม โดยท้ายที่สุดมาลงตัวที่การนำเสนอ 2 สถานการณ์ที่ทุกคนสามารถพบเจอความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย โดย โฆษณาชุด “ตลาด” นั้น เป็นสถานการณ์ที่นำเสนอรูปแบบของความรุนแรงในครอบครัวผ่านตัวละครระหว่างสามีภรรยาที่ทะเลาะและมีปากเสียงกัน ซึ่งเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงจุดหนึ่ง โฆษณาจะสร้างทางเลือกออกมาเป็น 2 ทางเลือก นั่นคือ ถ้าคุณพบเจอความรุนแรงต่อผู้หญิง คุณเลือกที่จะ “อยู่เฉยๆ”หรือ “เข้าไปช่วย” ซึ่งก็จะมีโฆษณาอีก 2 ชุด ที่นำเสนอว่าถ้าคุณเลือกที่จะ “อยู่เฉยๆ” ผู้หญิงคนนั้นก็จะพบจุดจบที่โดนสามีทำร้ายร่างกาย ซึ่งอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้  และในขณะเดียวกันหากคุณเลือกที่จะ “เข้าไปช่วย” ผู้หญิงคนนั้นก็อาจจะไม่ถูกทำร้ายทางด้านร่างกาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ทำให้หนึ่งชีวิตรอดพ้นจากภัยคุกคามทางด้านร่างกาย
สำหรับ “รถเมล์” อีกหนึ่งชุดโฆษณาที่เรียกได้ว่ากระตุกต่อมความเพิกเฉยได้ไม่แพ้โฆษณาชุด “ตลาด” นับได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่นำเสนอถึงการถูกคุมคามทางเพศ อันรวมไปถึงการลวนลามต่างๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบความรุนแรงต่อผู้หญิง โฆษณานำเสนอเรื่องราวของนักศึกษาหญิงที่ถูกชายฉกรรจ์ 3 คนลวนลามทั้งทางคำพูดและการกระทำบนรถเมล์ โดยนำเสนอ 2 ทางเลือก นั่นคือ การนิ่งเฉย หรือการเข้าไปช่วยเมื่อพบเจอเหตุการณ์ ซึ่งถ้าทุกคนบนรถเมล์เลือกที่ เข้าไปช่วย ผู้หญิงคนหนึ่งก็จะรอดพ้นต่อการถูกคุกคาม แต่หากทุกคนเลือกที่จะเพิกเฉย ผู้หญิงอาจพบจุดจบนั่นคืออาจถูกข่มขืนหรือทำร้ายร่างกาย วิธีการนำเสนอนั้นเป็นการใช้ การถ่ายแบบเสมือนจริง ทำให้ผู้ชมรู้สึกราวกับว่าเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และทำให้ผู้ชมคิดต่อว่าถ้าหาก ตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่พบเจอกับความรุนแรงต่อผู้หญิง แล้วจะเลือกที่จะทำอย่างไร
 
ท้ายสุด โฆษณาปิดท้ายด้วยการกล่าวเชิญชวน รณรงค์ “หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง” โดย พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และภาพสัญลักษณ์ นกหวีดไขว้โดยนกหวีดด้านซ้ายสีชมพูซ้อนทับกับนกหวีดสีเหลืองส้มทางด้านขวา ซึ่ง”สีชมพู” แทน ความเป็นผู้หญิง “สีเหลืองส้ม” แทน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรงต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ โดยส่วนที่ซ้อนทับกันอยู่เสมือนการคล้องสายใย ร่วมสานต่อจากหนึ่งเสียงเป็นอีกหลายๆเสียง รวมพลังเป็นหนึ่งเสียงเพื่อผสานหัวใจแสดงความรัก และไม่เพิกเฉยเมื่อพบความรุนแรงต่อผู้หญิง และเมื่อนกหวีดสองตัวมาซ้อนทับกันและเกิดเป็นสีใหม่คือ “สีแดง” แสดงให้เห็นถึงพลังความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นับว่าเป็นครั้งแรกในการทรงมีบทบาทในภาพยนตร์โฆษณาของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และเป็นปรากฏการณ์ที่เราทุกคนต้องไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรงอีกต่อไป
 
