ผ่านมากว่าสองสัปดาห์แล้ว ที่ชาวมุสลิมถือศิลอดในช่วงเดือนรอมฎอน นอกจากจะเคร่งครัดเรื่องการกินการอยู่แล้ว ในช่วงเวลาละศิลอดหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เราจะได้เห็นภาพความประทับใจ คือการร่วมแบ่งปันอาหารและการนั่งล้อมวงพูดคุยกัน
รอมดอน นอกจากจะเป็นเดือนของการถือศีลอดของชาวมุสลิมแล้ว ยังเป็นเดือนของการให้ การแบ่งปันและการเอื้ออาทรต่อกันด้วย ด้วยเหตุนี้การเดินทางไปเยี่ยมผุ้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ความรุนแรงที่บ้านบ่อเจ็ดลูก ต.ยุโป อ.มือง จ.ยะลาในครั้งนี้ สมาชิกจากครือข่ายผู้หญิงฯ และมูลินิธิฮิลาลอะห์มัร จึงถือโอกาสทำบุญเลี้ยงอาหารละศีลอดที่นั่น ไปพร้อมๆกัน
นางสาวเจ๊ะมัสนา โต๊ะมะชาวบ้าน ต.ยุโป อ.มือง จ.ยะลาเล่าให้ฟังว่า อย่างน้อยครอบครัวเราไม่ถูกทอดทิ้ง อย่างน้อยเราก็มีเพื่อนจะแบ่งปังความรู้สึกอะไรที่เราอึดอัดใจมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พ่อเสียงชีวิตตอนเดือนรอมฎอนนะคะและก็ตอนที่พ่ออยู่ คือตอนเวลาเปิดบวชก็คือเราก็อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ช่วงตอนนี้นะคะก็นึกถึงพ่อค่ะ ส่วนมากทำอาหารก็จะแบ่งปังให้เพื่อนบ้านคะ ก็จะทำบุญที่มัสยิดก็คือเลี้ยงกันช่วงที่จะเปิดบวช เราก็ขอดุอาร์ให้พ่อกับแม่สือลามัต(ปลอดภัย)คะ ร่วมทั้งหมดพี่น้องมุสลิมเรสถานที่พบปะและเลี้ยงละศีลอด อยู่ที่บ้านของ”กะแย” ที่วันนี้ มีแกนนำผู้หญิงที่ทำงานประเด็นสันติภาพ เข้ามาร่วมทำอาหารและกิจกรรมด้วยหลายคน กะแยเล่าถึงวิถีการแบ่งปันของคนในชุมชน ช่วงเดือนรอมดอนนี้ว่า ส่วนใหญ่ มักทำอาหารเผื่อแผ่แก่เพื่อนบ้าน และคนในชุมชนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำอาหารนำไปให้ที่มัสยิด สำหรับการละศีลอดร่วมกันที่นั่นด้วย
นางมือแย ยูโซ๊ะ เล่าให้ฟังว่า หุงข้าวที่บ้าน พากับข้าวไปมัสยิด หรือไม่ก็เชิญคนมาทานอาหารละศิลอดที่บ้าน บางทีก็แจกอินทผลัม และจ่ายเงินซากาต(ภาษีทางศาสนา)ให้แก่ชาวบ้าน บ่อเจ็ดลูก
ดวงสุดา สร้างอำไพ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเครือข่ายผู้หญิงฯที่เป็นชาวพุทธคนเดียว ที่มาร่วมกิจกรรม และรับประทานอาหารร่วมกันกับพี่น้องมุสลิมในชุมชน
ดวงสุดา สร้างอำไพ สมาชิกเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้เล่าให้ฟังว่า การที่ได้มาใช้ชีวิตเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมคนในพื้นที่ถึงแม้ว่าตัวดีฉันเองจะอยู่ที่นี้มาตั้งแต่เกิดแต่ไม่ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมทั้งหมดวันนี้ก็ได้มาสัมพันธ์การทำกิจกรรมละศิลอดทำให้ดีฉันเข้ามุสลิมได้มากขึ้นค่ะ
อาหารมือนี้จึงมีความหมายมากกว่าการเป็นอาหารมื้อเย็น ที่มุสลิมได้ทานหลังจากถือศีลอดมาตอลดทั้งวัน แต่ยังเป็นมื้อที่สะท้อนการประสานสัมพันธ์ของคนในชุมชนชน ของคนนอกที่มีต่อคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ รวมทั้งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเพื่อนต่างศาสนิกอีกด้วย
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์ จากการเดินทางแบ่งปันล้อมวงพูดคุยกันของเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้