Skip to main content

November,1 2015

Original link, Click here

ชี้นโยบายปัจจุบันลดระดับความรุนแรงลงถึงขีดต่ำสุดเพื่อเปิดพื้นที่ให้พลังสันติวิธี ไม่มีปิดล้อมตรวจค้นขนาดใหญ่ การบุกจับกุมมีเป้าหมายชัดเจนเฉพาะผู้มีหมายจับ วิสามัญฆาตกรรมทางเลือกสุดท้าย แต่ยืนยันการจะลดความขัดแย้งในเรื่องประวัติศาสตร์ต้องไม่ใช่วาทกรรมการตกเป็นอาณานิคม

พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวเรื่องนี้ในระหว่างไปร่วมเสวนาเรื่อง “ชายแดนใต้กับพรมแดนความรู้ใหม่และอนาคตที่ท้าทาย” ที่โรงแรมซีเอสปัตตานีเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงภูมิหลังของปัญหาในพื้นที่ในอดีตที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และชี้ว่าไทยและเพื่อนบ้านต่างมีความหลากหลายซึ่งต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ในส่วนของไทยนั้นก็เหมือนที่อื่นคือต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตัวเองเพื่อรู้จักและวิพากษ์ตัวเอง “แต่อย่าเรียนรู้เพื่อเอามาเป็นปัจจุบัน นำไปสู่ความโกรธแค้นเกิดความแตกแยก แบ่งแยก ทำลายความเป็นพหุวัฒนธรรม ซึ่งผมมองว่านี่ยังเป็นปัญหาใหญ่ของสามจังหวัดชายแดนใต้”

รองแม่ทัพภาค 4 ชี้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับไทยในอดีตเป็นความสัมพันธ์ทางจารีต ปัญหาประวัติศาสตร์ในพื้นที่เป็นปัญหาด้านวาทกรรม วาทกรรมต่างกันนำไปสู่ความขัดแย้ง และเตือนว่า การที่คนเราศึกษาประวัติศาสตร์ก็เพื่อจะเรียนรู้และรู้จักตัวเอง เพื่อให้เข้าใจและวิพากษ์ตัวเอง สิ่งที่ควรจะต้องเกิดคือพิพิทธภัณฑ์ที่จะบอกคนในพื้นที่ว่าตัวเองมาได้อย่างไร และมาเป็นประเทศไทยได้อย่างไร แต่ไม่ใช่วาทกรรมการ imperialize (การเข้าครอบครองแบบจักรวรรดิ) ไม่ใช่แน่นอน

ในช่วงหนึ่งของการอภิปราย พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวเตือนด้วยว่า “มนุษย์เราหลีกไม่พ้นที่จะต้องแลกเปลี่ยนกับคนอื่นและแบบอื่น เราจะยอมรับตรงนี้ได้อย่างไร มันเป็นเรื่องของทักษะ เป็นเรื่องที่การศึกษาต้องให้ พื้นฐานอิสลามก็มีเรื่องนี้ ไม่มีประโยชน์ที่จะแยกไปสู่เชิงเดี่ยวและอยู่ตามลำพัง” นอกจากนั้นยังระบุว่าการที่จะให้พื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เป็นสะพานหรือประตูสู่อาเซียนนั้นยังต้องคำนึงถึงปัญหาในเรื่องความมั่นคงด้วย

รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า รัฐบาลนี้เชื่อในพลังของสันติวิธี พร้อมระบุว่า ตนเป็นหนึ่งในคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขที่จะพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง “เราจริงใจที่จะคุยกับผู้เห็นต่างทั้งหมดเพื่อจะยุติความขัดแย้ง เราเชื่อว่าสันติวิธีเป็นทางออกความขัดแย้ง ผมได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง ยืนยันได้ในเรื่องนี้ว่าต้องการใช้สันติวิธี ให้หยุดความรุนแรงแล้วมาคุยกัน ต้องการอะไรมาคุยกัน ไม่ว่าในมิติของอัตลักษณ์ มิติศาสนา การศึกษา นโยบายคืออะไรที่เป็นข้อเสนอที่เขาเสนอมา ทำแล้วประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน ให้ทำทันที ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้พยายามลดการใช้ความรุนแรงจนต่ำสุด แม่ทัพคนใหม่เองก็ยังยืนยันในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน และจะยังคุยกันต่อไป ผมในฐานะตัวแทนของพื้นที่พร้อมจะไปคุยกับเขาที่กัวลาลัมเปอร์ และพร้อมจะกลับมาเล่าให้ฟัง หากใครมีอะไรจะให้ไปพูดบอกได้ ผมจะคุยกับหัวหน้าคณะและจะไปสื่อสารกับเขา”

นอกจากนี้ระบุว่าหลายประเทศเต็มใจช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่เพื่อจะยุติความขัดแย้งนี้เพื่อที่ไทยและเพื่อนบ้านจะได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนด้วยกัน