อ่านแนวคิดของผู้ผลิต “ภาพยนตร์โฆษณา” ผ่านมุมมองของผู้เขียน
          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน ประสานความร่วมมือเพื่อให้คนไทยริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการสร้างเสริมสุขภาพโดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทางปฏิบัติการใหม่ๆที่เป็นความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง และดำเนินงานตามแผนหลักจำนวน 13 แผน เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัดที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่า(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ : 2552)
 
 
 
 
-------------------------------------------------
แผนหลักจำนวน 13 แผนของ  สสส. มีดังนี้
            แผน 1 ควบคุมการบริโภคยาสูบ                                      แผน 7 สุขภาวะ เด็ก เยาวชน และครอบครัว
            แผน 2 ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์                                แผน 8 สร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร
            แผน 3 สนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติภัย แผน 9 ส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
            แผน 4 ควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ                              แผน 10 สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม
            แผน 5 แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ                        แผน 11 สนับสนุนโครงการทั่วไปและนวัตกรรม
            แผน 6 สุขภาวะชุมชน                                                    แผน 12 สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพระบบบริการสุขภาพ
            แผน 13 พัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาพยนตร์โฆษณาชุด “ตลาด” และ “รถเมล์” ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานตามแผนของ สสส. ส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสื่อมวลชน ให้เกิดความร่วมมือในการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ ตระหนักถึงโทษภัยของการบริโภคสุรา หรือยาสูบ อันจะนำไปสู่สิ่งเสพติดชนิดอื่น และอาจก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคมได้ โดยเฉพาะภัยร้ายที่เกิดกับผู้หญิงซึ่งมักจะถูกคนใกล้ตัวทำร้ายเพราะพิษภัยของสิ่งมอมเมาเหล่านี้
จากเนื้อหาและวิธีการนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชิ้นนี้ เมื่อมองจากหลักการนำเอาทฤษฎีจิตวิเคราะห์มาใช้ในการอธิบายเรื่องสื่อมวลชน จากข้อค้นพบของ Freud ที่กล่าวว่าเพศและความก้าวร้าวเป็นส่วนสำคัญแห่งสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์  และตามแนวคิดของนักคิดกลุ่ม Catharsis Theory โดย Feshbach & Singer (1971) กล่าวว่า การดูโทรทัศน์เป็นช่องทางหนึ่งในการระบายสัญชาตญาณทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศหรือความก้าวร้าวที่นับว่าถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่อันตรายต่อสังคม ที่เรียกว่า Subsitution / Compensation เนื้อหาที่รุนแรงในโทรทัศน์ จะช่วยลดโอกาสที่คนจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในชีวิตจริง ทั้งนี้เพราะสัญชาตญาณได้รับการระบายออกไปแล้ว ดังนั้นการที่ผู้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้มุ่งสร้างสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง โดยใช้ความรุนแรงเป็นสื่อที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ทรมานที่ผู้หญิงได้รับจากการกระทำที่ขาดสติขาดการยั้งคิด หรือคิดว่าผู้หญิงเป็นที่ระบายอารมณ์ เพื่อให้ความรุนแรงนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการระบายความรู้สึกก้าวร้าวนั้นออกไปและหลังจากที่ได้ชมภาพยนตร์โฆษณาแล้ว ผู้ชมจะได้ตระหนักรู้สำนึกว่าเนื้อหาความรุนแรงที่เราได้พบเห็นในโทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่โหดร้าย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจถูกระบายโดยการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาหรือสนองอารมณ์ของผู้ที่มีกำลังเหนือกว่า ผู้หญิงต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและอาจจะลุกลามไปถึงคนอื่นๆในสังคม เราในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดความรุนแรง หรือ ลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้น้อยลงที่สุด
