MARA PATANI
เริ่มแรกได้ยินชื่อนี้ ก็ค่อนข้างแปลกใจไม่ใช้น้อยเหมือนกันที่อยู่ๆ มีชื่อนี้ปรากฏขึ้นมา เพื่อเป็นกลุ่มหรือองค์กร เป็นตัวแทนที่จะมาพูดคุยกับรัฐบาลไทย หรือตัวแทนในคณะพูดคุยของไทย
มารา ปาตานี เป็นการรวมตัวของ 6 กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ประกอบด้วย กลุ่มบีอาร์เอ็น เฉพาะที่เห็นด้วยกับการเจรจา หรือที่ใช้ชื่อว่า "บีอาร์เอ็น แอคชั่น กรุ๊ป" ,กลุ่มบีไอพีพี ,กลุ่มจีเอ็มไอพี และพูโล 3 กลุ่มย่อย คือ พูโลกลุ่มอาวุโส, พูโลเก่า และ พูโลใหม่
จริงๆ ก็ไม่น่าจะถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งองค์กรเพื่อการพูดคุยกัน แต่ในอดีตก็เคยมีการตั้ง"เบอร์ซาตู" ขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้ว เพียงแต่ในครั้งนี้ ดูเหมือนจะชัดเจนมายิ่งขึ้น
ส่วนหนึ่งที่ผมมองเห็นคือ ดีกว่าที่คณะพูดคุยไทย ต้องไปไล่คุยกันที่ละกลุ่ม ที่ละองค์กร มาครั้งนี้รวมกลุ่มกันได้ พูดคุยกันซะทีเดียวเลย เพียงแต่ในแต่ละกลุ่มที่มารวมกันเป็น มารา ปาตานี นั้น เป็นเพียงกลุ่มที่สนใจในการพูดคุยสันติภาพ หากตามประสาของคนทำงานภาคประชาสังคม ก็คงจะใช้คำว่า “ปีก” แทนคำว่า “กลุ่มย่อย” เช่น กลุ่มบีอาร์เอ็น ก็จะมาเฉพาะ “ปีก” ที่เห็นด้วยกับการพูดคุย
แต่การมาในนาม มารา ปาตานี ในครั้งนี้ อาจจะสร้างความ งง ให้กับหลายๆ คน อยู่ๆ ก็เปิดตัว แล้วก็มีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ [ข้อเรียกร้อง คำเรียกร้องตัวอย่างประโยคผู้ประท้วงได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ คำกล่าวเพื่อแสดงความต้องการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง]
ในมุมมองของคนไทยพุทธ หลายๆ คน คงไม่เห็นด้วยกับการพูดคุย ด้วยเหตุผล ทำไมต้องไปพูดคุยกับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ทำไมต้องไปพูดคุยกับผู้ที่ฆ่าคนตาย หรือแม้แต่ทำไมต้องไปพูดคุยถึงประเทศมาเลเซีย หลากหลายเหตุผล แต่ด้วยลึกๆ แล้ว คนในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอของสงขลา ย่อมต้องการความสงบด้วยวิธีการพูดคุย บ้างอาจจะไม่มั่นใจว่า คุยกันถูกตัวแล้วจริงหรือ หรืออาจจะเป็นแค่การสร้างภาพของรัฐบาล อาจจะหมายรวมถึงคุยกับตัวปลอม ก็เป็นได้
ในความต้องการเห็นความสำเร็จของการพูดคุย ถึงแม้จะเป็นในยุครัฐบาลทหาร ซึ่งได้มาด้วยการทำรัฐประหาร ก็ตามที อาจจะไม่ถูกใจของนักประชาธิปไตยมากนัก และอาจจะไม่เชื่อมั่นในขบวนการพูดคุยของรัฐบาลทหาร ที่มีหน้าที่จับอาวุธก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วต้องยอมรับความคิดของประชาชนที่จะต้องกำหนดความเป็นไปของพื้นที่ของตน และสิ่งที่สำคัญที่สุดของความต้องการพื้นฐานของประชาชน คือ สิทธิ และการยอมรับในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ และสันติ
คณะพูดคุยของรัฐบาลไทย หรือรัฐไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึกของสันติภาพ ความรู้ในกระบวนการพูดคุย และความต้องการสันติภาพของคนในพื้นที่ ลงสู่ผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ในขณะเดียวกัน ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างเอง ต้องเข้าใจ ใส่ใจต่อกระบวนการสันติภาพ เป็นอย่างดี ถึงจะถ่ายทอดต่อสู่ประชาชนได้ ... สิ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง คือ ภาคประชาสังคมเอง จะถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ ต่อมวลชนของตน ด้วยท่าทีแบบไหน เช่นกัน