Skip to main content

มากกว่าธูป…..?

                ตามกระแสนิยมของการใช้ชีวิตตามความต้องการแบบไม่สิ้นสุด นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการบริโภค อุปโภคล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาทั้งสิ้น แต่สิ่งที่มนุษย์น้อยคนจะคำนึงถึงคือ สิ่งที่ได้มาด้วยความสะดวกสบายนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนต่อชีวิต อาทิเช่น การบริโภคอาหารขยะ การบริโภคน้ำอัดลม หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตที่มีสารเคมีเข้าข้องเกี่ยวตลอด การพบเจอแต่สารเคมีในแต่ละวันทำให้ไม่น้อยคน ลุกขึ้นผลิตนวัตกรรมทั้งอุปโภค บริโภคที่ผลิตจากสมุนไพร หรือสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการรักสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังบรรเทาความทุกข์ทรมานจากสารเคมีที่เข้าไปสะสมในร่างกาย เช่นเดียวกันกับ หมู่บ้านห้วยลึก ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

                บ้านห้วยลึก ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประสบปัญหาเกี่ยวกับ ไข้เลือดออกอย่างไม่สิ้นสุด ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน มีทั้ง เด็ก และผู้ใหญ่ โดยสถิติจากข้อมูลที่                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2555 ทั้งหมด 5 คน ,ปี 2556 มีทั้งหมด 2 คน และปี 2557 มีทั้งหมด 1 คนจากจำนวนประชากร 807 คน                                                           โครงการ หมู่บ้านปลอดลูกน้ำ ปราบยุงร้าย เป็นโครงการที่เคลื่อนไหวกิจกรรมในชุมชนโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวบ้านในชุมชนร่วมมือกับ นักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน(นสส) ซึ่งกิจกรรมจะมีภาพเป็นสองมิติ คือ ภาพที่มีการทำกิจกรรมเพื่อการยับยั้งในที่นี้หมายถึง กิจกรรมที่สร้างองค์ความรู้และกิจกรรมที่สามารถทำให้ชาวบ้านรู้วิธีการจัดการกับครัวเรือนของตนเองไม่ให้เกิดลูกน้ำยุงลาย นับเป็นกิจกรรมที่ปูพื้นฐานด้านข้อมูลกับชาวบ้าน อีกทั้งการได้มารวมตัวกันทำกิจกรรมภายใต้โครงการใหญ่สามารถทำให้ชาวบ้านที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมได้เข้ามามีส่วนร่วม เพราะกิจกรรมที่เกิดจากชาวบ้านและนสส.นับว่าไม่ใช่กิจกรรมที่การแบ่งเส้น แบ่งพวกแต่อย่างใด

ภาคการยับยั้ง

                ธูปสมุนไพรไล่ยุง เป็นวัตกรรมหนึ่งของกลุ่มผู้สูงอายุทำธูปสมุนไพร โดยกลุ่มผู้สูงอายุทำธูปได้เกิดหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบรมแก้ปัญหาไข้เลือดออก ซึ่งการประชุมผ่านการคิด วิเคราะห์ ของชาวบ้านที่เสนอต้องการให้มีการป้องกันต้องมีนวัตกรรมในการป้องกันยุงได้ แต่เสียงสะท้อนในวงสนทนาได้เอ่ยว่า "หากมีการผลิตนวัตกรรมมันเป็นเพียงแค่การป้องกัน ไม่สามารถแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุได้"เมื่อสิ้นสุดการเสนอวงสนทนายิ่งทำให้ภายในวงเริ่มการพูดคุยด้วยการแลกเปลี่ยนตั้งแต่การโหวตการดำเนินกิจกรรมและปรับเปลี่ยนจากการวางกิจกรรมของ บัณฑิตอาสา เริ่มตั้งแต่ กิจกรรม อบรม ป้องกัน ควบคุมยุง เป็นกิจกรรมแรกที่มีการดำเนินในชุมชนด้วยวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบถึงวิธีการป้องกันและควบคุมยุง ให้ถูกวิธี เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงข้อมูลชุดนี้แล้วก็ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่องเพราะหากจะตีเหล็กต้องตีตอนร้อน ณ ตอนนี้ชาวบ้านหลายคนที่สนใจจึงต้องเพิ่มความสัมพันธ์ให้แน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่อไปหลังจากนั้นเป็นกิจกรรมวางกฎเกณฑ์เพื่อให้ใช้กฎเกณฑ์ที่ชาวบ้านนำเสนอในวันจัดกิจกรรม การวางกฎเกณฑ์ ซึ่งกฎเกณฑ์ที่ได้จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ซึ่งการแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนทำให้เกิดความสนุกสนาน เพราะการที่ชาวบ้านได้กล้าแสดงออกความคิดนั้น เป็นผลจากการตกผลึกของชาวบ้านที่จะนำเสนอกับวงประชุมได้

