Skip to main content

                       สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้นับว่าเป็น “โจทย์”ที่ยากและท้าทายสำหรับทุกรัฐบาล ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังขาดการมีส่วนรวมและขาดพื้นที่กลางสำหรับประชาชน เนื่องจากการที่คู่ขัดแย้ง ดำเนินการพูดคุยกันเพียง แค่สองฝ่ายนั้นไม่เพียงพอสำหรับการแสวงหาทางออกของกระบวนการสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ได้ เพราะกระบวนการสันติภาพ จะต้องมีหลายๆภาคส่วนจะต้องเดินไปพร้อมๆ กัน ไม่เพียงแค่ปล่อยให้คู่กรณีหลักอย่างฝ่ายรัฐและฝ่ายเห็นต่างจากรัฐมากำหนดแนวทางยุติความขัดแย้งฝ่ายเดียว แต่ต้องให้ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาที่อยู่ในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและที่สำคัญประชาชนต้องมีพื้นที่ในการร่วมนำเสนอทางออกสู่สันติภาพด้วย

                           วิทยาลัยประชาชน [People’s College] เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มีภารกิจเพื่อเป็นศูนย์จัดศึกษาอบรมในหลักสูตร/โปรแกรม อบรมระยะสั้นและระยะยาวให้กับองค์กรภาคประชาสังคมและภาคประชาชน ในประเด็นประชาธิปไตย การเมืองการปกครอง และกระบวนการสร้างสันติภาพในปาตานี/พื้นที่ชายแดนภาคใต้  ตลอดจนการจัดพื้นที่เพื่อให้เกิดการสนทนาสันติภาพขึ้น อีกทั้งยังมีการเผยแพร่เอกสารวิชาการที่สะท้อนถึงการขับเคลื่อนงานสันติภาพจากภายในสู่การรับรู้ของสังคม ภายนอก ด้วยการมุ่งหวัง ที่จะนำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ

                        “ความขัดแย้งในระยะเปลี่ยนผ่าน” เป็นประเด็นที่วิทยาลัยประชาชนให้ ความสำคัญเป็นอย่าง มากในช่วงที่สังคม ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ อยู่ในภาวะที่ต้องการประสบการณ์การก้าวข้ามความขัดแย้งที่เกิดความรุนแรงเพื่อไปสู่การหาทางออกในวิถีทางการเมือง จากการเปิดหลักสูตรอบรมในปีผ่านมานั้น ตลอดจนการจัดพื้นที่เสวนาที่ผ่านมาอาทิเช่น เสวนา “wawasan Patani 2020” หรือ “วิสัยทัศน์ปาตานี/ชายแดนใต้ 2020” เป็นการริเริ่มโดยวิทยาลัยประชาชนที่จะจัดขึ้นในทุกๆปีเพื่อให้เป็นพื้นที่การเสวนาของกลุ่มชนในสังคมปาตานี/พื้นที่ชายแดนภาคใต้  ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่มี  ภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนา นักวิชาการ นักศึกษา เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ด้วยการมองมุ่งสู่ข้างหน้าและพูดอนาคตร่วมกัน ตลอดจนเป็นพื้นที่ที่พยายามสื่อสารกับสาธารณชน

 ภารกิจวิทยาลัยประชาชน [People’s College]ในปี 2015-2016

1) ศูนย์ประชาธิปไตยศึกษา เปิดอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรผู้นำท้องถิ่นกับพื้นที่สนทนาสันติภาพเชิงบวก Local Leaders for Peace (LP) มีผู้เข้าร่วมจำนวน 70 ท่าน มี 2 รุ่น รุ่นละ 35 ท่านในหลักสูตรนี้จะเน้นถึงการสร้างพื้นที่ของความรู้ต่อผู้นำชุมชนเพื่อนำสู่การดึงประชาชนรากหญ้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ

 2) ศูนย์จัดการความขัดแย้งศึกษา เปิดอบรมในโปรแกรมประกาศนียบัตรยุทธศาสตร์การทำงานสันติภาพ Peace building strategic Plan (PBS) มีผู้เข้าร่วมจำนวน 25 ท่าน ในโปรแกรมนี้จะเน้นให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมสามารถไปพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรและมีกรอบการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆได้

 3) สำนักกงสุล เปิดอบรมในโปรแกรมประกาศนียบัตรชั้นสูงการไกล่เกลี่ยสันติภาพ Peace Mediation Process (PMP) มีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 ท่าน ในโปรแกรมจะเน้นศึกษาถึงการไกล่เกลี่ยสันติภาพ โดยมีผู้เชียวชาญในด้านการไกล่เกลี่ยให้การอบรม

