Skip to main content

          ตั้งใจจะำนำเสนอความคิดเห็นผ่านบทความเนื่องในงานวันสื่อสันติภาพของโลกใน ประเด็น "สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร" ตั้งแต่วันที่ ๓  พ.ค. ที่เป็นวันสำคัญดังกล่าวที่ผ่านมาแต่ด้วยความวุ่นวายของภารกิจพิชิตปริญญา เลยต้องผลัดออกไปก่อน วันนี้จึงอยากนำบทความอันเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้นเพื่อนำมาแลก เปลี่ยนเรียนรู้กัน
 

สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร[1]
                                          ฟูอ๊าด (สุรชัย)   ไวยวรรณจิตร[2]
          สันติภาพ สามารถเรียกได้ว่าเป็นสภาวะแห่งความสันติหรือไม่มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง กันเกิดขึ้นหากจะกล่าวว่า สันติภาพสามารถนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีความเคารพ ความยุติธรรม และ ความหวังดีต่อกัน หากเป็นเช่นนี้แล้วสันติภาพมิอาจหมายถึงเพียงแค่กลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งในการ ร่วมสร้างสรรค์การก่อเกิดสันติภาพ แต่มันคือภาพวาดแห่งความฝันที่ทุกคนต้องร่วมกันสรรค์สร้างกันขึ้นมา
                คำถามที่ว่า “สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร?” คงเป็นคำถามร่วมสมัยในการแสวงหาคำตอบร่วมกันที่คงมิใช่เพียงแต่ผู้ทำหน้าที่ ผลิตสื่อ แต่รวมถึง ผู้รับสื่อถือบริโภคการรับรู้บนพื้นฐานการปราศจากความอคติที่เป็นมูลฐานด้วย เช่นกัน เพราะถึงแม้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองเมื่อปลายปี ๒๔๙๑ บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ ๑๙ ว่า “ทุกคนมีสิทธิ ในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็น ไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” หากดูในบริบทปฏิญญาดังกล่าวในภาพรวมแล้วแม้ทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้บริโภคสื่อ จะมีสิทธิในความเป็นอิสระชน แต่บนพื้นฐานของความเป็นจริงแล้วความเป็นมนุษยชนก็ต้องคำนึงถึงการก้าวพ้นผล ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองและการสร้างความขัดแย้งต่อผู้อื่น เพราะจุดยืนของกระบวนการสร้างสันติภาพที่ควรก่อเกิดขึ้น คือ การหลีกพ้นความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดความรุนแรง
                ทิศทางของสื่อเสรีบนวิถีสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันตลอดจนความผันแปรที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร้ซึ่งการรับรู้ในทิศทางที่มิมีใครสามารถบอกได้ว่า สันติภาพจะเป็นเพียงตำนานหรือประวัติศาสตร์ที่คอยบอกกล่าวเล่าขานถึงเรื่อง ราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ เพราะทุกวินาทีของลมหายใจ ณ ปัจจุบัน คือ การอยากเห็นภาพฝันร่วมกันที่ว่า “สันติภาพเกิดขึ้นได้ด้วยมือ ของเรา(ทุกคน)”
ประการแรกคือ การปฏิรูปสื่อ อย่าลืม ว่าสิ่งที่มีอิทธิพลและเป็นตัวตนที่คนส่วนใหญ่มักได้รับรู้สู่การสร้างฐาน มโนความคิดในความเป็นเหตุเป็นผลของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็น สาเหตุของผลประโยชน์ในการเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นั่นคือ การนำเสนอสื่อของผู้ผลิตสื่อผ่านช่องทางต่างๆ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถลดละผละออกจากวังวนของการริเริ่มการสร้างความ แตกแยกทางความรู้สึกที่มิใช่เพียงแต่ความแตกแยกทางความคิด เพราะแท้ที่จริงแล้วการคิดต่าง คือ สิ่งที่ดีแต่ต้องยืนอยู่บนวิถีของความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ฉะนั้น การสร้างสันติภาพที่เป็นภาพสะท้อนความเป็นสื่อมวลชน คือการอยู่บนฐานความรักในสามสีร่วมกันที่ควรจะเป็น คือ สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ที่ว่า “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” มิใช่จัดแจงแถลงถ้อยคำผ่านช่องทางการรับรู้ต่างๆของสถานการณ์บ้านเมืองใน ฐานะสื่อเพียงแค่สีของความชอบ(ธรรม)ในการกล่าวอ้างความเป็นตัวตนแต่เพียง เท่านั้น
                ประการที่สองคือ การปฏิรูปผู้รับสื่อ ด้วยเหตุผลง่ายๆดังกล่าวที่ว่า “สันติภาพเกิดขึ้นได้ด้วยมือของเราทุกคน” ฉะนั้นแล้วผู้บริโภคสื่อต้องเปิดใจในพื้นที่มโนความคิดที่ต่างแตกไม่สร้าง ความแตกแยกในฐานความคิดของเหตุและผลที่มีอยู่รับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ด้วยความรักในการอยากเห็นสันติภาพมากกว่าด้วยเหตุและผลเพียงอย่างเดียวเพราะ ท้ายที่สุดแล้วความรักที่ปราศจาก “การแข่งขัน” มีแต่ “แบ่งปัน” แค่เพียงแต่เราขยายฐานความคิดลิขิตฐาน “ข” เป็น “บ” ก็สามารถสร้างสังคมสันติภาพได้อย่างง่ายดาย เพราะพื้นฐานมโนสำนึกเดิมที่ทุกคนมี คือ ความรัก
                ประการที่สาม คือ สื่อต้องอิสระพอที่จะทำตาม อุดมการณ์ หากการวิ่งอยู่บนลู่วิ่งของศักดิ์ศรีแห่งอุดมการณ์ คือ การสร้างงานที่มีคุณภาพ เป็นธรรม และสัตย์จริง การวิ่งอยู่บนลู่วิ่งนี้ต้องวิ่งด้วยใจที่ปราศจากการวิ่งตามใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการวิ่งเพื่อสังคมสันติภาพในลู่วิ่งที่วิ่งอยู่
                ประการที่สี่คือ การก้าวพ้น ผลประโยชน์ทางการเมือง คงปฏิเสธได้ยากหากจะกล่าวว่าความขัดแย้งของ สังคมในปัจจุบันสิ่งสำคัญ คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องเป็นสำคัญ ฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญประการสุดท้ายของคำถามที่ว่า “สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร” คือการที่ทุกฝ่ายที่ทำหน้าที่ต่างๆที่ข้องเกี่ยวกันภายในสังคมโดยเฉพาะความ เป็นอิสระชนบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนอันพึงมีต้องหลีกหนีให้พ้นผลประโยชน์ทาง การเมือง เพราะแท้ที่จริงแล้วอุบัติเหติของการสร้างสันติภาพที่เป็นอุปสรรคสาเหตุเกิด จากอุบัติเหตุทางการณ์เมืองเรื่องของตน(เอง) เท่านั้นเอง
-วัลลอฮฺอะลัม-
 

[1] บทความทั่วไปภายใต้การแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์    มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

  ข้อมูลอ้างอิง http://gotoknow.org/blog/fuad1011/356140