            การใช้คำพูดเชิญชวนหลังจากจบภาพยนตร์โฆษณา แสดงให้เห็นว่าเป็นการเน้นย้ำเพื่อโน้มน้าวใจให้ทุกคนเกิดความสำนึกร่วมกันในการต่อต้านการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง        
            โทนสีที่ใช้ในภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ เลือกใช้โทนสีที่ทำให้ผู้ที่ได้ชมเกิดความรู้สึก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกร่วมว่าหากตนเองพบเห็นในสถานการณ์ดังกล่าว ตนเองจะทำอย่างไร ? ซึ่งเชื่อว่ามีหลายคนที่จะไม่ยอมเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคงคิดหาวิธีการในการหยุดความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้น
--------------------------------------------------------
Sigmund Freud นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual
Catharsis Theory กลุ่มนักคิดที่มีความเห็นว่า เมื่อคนเรามีความคับข้องใจเกิดขึ้นอันเป็นช่องทางนำไปสู่ความก้าวร้าว สังคมก็จำเป็นต้องหาทางระบายให้และสื่อมวลชนก็เป็นหนึ่งในช่องทางดังกล่าว
                กลยุทธ์สำคัญของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ คือการได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เข้าร่วมในการจัดทำและทรงเป็นพรีเซนต์เตอร์ในการเชิญชวนให้หยุดการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งถือโอกาสดีของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เนื่องจากพระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสังคม และโดยเฉพาะการช่วยเหลือสตรีที่ถูกทำร้ายเป็นสาธารณกุศลผ่าน มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย สนับสนุนให้ผู้ทุกข์ยากน้อยกว่าช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากมากกว่า ผู้ที่แข็งแรงช่วยผู้อ่อนแอ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านกฎหมาย ซึ่งทรงมีความเชี่ยวชาญ ยังทรงเป็นนักศึกษากฎหมาย จึงได้ทรงก่อตั้งโครงการกำลังใจ ในพระดำริ โดยได้เสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยความสนพระทัยในสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง โครงการนี้ได้ขยายความช่วยเหลือไปยัง “เด็ก” ที่ติดท้องแม่ก่อนเข้าจำคุก รวมทั้ง “ผู้ต้องขังหญิงสูงอายุ” อีกด้วยและเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง ได้กระจายไปทั่วโลก ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอและยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำต่อสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ภายใต้ชื่อ “Enhancing Life for Female Inmates: ELFI”   โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง จะเห็นได้ว่าพระกรณียกิจของพระองค์ ทรงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กและสตรี ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานชาติ จึงเป็นจุดแข็งของ สสส. ที่จะทำให้ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่รับชมได้ เพราะในฐานะผู้หญิงคนหนึ่งพระองค์ก็ไม่เคยเพิกเฉยต่อการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงในสังคมด้วยพระกรณียกิจมากมายที่เกี่ยวข้องกับสตรี เพราะฉะนั้นทุกคนก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดความรุนแรงได้ สร้างให้คนในสังคมรู้จักช่วยเหลือกันซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
            ผู้เขียนคิดว่าภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จึงน่าจะเป็นการออกมาช่วยเหลือสังคมได้อีกทางหนึ่ง คงมิได้หวังผลทางธุรกิจเหมือนกับโฆษณาทั่วไปที่มีกลวิธีแปลกใหม่เชิงสร้างสรรค์สังคมหรือห่วงใยสังคม ปรากฏอยู่ในรายการโทรทัศน์ และสื่อต่างๆ แต่แท้จริงนั้นแฝงด้วยเป้าหมายทางธุรกิจทั้งสิ้น
 