“ถัาสามจังหวัดมีปัญหา มันจะเป็นประตูไปสู่ตอนเหนือ แล้วถ้าประตูนี้ไม่ให้ผ่าน มันจะผ่านได้อย่างไร เศรษฐกิจมันก็ต้องผ่านช่องนี้ สมมุติจะเอาเงินมาลงทุนที่ปะนาเระสองร้อยล้าน ท่านกล้าไหม”

“แต่เราก็เชื่อในพลังสันติวิธี ทุกปัญหามีทางออก ทุกทางออกต้องมีความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน”

ในเรื่องของการลดการใช้กำลังให้น้อยที่สุดนั้น ตัวอย่างรูปธรรม พล.ต.ชินวัฒน์อธิบายเพิ่มเติมภายหลังว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่จะไม่ดำเนินการปิดล้อมตรวจค้นขนาดใหญ่ แต่จะมีการเข้าไปบังคับใช้กฎหมายเฉพาะคนที่มีหมายตามกฎหมายอาญาหรือคนที่ทำผิดซึ่งหน้า นโยบายคือจะมีการใช้กำลังให้พอเหมาะและให้ตรงเป้าหมายด้วยความแม่นยำถูกตัว ถูกคน และพยายามไม่วิสามัญฆาตกรรม ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีทางเลือกจริงๆและให้เป็นหนทางสุดท้าย และจะให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นอกจากนั้นในแง่ของการเข้าควบคุมตัว เจ้าหน้าที่จะให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นตัวอย่างของการลดความรุนแรง

พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ในเรื่องสันติวิธีที่ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินการอยู่ในเวลานี้ประกอบด้วยสองประการ ด้านหนึ่งคือจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ “เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเป็นคนดี มันถึงจะเป็นรัฐธรรมาภิบาลและคนเชื่อถือ” ประการที่สองคือยุทธศาสตร์ในเรื่องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยอธิบายว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้จัดเวทีรับฟังความเห็นพูดคุยกับชาวบ้านปรากฎว่ามีประชาชนมาร่วมจำนวนมาก การตอบรับเช่นนั้นมีนัยหมายถึงการไม่ยอมรับความรุนแรงด้วย ในวันที่ 4 พ.ย.นี้จะมีการจัดเวทีเช่นว่านี้อีกครั้งที่อำเภอบาเจาะ นราธิวาส

รองแม่ทัพภาค 4 พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช: ทหารเชื่อมั่นในพลังสันติวิธี

ชี้นโยบายปัจจุบันลดระดับความรุนแรงลงถึงขีดต่ำสุดเพื่อเปิดพื้นที่ให้พลังสันติวิธี ไม่มีปิดล้อมตรวจค้นขนาดใหญ่ การบุกจับกุมมีเป้าหมายชัดเจนเฉพาะผู้มีหมายจับ วิสามัญฆาตกรรมทางเลือกสุดท้าย แต่ยืนยันการจะลดความขัดแย้งในเรื่องประวัติศาสตร์ต้องไม่ใช่วาทกรรมการตกเป็นอาณานิคม

พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวเรื่องนี้ในระหว่างไปร่วมเสวนาเรื่อง “ชายแดนใต้กับพรมแดนความรู้ใหม่และอนาคตที่ท้าทาย” ที่โรงแรมซีเอสปัตตานีเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงภูมิหลังของปัญหาในพื้นที่ในอดีตที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และชี้ว่าไทยและเพื่อนบ้านต่างมีความหลากหลายซึ่งต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ในส่วนของไทยนั้นก็เหมือนที่อื่นคือต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตัวเองเพื่อรู้จักและวิพากษ์ตัวเอง “แต่อย่าเรียนรู้เพื่อเอามาเป็นปัจจุบัน นำไปสู่ความโกรธแค้นเกิดความแตกแยก แบ่งแยก ทำลายความเป็นพหุวัฒนธรรม ซึ่งผมมองว่านี่ยังเป็นปัญหาใหญ่ของสามจังหวัดชายแดนใต้”

รองแม่ทัพภาค 4 ชี้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับไทยในอดีตเป็นความสัมพันธ์ทางจารีต ปัญหาประวัติศาสตร์ในพื้นที่เป็นปัญหาด้านวาทกรรม วาทกรรมต่างกันนำไปสู่ความขัดแย้ง และเตือนว่า การที่คนเราศึกษาประวัติศาสตร์ก็เพื่อจะเรียนรู้และรู้จักตัวเอง เพื่อให้เข้าใจและวิพากษ์ตัวเอง สิ่งที่ควรจะต้องเกิดคือพิพิทธภัณฑ์ที่จะบอกคนในพื้นที่ว่าตัวเองมาได้อย่างไร และมาเป็นประเทศไทยได้อย่างไร แต่ไม่ใช่วาทกรรมการ imperialize (การเข้าครอบครองแบบจักรวรรดิ) ไม่ใช่แน่นอน

ในช่วงหนึ่งของการอภิปราย พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวเตือนด้วยว่า “มนุษย์เราหลีกไม่พ้นที่จะต้องแลกเปลี่ยนกับคนอื่นและแบบอื่น เราจะยอมรับตรงนี้ได้อย่างไร มันเป็นเรื่องของทักษะ เป็นเรื่องที่การศึกษาต้องให้ พื้นฐานอิสลามก็มีเรื่องนี้ ไม่มีประโยชน์ที่จะแยกไปสู่เชิงเดี่ยวและอยู่ตามลำพัง” นอกจากนั้นยังระบุว่าการที่จะให้พื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เป็นสะพานหรือประตูสู่อาเซียนนั้นยังต้องคำนึงถึงปัญหาในเรื่องความมั่นคงด้วย

รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า รัฐบาลนี้เชื่อในพลังของสันติวิธี พร้อมระบุว่า ตนเป็นหนึ่งในคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขที่จะพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง “เราจริงใจที่จะคุยกับผู้เห็นต่างทั้งหมดเพื่อจะยุติความขัดแย้ง เราเชื่อว่าสันติวิธีเป็นทางออกความขัดแย้ง ผมได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง ยืนยันได้ในเรื่องนี้ว่าต้องการใช้สันติวิธี ให้หยุดความรุนแรงแล้วมาคุยกัน ต้องการอะไรมาคุยกัน ไม่ว่าในมิติของอัตลักษณ์ มิติศาสนา การศึกษา นโยบายคืออะไรที่เป็นข้อเสนอที่เขาเสนอมา ทำแล้วประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน ให้ทำทันที ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้พยายามลดการใช้ความรุนแรงจนต่ำสุด แม่ทัพคนใหม่เองก็ยังยืนยันในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน และจะยังคุยกันต่อไป ผมในฐานะตัวแทนของพื้นที่พร้อมจะไปคุยกับเขาที่กัวลาลัมเปอร์ และพร้อมจะกลับมาเล่าให้ฟัง หากใครมีอะไรจะให้ไปพูดบอกได้ ผมจะคุยกับหัวหน้าคณะและจะไปสื่อสารกับเขา”

นอกจากนี้ระบุว่าหลายประเทศเต็มใจช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่เพื่อจะยุติความขัดแย้งนี้เพื่อที่ไทยและเพื่อนบ้านจะได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนด้วยกัน

“ถัาสามจังหวัดมีปัญหา มันจะเป็นประตูไปสู่ตอนเหนือ แล้วถ้าประตูนี้ไม่ให้ผ่าน มันจะผ่านได้อย่างไร เศรษฐกิจมันก็ต้องผ่านช่องนี้ สมมุติจะเอาเงินมาลงทุนที่ปะนาเระสองร้อยล้าน ท่านกล้าไหม”

“แต่เราก็เชื่อในพลังสันติวิธี ทุกปัญหามีทางออก ทุกทางออกต้องมีความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน”

ในเรื่องของการลดการใช้กำลังให้น้อยที่สุดนั้น ตัวอย่างรูปธรรม พล.ต.ชินวัฒน์อธิบายเพิ่มเติมภายหลังว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่จะไม่ดำเนินการปิดล้อมตรวจค้นขนาดใหญ่ แต่จะมีการเข้าไปบังคับใช้กฎหมายเฉพาะคนที่มีหมายตามกฎหมายอาญาหรือคนที่ทำผิดซึ่งหน้า นโยบายคือจะมีการใช้กำลังให้พอเหมาะและให้ตรงเป้าหมายด้วยความแม่นยำถูกตัว ถูกคน และพยายามไม่วิสามัญฆาตกรรม ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีทางเลือกจริงๆและให้เป็นหนทางสุดท้าย และจะให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นอกจากนั้นในแง่ของการเข้าควบคุมตัว เจ้าหน้าที่จะให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นตัวอย่างของการลดความรุนแรง

พล.ต.ชินวัฒน์กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ในเรื่องสันติวิธีที่ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินการอยู่ในเวลานี้ประกอบด้วยสองประการ ด้านหนึ่งคือจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ “เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเป็นคนดี มันถึงจะเป็นรัฐธรรมาภิบาลและคนเชื่อถือ” ประการที่สองคือยุทธศาสตร์ในเรื่องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยอธิบายว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้จัดเวทีรับฟังความเห็นพูดคุยกับชาวบ้านปรากฎว่ามีประชาชนมาร่วมจำนวนมาก การตอบรับเช่นนั้นมีนัยหมายถึงการไม่ยอมรับความรุนแรงด้วย ในวันที่ 4 พ.ย.นี้จะมีการจัดเวทีเช่นว่านี้อีกครั้งที่อำเภอบาเจาะ นราธิวาส