Skip to main content

เรียบเรียงโดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ)

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน

            พื้นที่ปลอดภัย"Safety Zone"  หมายถึงพื้นที่ที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้เรารู้สึกปลอดภัย มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ป้องกันจากอันตรายจากภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับผู้คน
             การอยู่ใน Safety Zone นั้นหากเกิดขึ้นจริง ผู้คนจะรู้สึกคลายกังวลต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ที่เขาอาศัย

 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 23 องค์กร อ่านแถลงการณ์เรื่อง “ข้อเสนอว่าด้วยพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง” เนื่องในโอกาส วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จังหวัดยะลา และมีการเสวนา หัวข้อ “เสียงของผู้หญิงในพื้นที่ ข้อห่วงใยและความหวังของผู้หญิงเพื่อความปลอดภัย” และได้ข้อสรุปหลังเสวนาว่า

“ให้พื้นที่สาธารณะ อันได้แก่ ถนน ตลาด โรงเรียน มัสยิด วัด สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวมีผู้หญิงเป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งในการเดินทางสัญจรไปมา เป็นแหล่งทำมาหากิน จับจ่ายใช้สอย จัดหาสิ่งของจำเป็นสำหรับคนในครอบครัว เป็นจุดนัดพบ พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่แสดงถึงอัตลักษณ์และให้คุณค่าต่อจิตวิญญาณของผู้หญิง รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุตรหลานด้วย” 

ดังนั้น คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ จึงขอเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยและผู้ใช้กำลังอาวุธทุกฝ่าย รวมทั้งคนในชุมชนสังคม ดังนี้

1. ผู้ใช้กำลังอาวุธทุกฝ่ายต้องยุติการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่สาธารณะดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้หญิงได้รับผลกระทบที่นำไปสู่การเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ และขาดพื้นที่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อผู้หญิงและทุกคนในครอบครัว

2. ขอให้ผู้ใช้กำลังอาวุธทุกฝ่ายหาทางออกโดยวิธีการทางการเมือง หลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธ ที่ทำให้ผู้หญิงและกลุ่มเป้าหมายเปราะบางได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันก็ต้องหาทางลดและไม่สร้างเงื่อนไขยั่วยุให้อีกฝ่ายใช้เป็นข้ออ้างก่อเหตุในพื้นที่สาธารณะ และ

3. ขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วน เข้าร่วมกิจกรรมประชาหารือสานเสวนา เพื่อหาทางออกในวิถีทางสันติ พร้อมลงมือดำเนินการตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและทุกคนในชายแดนใต้ ร่วมกันโดยมีการลงนามโดย 23 องค์กรสมาชิก คณะทำงานผู้หญิงชายแดนใต้ (โปรดดู http://www.deepsouthwatch.org/dsj/7810)

 หลังจากนั้นผู้เขียนได้ร่วมเสวนาวงปิดจากทุกภาคส่วน รัฐ นักวิชากร องค์กรเอกชน ผู้เห็นต่างจากรัฐและตัวแทนคนนอกพื้นที่ปตานี/ชายแดนใต้ประมาณ 40 คน  รวมทั้ง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558  ณ ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส ศูนย์ประสานเครือข่ายองค์กรประชาสังคมนราธิวาส ร่วมกับศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (PRC) และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา “ พื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ในมุมมองของประชาชน ” โดยมีองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเข้าร่วมกว่า 43 องค์กรประมาณ 50 คน

ผลการสัมมนาทั้งสองเวทีพบว่า พื้นที่ปลอดภัย"Safety Zone" มีความสำคัญมากในการสร้างให้สู่ภาคปฏิบัติ อันประกอบด้วยหลักการทางศาสนาอิสลาม  จริยธรรมสากล กฎหมายระหว่างประเทศ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ภายใต้ตัวแสดง จากคู่ขัดแย้ง ระหว่างรัฐกับขบวนการ  องค์กรพัฒนาเอกชนที่คอยประสานส่งเสียงให้คู่ขัดแย้งทั้งสอง และประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่บนพื้นฐานวิชาการ ในขณะเดียวกันควรออกแบบจำลองหลากหลายรูปแบบเช่น ใช้พื้นที่ ความรุนแรงน้อยกับพื้นที่รุนแรงมาก 2 พื้นที่ในระยะเวลาประมาณสองเดือนเพื่อประเมิณสถาณการณ์  หรือใช้พื้นที่ทั้งหมดแต่เรียกร้องจุดร่วมง่ายๆ ในการไม่ทำร้ายเด็ก  สตรี ผู้นำศาสนา โรงเรียน  ศาสนสถาน  เบื้องต้นประกาศต่อหน้าสาธารณชนผ่านสื่อในพื้นที่ส่วนกลางในประเทศไทยและต่างประเทศ  หรือพิจารณาว่าบุคคลคือใครที่จะได้รับการคุ้มครอง   เวลาใด   และสถานที่ใดแต่อุปสรรคสำคัญที่สุด การระมัดระวังเรื่องตัวป่วน spoiler จากทุกฝ่ายโดยเฉพาะจากสถิติการเจรจาจากทั่วโลก spoiler จากฝ่ายรัฐเพราะจะกระทบต่องบประมาณอัมากมายที่ลงมาในพื้นที่ความขัดแย้ง

 จากเหตุผลดังกล่าวมันจะมีปัจจัยทำให้พื้นที่ปลอดภัยประสบความสำเร็จได้หรือไม่จะขี้นอยู่ปัจจัยดังนี้

1.      ความเป็นเอกภาพ ทั้งตัวของรัฐ ขบวนการ ประชาสังคมและประชาชน

2.     การนำร่วมอย่างสัมฤทธิผลโดยเฉพาะผู้นำรัฐและขบวนการ

3.     เขตแดนชัดเจน

4.     การสนับสนุนการไม่ใช้ความรุนแรงจากประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ รวมทั้งนอกพื้นที่

5.     ไม่มีการข่มขู่จากฝ่ายต่างๆ

6.     การไม่ฝักฝ่ายฝ่ายใดของประชาชนนอกจากความถูกต้องและเป็นธรรม

7.     ความรอบคอบในการวางแผนการดำเนินงาน

8.     คณะทำงานที่เป็นกลางในการตรวจสอบ  ประเมิณและให้ข้อเสนอแนะ

9.     ที่สำคัญที่สุดการมีส่วนร่วมของประชาสังคมกับประชาชนในพื้นที่รวมทั้งการออกแบบร่วมกันเพราะแต่ละพื้นที่อาจมีปัจจัย  ความต้องการต่างกัน

กล่าวโดยสรุปการขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดภัย"Safety Zone" เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสันติภาพปตานี/ชายแดนใต้ จะสำเร็จหรือไม่นั้นต้องยู่ภายใต้หลักการ   กระบวนการ วิธีการ  พื้นที่  ประกาศใช้ บุคคล  เวลาและเป้าหมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

http://www.deepsouthwatch.org/dsj/

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=&set=a.&type=&theater

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1203795292983589&set=pcb.1203795586316893&type=3&theater

 

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1203885182974600&set=pcb.1203885229641262&type=3&theater

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=&set=pcb.&type=&theater

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208247083635183&set=a.3589519657067.169151.1245604111&type=3&theater