ชมภาพยนตร์โฆษณาแล้วหันกลับมามองความคิดเห็นของคนในสังคม
            จากความคาดหวังของหลายๆฝ่าย เช่น ผู้จัดทำ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และบุคคลในสังคม ว่าภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จะสามารถช่วยเหลือสังคมได้ โดยการสร้างจิตสำนึกในการหยุดการเพิกเฉยเมื่อเห็นการกระทำความรุนแรงและรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี
จากข้อมูลการสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มต่างๆ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเพศชายและเพศหญิงที่ชมภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาหนุ่ม ท่านหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหน่วยงานที่มีลูกน้องส่วนมากเป็นผู้หญิง มีความคิดเห็นต่อภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ว่า เป็นตัวแบบการรณรงค์ที่ดี และสามารถช่วยเหลือสังคมหรือผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อได้ เพราะเมื่อมีภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ขึ้น อาจช่วยเปลี่ยนความคิดของคนในสังคม ให้มองว่าการทำร้ายผู้หญิงแม้บางครั้งจะเป็นเรื่องในครอบครัว ผู้ที่พบเห็นก็ไม่ควรนิ่งเฉย และการออกมาเผยแพร่ภาพความรุนแรงเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนมากให้ความสำคัญ เป็นเรื่องของส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และในอีกแง่มุมหนึ่ง เมื่อเกิดการโฆษณาในลักษณะนี้มากขึ้นทำให้ผู้ชายมองว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ควรจะปกป้อง ช่วยเหลือ  และให้คุณค่ามากกว่าที่เป็นอยู่  หลายภาคส่วนแม้กระทั่งสถาบันชั้นสูงของสังคม ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เราในฐานะที่เป็นคนหนึ่งในสังคม และเป็นเพศที่ได้ชื่อว่ากระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงมากที่สุดด้วย จึงควรเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง และเป็นปากเสียงในการช่วยรณรงค์เพื่อผู้หญิงทุกคนด้วย (ผู้บริหารสถานศึกษา : สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553)
ในทัศนะของกลุ่มพนักงานหญิงในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่าภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ช่วยปลุกเร้าความสนใจ หรือปลุกจิตสำนึกในการช่วยกันต่อต้านการกระทำความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทยได้ประมาณ 20% เพราะความเป็นจริงในสังคมไทยเมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องทะเลาะกันของสามีภรรยาก็มักจะไม่มีใครอยากเข้าไปยุ่ง ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเห็นแก่ตัวอยู่แล้ว และต้องเอาตัวรอดก่อนเสมอ การปลุกจิตสำนึกในเรื่องนี้คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะปลูกฝังความรู้สึกรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมสังคมได้ และไม่ว่าจะมีการรณรงค์กันเพียงใด หรือใช้บุคคลสำคัญท่านใดมาโน้มน้าวใจก็ตาม อาจจะมีส่วนทำให้ผู้รับชมเกิดความรู้สึกร่วมในขณะชมภาพยนตร์โฆษณาเท่านั้น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง คงไม่มีใครกล้าที่จะเข้าไปช่วยเหมือนเดิม แต่หากจะให้มีโฆษณาที่สามารถโน้มน้าวความสนใจได้มากกว่านี้ ต้องสามารถชี้ให้เห็นโทษของการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยอาจจะนำเอามาตรการทางกฎหมายมาเป็นสื่อในการโฆษณาร่วมกับการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีเพื่อจะได้เป็นการแก้ปัญหาทั้งต้นเหตุและปลายเหตุอย่างครบถ้วน (กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน : สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 )
กรณีศึกษาสุดท้ายจากการสัมภาษณ์ สาวประเภทสองซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง มีทัศนะคติต่อภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ว่าเป็นสื่อที่ดี และควรได้รับการสนับสนุน ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ช่วยทำให้การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงลดลงอย่างรวดเร็วมาก แต่ก็จัดได้ว่าเป็นสื่อที่หวังดีต่อสังคม ไม่ใช่เป็นการมุ่งหวังเพียงใช้โฆษณาเพื่อหวังผลกำไรทางการค้า เป็นการกระตุ้นคนไทยให้มีความกล้าที่จะช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้าย (นักเรียนโรงเรียนมัธยม : สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553)
จะเห็นได้ว่าจากความคิดเห็นของคนโดยทั่วไปที่ได้ชมภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ เมื่อเรามองในแง่ทัศนคติที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิงจาก การสัมภาษณ์พบว่าเพศชายจะมีทัศนคติในแง่บวกมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่เพศที่สามมีทัศนะคติในระดับปานกลางคือไม่ดีมากแต่ก็ไม่ได้เลวร้าย แต่มองในแง่ที่ดีมากกว่า ในความคิดของผู้เขียนการที่ผู้หญิงมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีกับภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ อาจจะเป็นเพราะผู้หญิงเป็นเพศที่กูกกระทำ และคิดว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนั้นมีแต่ความเห็นแก่ตัว และเป็นเรื่องยากที่จะสร้างการมีจิตสาธารณให้กับคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นชุมชนเมืองด้วยแล้ว ยิ่งจะเป็นเรื่องยากเพราะชุมชนเมืองมีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างทำมาหากิน ไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กัน บางคนอยู่บ้านใกล้กันยังไม่รู้จักกันเลย และจะให้เข้าไปช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายในขณะที่ผู้ร้ายอาจจะมีอาวุธอยู่ในมือนั้นคงเป็นเรื่องยากเต็มที แต่อาจจะหาน้ำใจที่แท้จริงได้บ้างจากสังคมชนบทที่ยังมีไอของความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเป็นญาติพี่น้องหรือคนบ้านใกล้เรือนเคียงที่ยังมีการพึ่งพาอาศัยกัน แต่ก็ค่อนข้างจะหาได้ยาก เพราะในปัจจุบันสังคมชนบทก็กำลังกลายเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อการทำมาหากินเช่นกัน เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง
และยังมีอีกแง่มุมหนึ่งจากการสัมภาษณ์ซึ่งได้รวบรวมความคิดเห็นของทั้งสองเพศรวมกัน มองว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตำรวจที่ควรจะจัดการ คนทั่วไปไม่ควรเข้าไปยุ่ง เพราะจะถูกกล่าวหาว่ายุ่งกับเรื่องของชาวบ้าน แต่ผู้เขียนคิดว่าหากรอให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ ผู้หญิงเคราะห์ร้ายที่ต้องตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์รายนั้น อาจจะถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตไปแล้วก็เป็นได้
 
สะท้อนเรื่องราวผ่านสื่อ ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี สู่ความปลอดภัยของสตรีทุกคน
จากบทความนี้ ผู้เขียนคิดว่าทุกวันนี้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมของเรานั้นยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไปแต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหานี้จะไม่มีทางยุติหรือไม่มีทางแก้ไขในฐานะพ่อแม่ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เล็กๆในสังคมที่เราเรียกว่า “ครอบครัว”สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สังคมเราน่าอยู่และปลอดภัยขึ้นได้โดยเริ่มจากตัวพ่อแม่เองที่จะไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน รวมถึงการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หล่อหลอมลูกให้รักในความสงบและเคารพในสิทธิของผู้อื่นเริ่มจากหนึ่งครอบครัว เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เชื่อได้ว่าสักวันหนึ่งสังคมไทยของเราต้องกลับมาสดใสน่าอยู่อีกครั้งอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม นอกจากครอบครัวแล้ว พลังของสื่อก็มีความสำคัญในการเผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อผู้หญิงและเด็กโดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว เป็นสิ่งที่สังคมได้รับข้อมูลข่าวสารแล้วก็ล้วนแต่จะมีความหดหู่การทำร้ายร่างกายกัน ไม่ว่าจะเป็นสามีมีต่อภรรยา ภรรยามีต่อสามี พ่อแม่ที่มีต่อลูก หรือลูกที่เป็นฝ่ายทำร้ายพ่อแม่รวมถึงเรื่องสลดใจในกรณีการข่มขืนที่เกิดจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวไม่ละเว้นแม้กระทั่งจากผู้ที่เป็นพ่อ เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่น่ารับรู้เพราะมีแต่จะสร้างความสลดใจแต่นี่คือความจริงที่ไม่ควรปฏิเสธแต่จะหาวิธีการอย่างไร ความรุนแรงจึงจะลดน้อยลง ทำอย่างไรถึงจะสร้างความรักความสามัคคี ความเอื้ออาทรอย่างที่ควรจะเป็นในครอบครัว
หาก “สื่อ” เห็นความสำคัญของเรื่องนี้และช่วยเป็นกระบอกเสียงสำคัญ ด้วยการเสนอข่าวโดยไหวรู้ต่อความขัดแย้ง วิเคราะห์ข่าว พยายามเสนอหนทางในการแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับการเสนอข่าว จัดทำสื่อที่สร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งผู้จัดทำสื่อต้องทำการศึกษาสิ่งที่จะทำโดยละเอียดสอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม พร้อมกับคิดหาวิธีการปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้เห็นความสำคัญของ “สตรี” ซึ่งเป็นเพศที่ให้กำเนิดเรามา และมีบุญคุณอย่างท่วมท้นสำหรับมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ และเราจะปล่อยให้เขาถูกทำร้ายทั้งที่เรามีโอกาสช่วย แต่กลับนิ่งเฉยทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ได้อย่างไร ถ้าเป็นเช่นนั้น “ท่านสมควรจะเกิดมาเป็นมนุษย์หรือไม่ลองคิดดู”
 