                กฎเกณฑ์นั้นเมื่อมีการโหวตในวงพูดคุยจึงนำมาซึ่งการนำไปใช้ในกิจกรรม ตรวจบ้าน ปลอดลูกน้ำ ปราบยุงร้ายแต่ก่อนที่จะมีการลงตรวจ ก็จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว แต่อาจจะต้องใช้เครื่องมือที่สามารถสร้างความฮือฮาและเป็นแรงกระตุ้นให้กับชาวบ้าน จึงนำมาซึ่งกิจกรรม รณรงค์ ป้องกัน ควบคุมยุง ซึ่งกิจกรรมนี้สามารถรวมคนเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน ทุกกลุ่ม ทุกหน่วยงานในชุมชน และกิจกรรมนี้ได้เดินขบวนตั้งแต่ปากชุมชน ยันปิดปากชุมชน ซึ่งระหว่างการเดินนั้นได้มีการบรรเลงความครื้นเครงจาก กลุ่มกลองยาวในชุมชนที่มีการตีกลองเพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนที่อยู่ในบ้านและคนระหว่างทางได้หยุดเพื่อเต้นรำวงและทราบข่าวคราวที่จะมีเกิดในชุมชน อีกทั้งระหว่างการเดินนั่น พี่ๆอสม.ในชุมชนได้มีการติดป้ายกฎเกณฑ์ตามบ้านเพื่อเป็นด่านแรกในการดำเนินกิจกรรมต่อไปในชุมชน กิจกรรมนี้นับเป็นกิจกรรมเปิดตัวของโครงการที่สามารถใช้เครื่องของการรวบตัวของชาวบ้านในการเป็นกระบอกเสียงด้วยกันเอง ซึ่งการเคลื่อนไหวของการเดินรณรงค์นี้ได้เกิดการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีพาหะเป็นยุงซึ่งยุงก็เกิดจากลูกน้ำชุดความรู้นี้ผ่านการเคลื่อนขบวนนี้ทุกๆฝีก้าว แต่บ้านในซอยขบวนการเคลื่อนไหวไม่ได้เข้าไปในซอยจึงอาศัยการทำงานของ พี่ๆอสม.เข้าไปประชาสัมพันธ์ของแต่ละเขตที่อสม.แต่ละคนรับผิดชอบ เมื่อเป็นที่แน่ใจในการกระจายข้อมูลแล้วจึงดำเนินกิจกรรม ตรวจบ้าน ปลอดลูกน้ำ ปราบยุงร้าย กิจกรรมนี้เป็นการลงตรวจตามบ้านของชาวบ้านโดยมีกฎเกณฑ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนของชาวบ้านที่เข้าร่วมมาเป็นบรรทัดฐานในการตรวจบ้านครั้งนี้และมีการให้คะแนนตามข้อแต่ละข้อที่อยู่ในกฎเกณฑ์เพราะคะแนนที่บ้านแต่ละหลังได้นั่นจะมีการแจกสติ๊กเกอร์หากคะแนนถึง บ้านหลังที่ตรวจก็จะได้ประทับตราด้วยสติ๊กเกอร์

                                กิจกรรม ธนาคารปลาสวยงาม ปลอดลูกน้ำ ปราบยุงร้าย กิจกรรมนี้ได้มีการอนุบาลหางนกยูงโดยลุงพี่เลี้ยง ซึ่งพันธ์ปลาได้จากการบริจาคของชาวบ้านที่มาเพาะพันธุ์เพื่อให้มีการเกิดลูกของปลาหางนกยูงเมื่อดูตัวปลาแล้วสามารถที่จะแจกจ่ายกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้วจึงทำการประชาสัมพันธ์โรงเรียนของชุมชนและโรงเรียนใกล้เคียง โดยการแจกปลานี้จะใช้วิธีการว่า "ขวดพลาสติก 2 ขวด ต่อ ปลาสวยงามหนึ่งตัว"หมายความว่า คนที่จะมาแลกปลาให้พาขวดพลาสติกที่สามารถขายต่อได้มาแลกปลา จะนำขวดมาแลกเท่าไรก็ได้แต่ตามที่กำหนดไว้คือ สอง ขวด ต่อ ปลา หนึ่งตัว ซึ่งกิจกรรมสร้างความสนุกสนานกับเด็กเป็นอย่างมากสังเกตจากสีหน้าของเด็กที่ดูตื่นเต้นเมื่อได้หยิบขวดในถุงของตนเองที่เตรียมมาแล้วมาแลกปลาอีกทั้งไม่ใช่เพียงมีเด็กอย่างเดียวเท่านั้น บรรดาคุณแม่ของเด็กๆทั้งหลายต่างพากันหาขวดเพื่อมาแลกปลานำไปให้ลูกๆที่บ้าน กิจกรรมนับว่าสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆกับผู้ปกครองเป็นอย่างดี

 

ภาคการป้องกัน

                การป้องกันตนเองจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของไข้เลือดออกนำมาซึ่งความเจ็บปวด ความทรมาน อีกทั้ง ในบรรดาของผู้ป่วยขั้นรุนแรง นำมาซึ่งความสูญเสีย ทำให้เกิดนวัตกรรมหลายอย่างที่สามารถนำมาอุปโภคต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการทาโลชั่น การจุดการกันยุง การเสียบน้ำกันยุง เป็นต้น นวัตกรรมเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด แต่ในทางกลับกันผลเสียที่เกิดจากการป้องกันนั้น หากใช้ไม่ถูกวิธีก็จะนำมาซึ่งความเจ็บป่วยได้เหมือนกัน

                การอบรม สาธิต นวัตกรรมป้องกันยุง ถือเป็นด่านแรกของการนำความรู้ไปสู่การผลิตนวัตกรรมของชุมชน เพราะกิจกรรมนี้ได้มี ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล อาจารย์แผนกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นวิทยากรการทำธูปไล่ยุงและการกลั่นน้ำมันออกจากสมุนไพรที่สามารถป้องกันยุงได้มาสอนให้กับชาวบ้าน การกลั่นได้แก่ การนำ ขมิ้นมาสับแล้วทำความสะอาดแล้วใส่ในหม้อกลั่นใส่น้ำแล้วต้มเพื่อรอให้น้ำที่กลั่นออกมา นวัตกรรมที่สอง คือการผสมสมุนไพรในการทำธูป มีส่วนผสมดังนี้ ใบสะเดาแห้งบด ตะไคร้หอมแห้งบด ขี้เลื่อยบด แล้วผสมกับแป้งเปียกคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วมาคลึงเมื่อได้รูปทรงคล้ายธูปจึงนำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบแล้วตากแห้ง ซึ่งองค์ความรู้ตรงนี้ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวบ้านเป็นจำนวนมากเพราะนับเป็นความรู้ใหม่ที่พวกเขาได้รับ นับว่าเป็นความรู้ใหม่ที่พวกเขาได้รับอีกทั้งสมุนไพรที่นำมาใช้ในการทำนับเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนจึงไม่ยากต่อการสานต่อการทำธูปตรงนี้ ส่วนแบบกลั่นสมุนไพรชาวบ้านได้บอกว่า การกลั่นนั้นไม่ได้มีขั้นตอนวุ่นวาย แต่เพียงความต้องการหากวัดจากคนในชุมชนไทยพุทธส่วนมากจะใช้ธูปในการบูชา จึงพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงว่า ควรแก่การทำนวัตกรรมใดก่อน จึงได้มติของการพูดคุยว่า หากเป็นธูปเราสามารถทำที่บ้านแต่ละคนได้ แต่หากนำหม้อกลั่นคงจะลำบากเพราะต้องใช้แก๊สใช้ไฟอีก มติตรงนั้นสร้างความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมอย่างตรงไปตรงมาอย่างชัดเจนเพื่อนำสู่การทดลองอีกครั้ง

 

 

ก่อเกิดกลุ่ม เพื่อขับเคลื่อนไปข้างหน้า

                กลุ่ม ผู้สูงอายุทำธูปสมุนไพรไล่ยุง เป็นกลุ่มที่เกิดหลังจากได้มีการสาธิตการทำนวัตกรรมป้องกันยุง การเกิดกลุ่มตรงนี้ เพื่อต้องการสร้างกิจกรรมร่วมกันและให้มีความต่อเนื่อง อีกทั้งเพื่อสร้างมิตรไมตรี ในกลุ่ม เพราะกลุ่มนี้เกิดขึ้นมีทั้งผู้สูงอายุติดบ้าน มีทั้งผู้สูงอายุติดสังคมรวมถึงสมาชิกอสม.เข้ามาร่วมกันสร้างกลุ่มตรงนี้ขึ้นภายใต้การนำคุยของ นักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน(นสส.) 

                การก่อเกิดกลุ่มตรงนี้สร้างกิจกรรมทดลองทำนวัตกรรมป้องกันยุงได้เกิดขึ้นจากความคิดของประธานกลุ่มที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างการพัฒนานวัตกรรมให้ได้ใช้จริง การนำของประธานกลุ่มสร้างความฮือฮาและความภาคภูมิใจกับเธอเป็นอย่างมากเพราะ เธอได้เอยว่า ชีวิตเขาปกติไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมอื่นใดเลย แต่เหตุใดเขาถึงเข้าร่วมกิจกรรมนี้และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมไปด้วยกัน คำพูดของเธอนั่นได้สร้างความตื่นตันเป็นอย่างมาก แก่ นสส.  เพราะ คนๆหนึ่งเราสามารถดึงเขามาร่วมกิจกรรมจากที่ไม่เคยร่วมกิจกรรมจนได้มาเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่มในการผลิตนวัตกรรมนี้ให้เป็นจริงขึ้นมา

          ธูปสมุนไพรไล่ยุงที่ใช้ได้มาจนถึงปัจจุบันได้ผ่านการทดลองนับไม่ถ้วน ตั้งแต่วิธีการ คลึง จุ่ม และ นวด นับเป็นกระบวนการทำที่จะนำมาซึ่งธูปที่เป็นแท่ง การทดลองนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ นสส. เข้าไปพูดคุยและร่วมใจจะทดลองทำใหม่ว่าธูปที่ทำสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ แต่แล้วธูปที่ได้มาจากการทดลองในวันอบรมกลับไม่ติด จึงคิดค้นหาวิธีใหม่แต่ยังคงสูตรเดิมเพียงแต่เปลี่ยนไม้ที่ใช้เสียบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ ประธานกลุ่มและนสส. สวมบทบาทกับการเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวบ้านในการคิดค้น หาวิธีการ สืบเสาะข้อมูลวิธีการทำจากชาวบ้านหลายชาวบ้านจึงได้บันทึกการทดลองอยู่ในห้วงความทรงจำยังคงไม่คลาย การทดลองกว่าจะได้ธูปสมุนไพรไล่ยุงต้องทดลองถึง 8 ครั้ง ใช้เวลาไปทั้งหมด เกือบ 2 เดือน ถึงจะได้ผลลัพธ์ของการทดลองทำธูปสมุนไพรยุง อีกทั้งได้ผลลัพธ์ถึงคุณภาพของธูป ซึ่งคุณภาพของธูปได้มาจากการสัมภาษณ์ พูดคุยหลังจากแจกประชาสัมพันธ์ และจำหน่าย ปรากฏว่า เกินความคาดหมายเพราะสิ่งที่ชาวบ้านสะท้อนนั้น สร้างคุณค่าทางใจและสร้างสิ่งที่ต้องการ และ นสส. ต้องการจะได้ยินมาก คือ ใช้ธูปเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ใช้ได้ดีใหม" "กลิ่นหอมน่ะ ไล่ยุงด้วย "พร้อมยิ้มทั้งใบหน้าและดวงตาพอให้เราสัมผัสความจริงใจที่เขามอบให้

                หลังจากทำธูปสำเร็จเลยวางเป้าหมายเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เริ่มจากประชาสัมพันธ์ในชุมชนตาม วงประชุมต่างๆในชุมชน ได้แก่ วันประชุมอสม วันประชุมและ ผู้สูงอายุ ส่วนงานนอกชุมชน วันสตรีของจังหวัดตรัง วัน อสม จังหวัดตรัง และ วันประชุมรวมโซนของ นักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ยิ่งเพิ่มการประชาสัมพันธ์มากเท่าไร ก็สามารถเพิ่มพูนแรงบันดาลใจให้กับกลุ่ม ผู้สูงอายุทำธูปได้มากกว่านั้น เพราะด้วยพื้นฐานของผู้สูงอายุส่วนมาก เป็นคนที่ต้องการเอาใจใส่ ไม่ทอดทิ้งพวกเขา และหมั่นเข้าไปคุยกับเขา เพียงเท่านี้ พวกเขาก็จะใช้ชีวิตในชุมชนอย่างไม่โศกเศร้า อีกทั้งการจับกลุ่มทำอะไรสักอย่างเพื่อส่วนร่วมนับเป็นสิ่งที่ดีกับพวกเขาอย่างยิ่ง จากการสัมผัสกับกลุ่มนี้ สิ่งหนึ่งที่ได้คือ มากกว่าการนั่งปั้นธูปพวกเขามีการพูดคุย หยอกล้อกัน ทั้งยังร้องเพลงเพื่อคลายเหงา  และผ่อนคลาย  ซึ่งความสำคัญตรงนี้แหละนับว่ามีค่ามากกว่า ธูป ที่คนธรรมดาอย่างผู้อุปโภคอย่างเดียวจะไม่ได้สัมผัส

การผสมผสาน ของธูป

                หลายกลุ่มที่ทำเกี่ยวกับนวัตกรรมป้องกันยุง ส่วนมากนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงนำมาประกอบเข้าด้วย เช่นเดียวกับกลุ่ม ผู้สูงอายุทำธูป นำสมุนไพรที่อยู่ในชุมชนนำมาผสมผสานกันเพื่อให้ได้ธูปสมุนไพรไล่ยุงที่สามารถใช้ในปัจจุบันได้ ได้แก่  สะเดาแห้งบด ตะไคร้หอมบด ดอกปาล์มแห้งบด ขี้เลื่อยแห้งบด และ แป้งเปียกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เป็นก้อนเดียวกันเพื่อนำไปใส่ในบล็อก

วิธีการทำ

                ผสมวัตถุดิบเข้าด้วยให้เป็นเนื้อก้อนเดียวกันพอให้ได้ประมาณไม่ต้องแห้งมาก เมื่อเสร็จแล้วนำไปใส่ในบล็อกไม้ไผ่(บล็อกนี้ชาวบ้านได้ออกแบบเองโดยไม้ไผ่ตัดให้เป็นท่อนไม่ยาวนักแล้วผ่าสอง) การนำส่วนผสมใส่ในบล็อกจะต้องกดให้แน่นเพื่อที่จะใส่ก้านจากทับข้างบนของเนื้อธูปที่ใส่ไปครั้งที่ 1 หลังจากนั้นเมื่อใส่ไม้ก้านจากเสร็จแล้วนำเนื้อธูปใส่ข้างบนอีกขั้นแล้วประคบด้วยไม้ไผ่อีกอัน(ไม้ไผ่ที่เหลือจากการผ่า) แล้วนำไปตากในร่มที่ไม่มีอากาศชื้น เมื่อตากในที่ร่มประมาณ 1วันแล้วค่อยนำไปตากแดดอ่อน ๆ ซึ่งหากนำไปตากในที่แดดจัดๆจะทำให้ธูปแตกไม่สวย แต่หากตากในที่มีอากาศชื้นก็จะทำให้ ธูปจุดแล้วดับ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ผล และที่สำคัญใจของคนที่จะทำธูปนับว่าต้องใจเย็นมากๆเพราะหากใจร้อนเกินไปต้องการความแห้งของธูปอย่างรวดเร็วจะทำให้ธูปที่ออกมาไม่สวย หนำซ้ำอาจจะต้องจุดแล้วไม่ติดก็เป็นได้

                วิชา การทำธูปที่บัณฑิตได้มาด้วยการลองผิดลองถูก ค้นหาทุกวิธีการที่หลายๆกลุ่มที่เขาทำ นับเป็นเป็นสิ่งที่บัณฑิตได้เรียนรู้อย่างมาก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความรู้ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ของการผลิต ศาสตร์ของการทำงานอย่างฝั่งลึกกับผู้สูงอายุ ศาสตร์กระบวนการทำงานของประธาน นับว่าเป็นผลพลอยเพชรที่มีค่ามาก และคิดว่า ธูปที่ได้มามันคือ เครื่องมือที่เอื้อให้บัณฑิตสามารถค้นคว้าความรู้หลายแขนงเข้ามาผนวกกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านการทำธูป การหมกมุ่นที่มักจะก่อผลเสีย แต่หากไม่หมกมุ่นงานก็ไม่สามารถจะสำเร็จออกมาได้ การรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ความอดทนในการทดลองเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ แต่สุดแล้วสุดเล่าที่ได้มากกว่านั้นคือ ใจคน เมื่อลำบากจะมีสักกี่คนที่มาช่วยเราจริงๆ " พยายามเถอะ พยายามเข้าไป แล้วคุณจะไม่เสียใจกับความพยายามนั้นเลย"