ส.สุนทร
จากปากต่อปากที่พูดกันไปใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นวลีที่ติดตาอยู่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งเฟซบุ๊คและเว็บไซต์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่า “ปล่อยเพื่อนเราที่นราธิวาส” หลายคนสงสัยว่าจับไปทำไมทั้งๆที่พวกเขาเป็นแค่นักศึกษาไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมาหลายวันมี องค์กรหลายองค์กรที่ไม่เห็นด้วยกับการจับนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงองค์กรที่เรียกตัวเองว่า PerMAS จนกลายเป็นการเดินขบวนโดยชูป้ายว่า “ปล่อยเพื่อนเราที่นราธิวาส”ทั้งที่นราธิวาสรวมไปถึง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ กทม.อีกด้วยโดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รู้เลยว่าเพื่อนของเขากลับกลายเป็นผู้วางระเบิดเสียเอง ทุกคนคงยังไม่ลืมระเบิดที่ร้าน โดโด้ คาราโอเกะ ที่นราธิวาส โดยใน ช่วงบ่ายวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 มีรายงานว่า ได้เกิดเหตุคนร้ายวางระเบิดกลางเมืองนราธิวาส 3 ลูกติด ๆ จนเป็นเหตุให้ร้านค้าเสียหายกว่า 20 ร้าน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 ราย โดยคนร้ายได้วางระเบิดคาร์บอมบ์ลูกแรก ที่หน้าร้านโดโด้คาราโอเกะ ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส พร้อมกับมีทะเบียนรถ ผค 4598 ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ และจากจุดนี้ ก็มีผู้ได้รับบาดเจ็บนับสิบคน และมีคนบาดเจ็บสาหัส 1 คน โดยเป็นชายอายุประมาณ 35-45 ปี ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ขาขวา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังระบุว่ารถคันที่ใช้ก่อเหตุคาร์บอมบ์ แล้วจุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร เป็นรถมิตซูบิชิ สตราด้า คันเดียวกับที่เคยใช้ก่อเหตุยิงใส่ที่ทำการ อบต.มะกรูด โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี จากนั้นก็มีระเบิดลูกที่ 2 ห่างจากจุดเดิมประมาณ 300 เมตร ซึ่งใช้รถจักรยานยนต์ประกอบระเบิด รถจอดไว้ที่หน้าศาลเจ้าแม่กวนอิม ถนน ณ นคร ซึ่งหน่วย EOD (หน่วยทำลายวัตถุระเบิด) สามารถยิงทำลายได้ ส่วนระเบิดลูกที่ 3 เป็นระเบิดแบบขว้าง แต่ระเบิดด้านต่อมา เจ้าหน้าที่ ก็ยังคงตามตัวคนร้ายกันจนมา เมื่อใน วันที่ 2 เมษายน 2558 เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวบุคคล ได้ 22 คนพร้อมของกลางหลายรายการ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการควบคุมตัวตาม พรบ.กฏอัยการศึก มีอำนาจควบคุมตัวได้ 7 วัน
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการจัดกำลังเข้าติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด 3 จุด ในเขตเมืองนราธิวาส เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งสามารถควบคุมตัวบุคคลได้ 22 คน และต่อมาภายหลัง จึงทราบว่า เป็นนักศึกษาและอดีตนักศึกษาของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในพื้นที่ จึงได้เรียนเชิญ อาจารย์มาร่วมรับฟังคำชี้แจง และปล่อยตัวผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกลับ 11 คน คงเหลือควบคุมตัว ณ หน่วยซักถาม 11 คน โดยมีการสอบสวนโดยให้บิดาของ นายรีดวน สุหลง ได้รับฟังและได้ให้มาอยู่กินนอนร่วมกันโดยมิได้กระทำการอื่นที่แสดงออกถึงการข่มขู่และซ้อมทรมานแต่อย่างใดและได้เชิญอาจารย์ของนักศึกษาและญาติของนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัวได้มารับฟังตรวจสอบที่ควบคุมตัวว่าเป็นการควบคุมตัวเพื่อซักถามตามขบวนการยุติธรรม การควบคุมตัวนักศึกษาและ อดีตนักศึกษา ถูกวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรนักศึกษาชายแดนใต้ว่าเป็นการคุกคามนักกิจกรรมในพื้นที่หรือไม่ แม้ต่อมาฝ่ายความมั่นคงได้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปกว่าครึ่งแล้วก็ตาม
จากเหตุการณ์นี้เองทำให้กลุ่มนักศึกษาจำนวนหนึ่ง ได้ออกมาแสดงสัญลักษณ์นำโดยกลุ่ม PerMAS เป็นแกนนำ และผลจากการสอบสวนในขั้นต้นได้ให้การยอมรับสารภาพว่าได้เข้าร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิดจริง 4 คน โดยไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและซ้อมทรมาน รวมทั้งไม่มีการคุกคามนักศึกษาตามที่กลุ่ม PerMAS กล่าวอ้างแต่อย่างใด
จากเหตุดังกล่าวผมก็ได้นึกถึงกรณีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อาทิ กรณีเหตุการณ์ กรือเซะ เมื่อ 28 เมษายน 2547 ต่อเนื่องถึงเหตุการณ์ เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการนาวิกโยธิน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2556 รวมทั้งเหตุการณ์ในครั้งนี้ พบว่ากลุ่มขบวนการได้ใช้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา มาเป็นเครื่องมือสร้างสถานการณ์ความรุนแรง ในรูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลุ่มแนวร่วม และองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ปลุกระดมบ่มเพาะ บิดเบือนข้อเท็จจริง ให้เกิดความหวาดระแวงและเกลียดชังรัฐและพยายามยกระดับประเด็นปัญหาในพื้นที่เข้าสู่เวทีสากล ทำให้เยาวชนเหล่านี้ต้องตกเป็นเหยื่อของกลุ่มขบวนการที่ต้องการอำนาจแต่ขาดอุดมการณ์เพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เหตุนี้จึงกลายเป็นการบอกกันปากต่อปากกันว่าทหารจับเพื่อนเราไปโดยมิได้ตรวจสอบหรือรอผลการพิสูจน์ของทางเจ้าหน้าที่เสียก่อนๆ เมื่อไม่มีความผิดก็ต้องปล่อยตัวล่าสุด ในวันที่ 5 เมษายน 2558 ทางทหารได้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด ประกอบด้วย 1. นายฮาเซ็ง กีลีมอ 2.นายอัลบารีย์ อาบะห์ และ 3. นายอุสมาน โอะยู หลังสอบสวนพบว่าทั้ง 3 คน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น โดยทางญาติได้เดินทางมารับตัวกลับ และพึงพอใจกับกระบวนการซักถามขยายผล ที่เจ้าหน้าที่ไม่มีการบีบบังคับแถมดูแลความเป็นอยู่อย่างดี ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างพึงพอใจและจากไปด้วยความราบรื่น
ที่มา http://manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9580000039459
ในกระแสของกลุ่ม PerMAS ที่ให้นักศึกษาออกมาเรียกร้องเพื่อให้ปล่อยตัวนักศึกษาชี้ให้เห็นได้ว่า กลุ่ม PerMAS ก็ยังคงใช้วิธีการเดิมๆโดยใช้นักศึกษามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการในการเคลื่อนไหวและ ได้ทำการตัดสินไปว่าผู้ที่ถูกจับกุมตัวไปนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์นั้นกลายเป็นคำที่มาติดปากกันว่า“ปล่อยเพื่อนเราที่นราธิวาส”เต็มในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยไม่มีการรอการผลจากการพิสูจน์หรือตัดสินจากทางเจ้าหน้าที่เสียก่อนทำให้การออกมาเดินขบวนนั้นกลายเป็นการเดินขบวนที่ให้ปล่อยผู้ร้ายออกมาสู่สังคมเพื่อมาทำร้ายผู้บริสุทธิ์อีกต่อไป ล่าสุดเมื่อ วันที่ 6 เม.ย. 58 นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ พลตำรวจตรีพัฒนวุธ อังคะนาวิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส นายซาฟีอี เจะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ร่วมแถลงข่าวกรณีเชิญตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสอบสวนเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับคดีวางระเบิดคาร์บอมที่บริเวณถนน ณ นคร เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยจากการตรวจค้น 4 จุด ได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัย จำนวน 22 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 12 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม 2 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 1 คน และรับจ้างทั่วไป 7 คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การพูดคุยวันนี้ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ปกครอง เพื่อนักศึกษา และหน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง มาร่วมชี้แจงตอบข้อซักถาม สร้างความเข้าใจการควบคุมตัวดังกล่าว เพื่อให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นการทำงานของทางราชการ ว่าได้ดำเนินการตามหลักนิติรัฐ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การสอบสวนกลุ่มผู้ต้องสงสัยครั้งนี้ถือเป็นการสอบสวนที่เกิดจากการกระทำรายบุคคล โดยไม่เกี่ยวกับสถาบันแต่อย่างใด อีกทั้ง ทางจังหวัดเองต้องการให้มีการพัฒนาไปทุกมิติพร้อมๆ กันทั้งการพัฒนาบ้านเมือง พัฒนาการศึกษา และพัฒนาความคิดเพื่อเปิดโอกาสด้านต่างๆ ให้กับจังหวัดนราธิวาส
ด้านพลตำรวจตรี พัฒนวุธ อังคะนาวิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า จากเดิมที่ควบคุมตัวไว้ 22 คน ตอนนี้เหลือเพียง 6 คน คาดว่า วันที่ 7 เม.ย. 58 ซึ่งครบ 7 วัน ตามอำนาจควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ก็จะส่งตัวมาทำการซักถามซึ่งได้ออกหมายจับตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ไว้แล้ว 4 คน และมีแนวโน้มว่าอีก 2 คน น่าจะปล่อยตัวไป อย่างไรก็ตาม กระบวนการ
ซักถามจะมีการตรวจสอบถ่วงดุลกัน โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน อาทิ ทนายความ ผู้นำศาสนา มาร่วมฟังการสอบสวนด้วย หลังจากเข้ามาสู่กระบวนการซักถามตาม พรก. อีก 30 วัน หากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ก็น่าจะดำเนินการตามกฎหมายปกติ หรือ ป.วิ อาญาได้ พร้อมให้ความมั่นใจว่าจะดำเนินการตามกฎหมายให้สอดรับกับหลักสากล
ที่มา : http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000039723