“จากภาพยนตร์โฆษณา + กับความเป็นจริงในสังคมไทย สุดท้าย แล้วคุณคิดว่า
“คนไทย” จะเลือกคำตอบไหน …. ”
 
ท้ายสุดผู้เขียนขอฝากบทกลอนสั้นๆ ไว้เป็นแง่คิด “หยุดเสียทีความรุนแรงที่ก่อเกิด สัตว์ประเสริฐคือคนกันถ้วนทั่ว เมื่อมีรักอย่าทำรักจนน่ากลัว สร้างครอบครัวด้วยเข้าใจ..ในรักเอย”
 
 
 
-------------------------------------------------------------------------------------------
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บรรณานุกรม
 
“ภาพยนตร์โฆษณา “ตลาด” และ “รถเมล์””2551. (ออนไลน์).เข้าถึงเมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2553.
““ความรุนแรงในครอบครัว” ภัยร้ายใกล้ตัวหญิง”2552. (ออนไลน์).เข้าถึงเมื่อ : 10 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.thaihealth.or.th/node/13226
“หนึ่งเสียง หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง”2552. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2553
“คุณพร้อมที่จะเป็นหนึ่งเสียง เพื่อหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิงหรือยัง”2551. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.thaihealth.or.th/node/6710
“การศึกษาเรื่องแนวทางการส่งเสริมการคุ้มครองสตรีในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550”2550. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2553
“ทำไมความรุนแรงต่อผู้หญิงยังมีอยู่ในสังคมโลก”2551. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.thaihealth.or.th/node/6590
“เครือข่ายเชิงความคิดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม”2552. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.whaf.or.th/content/25
วันดี ทองงอก. “สื่อมวลชนกับสตรีภาคเหนือ : 2 งานวิจัย – มุมมองที่แตกต่าง” วารสาร
มนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 10(2)
: กรกฎาคม – ธันวาคม 2545.
 
“รู้จัก สสส.”2552. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know
ดร.กาญจนา แก้วเทพ. 2547.สื่อสารมวลชน การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค.กรุงเทพฯ :Higher Press
“Please Don’t Beat Me, Darling บันทึกจาก Group Support ของผู้หญิงที่โดนสามีทำร้าย”2552. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ : 15 กุมภาพันธ์ 2553
            จาก http://www.friendsofwomen.or.th/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว