Skip to main content
นิยาม
 “นักโทษทางความคิด” (prisoner of conscience)
&
“นักโทษทางการเมือง” (political prisoner)
ในความหมายของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

นักโทษทางความคิด คือ บุคคลที่ถูกคุมขังหรือถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกายเพียงเพราะการแสดงความคิด และหรือมีความเชื่อทางการเมือง ศาสนา ของตนที่แตกต่าง หรือเพียงเพราะมีชาติพันธุ์ เพศ สีผิว ภาษา ความเป็นมาด้านเชื้อชาติหรือสังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสถานะอื่น ๆ ที่แตกต่าง โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนความรุนแรงหรือความเกลียดชัง  พวกเขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะความเชื่อของตนเองหรือเพียงเพราะอัตลักษณ์ของตนเอง โดยมิใช่เป็นเพราะอาชญากรรมที่ก่อขึ้น

Ø   แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยืนยันว่าต้องมีการปล่อยตัวนักโทษทางความคิดทั้งหมดโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข
 
Ø  ตามกฎบัตรระหว่างประเทศนั้น รัฐบาลไม่มีสิทธิควบคุมตัวบุคคลเหล่านี้
 
Ø  บุคคลอาจกลายเป็นนักโทษทางความคิดด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น
o   มีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสันติ
o   เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อยที่พยายามเรียกร้องอำนาจการปกครองตนเอง
o   ยืนยันที่จะปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ
o   เข้าร่วมในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน เช่นการนัดประท้วงหยุดงานหรือการเดินขบวน
o   ถูกจับกุมเพียงเพราะวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานของรัฐ
o   เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เพื่อเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศตนเอง
o   ปฏิเสธไม่ยอมเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลด้านมโนธรรมสำนึก (โปรดดูการขัดขืนตามมโนธรรมสำนึก (Conscientious objection))
o   ต่อต้านการใช้ภาษาที่เป็นภาษาทางการของประเทศ
o   เหตุผลเพราะว่าไปอาศัยอยู่ในสถานที่บางแห่ง
o   เพราะว่ามีเครือญาติที่เป็นฝ่ายค้านคนสำคัญของรัฐบาล
o   มีการควบคุมตัวผู้หญิงด้วยเหตุผลเพียงเพราะเพศสภาพอย่างเดียว (เช่นกรณีของกลุ่มฏอลีบันในอัฟกานิสถาน)
o   เพียงเพราะอัตลักษณ์ทางเพศทั้งที่เป็นจริงหรือในความคิดของคนอื่น หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน

Ø  การตัดสินว่านักโทษคนใดเข้าข่ายเป็นนักโทษทางความคิดต้องใช้การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงอย่างระมัดระวัง  เจ้าหน้าที่ที่สำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ (International  Secretariat- IS) เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจดังกล่าว โดยพึ่งพาข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่ได้จากหลายแหล่ง

Ø  ในประเทศไทย หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องสมาชิกจากทั่วโลกส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนที่ถูกจับกุมในเหตุการณ์ดังกล่าว ในฐานะ “นักโทษทางความคิด” มีจดหมายนับแสนฉบับจากคนทั่วโลกส่งมาถึงรัฐบาลไทยและสำนักราชเลขา

Ø   ปี 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นนักโทษทางความคิด เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

Ø  1 กรกฎาคม 2558 แอมเนสตี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รับ 14 นักศีกษาที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 จากการชุมนุมอย่างสงบที่กรุงเทพฯ และที่ขอนแก่น (เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เนื่องในโอกาสครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร และร่วมชุมนุมประท้วงอย่างสงบอีกสองครั้งในวันที่ 24 และ 25 มิถุนายน 2558 ที่กรุงเทพฯ) เป็นนักโทษทางความคิด โดยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

นักโทษทางการเมือง คือบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังในข้อหาคล้ายกับนักโทษทางความคิด เพียงแต่มีการใช้ความรุนแรงรวมอยู่ด้วย หรือใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (Hate speech) ในกรณีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้รัฐบาลนำตัวบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีการไตร่สวนอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและเปิดเผย

Ø  ในประเทศไทย เช่น ดา ตอร์ปิโด

ยกตัวอย่างกรณีเนลสัน แมนดาลา

ในช่วงแรกที่เนลสันเคลื่อนไหวในทางสันติ และถูกจับกุม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรองให้เนลสันเป็นนักโทษทางความคิดและเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ต่อมาเมื่อเขากลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ตินโดยใช้อาวุธ เช่นการก่อวินาศกรรม จนถูกประณามจากผู้นำต่างชาติว่าเป็น “การก่อการร้าย” และถูกจับกุม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลถือว่าเขาเป็นนักโทษทางการเมือง จึงเรียกร้องให้มีการ      ไตร่สวนอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม