Skip to main content

สิ่งที่พลาด ... (หวัง)

 

ได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม กับทีมพูดคุยสันติสุขของไทย แรกเริ่มเลยก็คิดว่า ก็ดีเหมือนกันที่จะได้พบ และเราคงจะได้รู้ความคืบหน้าของการพูดคุยว่าดำเนินกันไปถึงไหน ต่างฝ่ายต่างรับขอเสนอแนะของกันและกันหรือไม่ หรือพื้นที่ปลอดภัยที่ต่างฝ่ายต่างเสนอแนะกันไปถึงไหน

แต่ในอีกทางหนึ่งก็คิดว่า "คงไม่ได้อะไร" เนื่องด้วยเพราะเวลาในการได้พบปะ น้อยมาก คิดว่าในเวลา ๑ ชั่วโมง คงไม่ได้อะไรแน่ๆ แต่ก็ลองไปดู เผื่อว่าจะได้อะไรอย่างที่คิด หรืออาจจะไม่ได้อะไรอย่างที่หวัง

เริ่มแรกของการเข้าห้องประชุม ก็จะเป็นสิ่งที่หัวหน้าคณะพูดคุยของไทย อรรถาธิบายเรื่องราวอะไรต่อมิอะไร เลยไปจนถึงเอาหนังสือพิมพ์มาอ่าน ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จำเป็นจะต้องพูด หรืออธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนการเริ่มประชุม

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

รศ.ดร.วิชัย  กาญจนสุวรรณ

ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา ม.อ.หาดใหญ่

หากเมื่อถึงเวลาการเริ่มประชุมตามกฎกติกา คือ ฝ่ายผู้นำศาสนา ๒ คน เป็นบาบอ ๑ คน พระภิกษุสงฆ์ ๑ รูป (ดูเหมือนเป็นประเด็นเดิมๆ ที่เอามาพูด แต่ก็ถือว่าพูดได้ดีทีเดียวครับ ไม่ว่าประเด็นของ ขอให้ CSOs มีส่วนร่วมในการพูดคุย ซึ่งจริงๆ แล้วประเด็นนี้ มีการนำเสนอทั้งในวงประชุม และวง IPP หรือแม้แต่แถลงการณ์ของเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ หรือ B4P ก็เคยมีมาแล้ว)

ฝ่ายวิชาการ ๒ คน นำโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี  ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และรศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา ม.อ.หาดใหญ่  

นายมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน

บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ฝ่าย CSOs เอาเปรียบหน่อย ส่งไมค์ให้พูดกัน เลยได้มา ๓ คน นำโดยนายมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้  นายรักชาติ  สุวรรณ์ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ และรองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และนางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ

วงประชุมเริ่มครื้นเครงเอาก็ต่อเมื่อ CSOs ลุกขึ้นพูด โดยการนำของ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้ลุกขึ้นพูดในเรื่องของ สิ่งที่เราคาดหวังจากที่หัวหน้าการพูดคุยฝ่ายไทย จะมาบอกเล่าถึงความก้าวหน้าให้ฟัง แต่ก็ยังไม่ได้ฟัง หรือแม้แต่การสัพยอกจาก นายมูฮัมหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ในเรื่องของ CSOs ไม่มีโต๊ะนั่ง มีเสียงกระซิบว่า (ไม่ใช้ไม่มีโต๊ะนั่งอย่างเดียวครับ น้ำก็ไม่ยอมให้กินด้วย) ก็สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มได้มากทีเดียว

 

นายรักชาติ  สุวรรณ์

เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ (B4P)

รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

 

ตามมาด้วยการส่งไมค์ให้กับนายรักชาติ  สุวรรณ์  ลุกขึ้นพูดในฐานะของ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ และรองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ในประเด็นของการมองเห็นอย่างชัดเจนของการพูดคุยที่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดกับเป้าหมายอ่อน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเหตุความรุนแรง ไปเกิดกับเป้าแข็ง หรือเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนเช่นกัน แต่ประเด็นสำคัญ คือ กลับมีการขอเยี่ยมผู้ต้องสงสัยจากนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น มันทำให้บรรยากาศของการสร้างสันติสุข เปลี่ยนไปหรือไม่ ?

หรือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ ที่ส่งกันเป็นว่าเล่น และเสพติดกันอย่างง่ายดาย เป็นการสร้างความขัดแย้งของคนในพื้นที่ และขยายไปสู่ภายนอกได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของการเหยียบเศียรพระ ซึ่งเป็นรูปเก่านานมาแล้ว แต่มีการนำมาเขียนใหม่ เพื่อสร้างความขัดแย้ง หรือแม้แต่ประเด็นทางการเมือง เมื่อมีข่าวว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ จะลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสร้างความโกลาหลในหมู่คนไทยพุทธบางกลุ่มเป็นอย่างมาก ถึงขนาดพูดกันเลยว่า ต้องทำให้พรรคนี้สูญหายไปจากภาคใต้ให้ได้ และแกนนำที่ส่งสื่อเหล่านี้ไม่ใช้ใครที่ไหน ก็ผู้นำศาสนาของคนไทยพุทธนั้นเอง

อีกประเด็นที่ได้พูดในเวทีแห่งนี้คือในประเด็นที่สร้างความตกใจให้กับชาวพุทธเป็นอย่างยิ่งคือ ประเด็นของ เยาวชนไทยพุทธโดนคดีความมั่นคง ซึ่งคนไทยพุทธหลายๆ คนไม่ได้ให้ความสนใจ ผมเองก็เดินไม่ถูกเช่นกันด้วยความที่เราไม่เคยนึกมาก่อนว่า จะมีเหตุการณ์แบบนี้

ส่วนประเด็นที่นำเสนอคือ การพูดคุยไม่ควรจะมีการพูดคุยแต่ระดับบน หรือคุยกันระหว่างรัฐไทย กับมารา ปาตานี แต่ควรมีการพูดคุยกันในระดับล่างด้วย อาจจะเป็นการพูดคุยของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ กับผู้ก่อเหตุในพื้นที่ คิดว่า คงรู้กันอยู่แล้วว่า มีใครบ้าง คุมพื้นที่ไหน เป็นต้น

หรือแม้แต่กรณีของทีมพูดคุยของรัฐบาลไทย อาจจะมีการเสนอหรือตกลงให้มีพื้นที่ปลอดภัยในบางพื้นที่ และมารา เองก็อาจจะเสนอพื้นที่บางพื้นที่เช่นกัน ผมเองก็ได้นำเสนอในประเด็นนี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวประชาชน ควรเป็นผู้กำหนดหรือไม่่ หากรัฐไทย หรือมารา เป็นผู้กำหนด มันมีนัยสำคัญอะไรในการออกมากำหนดพื้นที่ หรือเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยควบคุมได้ และอาจจะเป็นพื้นที่ที่มารา ปาตานี ควบคุมได้ หากแต่เหตุผลทั้ง ๒ อย่าง ก็ถือว่ายอมรับได้ แต่หากจะให้ ประชาชนมีสิทธิกำหนดพื้นที่ตัวเอง ร่วมดูแลพื้นที่ที่ตัวเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย มันจะดีกว่าหรือไม่

พื้นที่ปลอดภัย มิใช้เป็นเพียงพื้นที่ที่จะไม่มีเหตุการณ์ มิใช้หมายรวมถึงพื้นที่ที่ไม่มีเสียงปืน และเสียงระเบิด แต่มันร่วมถึงพื้นที่ที่ต่างผู้คนต่างร่วมอยู่ร่วมอาศัยร่วมกิจกรรมทางสังคม หรือทางศาสนาได้อย่างมีความสุข หรือไม่

สิ่งเหล่านี้ที่อยากจะได้ฟังจากปากของท่านหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายไทย แทบไม่ได้ยิน ...

นางสาวอัญชนา  หีมมิหน๊ะ  กลุ่มด้วยใจ

ได้พูดในประเด็นของสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของการตรวจ DNA ซึ่งมีการตรวจ DNA เด็ก  และได้พูดรวมถึงกรณีตรวจ DNA จากเด็กเยาวขนไทยพุทธ ซึ่งโดนจับกุมในคดีความมั่นคงด้วย  สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ถึงการเตรียมตัวเป็นอย่างดี คือ การได้ยื่นหนังสือให้กับหัวหน้าคณะพูดคุยของรัฐบาลไทย  

หากแต่เมื่อ Party A กับ Party C นั่งกันคนละฝั่ง

หรือหากว่า Party A กับ Party C นั่งกันคนละแบบ

มันก็ยังคงต่างคนต่างเดิน แนวความคิดสวนทาง มันก็ยังหาจุดที่จะพบกันไม่ได้