4)  ศูนย์พัฒนาบุคคลากร ภายใต้ Balance Space’s dialog to Peace(พื้นที่สนทนาดุลยาภาพสู่สันติภาพ) เปิดอบรมระยะสั้น มีการอบรมพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ (Training skills)  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 ท่าน ใน โครงการนี้จะเน้นถึงการติดเครื่องมือและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานสันติภาพ

5.) สำนักส่งเสริมการเมืองภาคประชาชน เปิดโปรแกรม Patani Peace Contact Group (PCG) เป็นวงพูดคุยที่คาดหวังให้เกิดพื้นที่สนทนางานสันติภาพขององค์กรภาคประชาสังคมปาตานี เพื่อสนับสนุนผู้นำขององค์กร ภาคประชาสังคมและภาควิชาการเข้าใจในกระบวนการเจรจาสันติภาพและข้อตกลงสันติภาพ เปิดเวทีให้เกิดข้อเสนอจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ สร้างจุดเชื่อมระหว่างระดับนโยบายหรือคู่เจรจาให้สามารถสื่อสารกับคนใน และที่สำคัญพยายามขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่และประเทศในภูมิภาคนี้เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการโดยเฉพาะในประเด็นการเตรียมความพร้อมสู่แนวทางการเจรจาสันติภาพ

6.) สำนักวิจัยและพัฒนา มีโปรแกรมจัดทำวิจัยเชิงสำรวจด้านความต้องการในการพัฒนาขององค์กร CSO ปาตานี/ชายแดนใต้ ในกระบวนการสันติภาพเพื่อสามารถกำหนดทิศทางการทำงานขององค์กร (CSO) โดยมียุทธศาสตร์รองรับ

                      นอกจากนี้วิทยากรที่มาบรรยายในครั้งจัดอบรม วิทยาลัยประชาชนได้เชิญผู้ที่เชียวชาญในด้านวิชานั้นๆเป็นผู้บรรยายนำกระบวนการ เพราะจะสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างเต็มความสามารถและจะเป็นการมุมมองและวิธีคิดใหม่ ซึ่งมีจากทั้งในและต่างประเทศตลอดจนในปีนี้วิทยาลัยประชาชน [People’s College] มีแผนที่จะเปิดตัวกิจกรรมรูปแบบใหม่และมีความสำคัญกับพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ของการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งสู่การแสวงหาทางออกสู่สันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้  โดยมีกิจกรรมดังนี้   

                      “Insider Talks” หรือพื้นที่กลางของคนในเพื่อแสวงหาทางออกสู่สันติภาพปาตานี เป็นกิจกรรมที่เน้นรูปแบบการทอล์คโชว์และการโต้วาทีจากคนใน ตลอดจนเปิดพื้นที่เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้งในเวทีเสวนาสาธารณะและเสวนาในชุมชนในประเด็นที่คนในและสังคมให้ความสนใจ ซึ่งถือเป็นการริเริ่มดังกล่าวเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการสนับสนุนงานสันติภาพของคนใน ในอนาคตและที่สำคัญเป็นความพยายามเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ปาตานีที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                       ภารกิจในครั้งนี้มีความคาดหวังที่ต้องการเห็นถึงการให้ความสำคัญของกลุ่มชนหลายวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้และบุคคลภายนอกที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพได้สะท้อนมุมมองทางออกจากความรุนแรงสู่ทิศทางในวิถีทางการเมือง เพื่อให้ทิศทางในวิถีทางการเมืองเหล่านี้เป็น สิ่งที่สังคมและคู่ขัดแย้งหลักจะต้องตระหนักและเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพที่มาจากหลายส่วนทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ สังคมส่วนใหญ่ของไทย และจาก องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดพื้นที่สนทนางานสันติภาพและที่สำคัญถือว่าเป็นการหนุนเสริมและแสวงหาทางออกร่วมกันเพื่อให้ส่งผลสะท้อนและการตั้งคำถามของสังคมในบรรดาคนทำงานภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานสันติภาพและประชาชนรากหญ้าโดยเฉพาะกลุ่มชนที่ไดรับผลกระทบโดยตรงที่เห็นได้อย่างชัดเจนและสัมผัสได้ว่าสังคมปาตานี/ชายแดนใต้ อยู่ในภาวะที่ต้องการก้าวพ้นความรุนแรงพร้อมๆ ไปกับกำลังมองหาแนวทางจัดการกับปัญหาใหม่ๆ ด้วยวิถีทางการเมือง ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ ทำให้เห็นปรากฏการณ์ของภาคสังคมที่ได้เคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ การเกิดของเวทีเสวนา และการออกแถลงการณ์ หลายๆครั้งที่เป็นความพยายามจะสื่อสารต่อสังคมไทยโดยรวมและการให้ข้อเสนอต่อคู่ขัดแย้งหลัก