Skip to main content

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) 

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผูทรงเมตตา ปราณีเสมอ ขอความสันติ แด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

 

 

https://www.facebook.com/islamization.education/photos/a.975509992494491...

 

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เราจะต้องเผชิญคือการปรับการเรียนรู้ ท่ามกลางวิกฤตทางด้านจิตสำนึกและวิถีอิสลามหรือศาสนธรรมในทัศนะศาสนาอื่นหรือคุณค่าด้านจิตวิญญาณ ความท้าทายสองเรื่องนี้เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับวิศวกรที่จะผลิตบ่าวผู้ศรัทธาและเท่าทัน ในศตวรรษที่ 21เละวิสัยทัศน์เราคือการนำอุมมะฮฺหรือทุกคนทั้งผู้บริหาร ครู  นักเรียนและชุมชนเข้าสู่ทรวงสวรรค์ ด้วยแนวคิดโรงเรียนของเรา สวรรคของเรา

จากการสัมมนาหลายเวทีพบว่า การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

        เยาวชนต่อไปจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21  ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงต้องพัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้วย 3R  และ 7Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

 

3R ได้แก่ 1.Reading (อ่านออก), 2.(W)Riting (เขียนได้) และ 3.(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่

1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา

 2.Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

3. Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)  4.Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

5.Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

6.Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) 7.Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ จะต้องดำเนินควบคู่หรือการเรียนรู้ 3R x 7C
ครูที่เรียกว่ามุร็อบบีต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง

 

กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

 

กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21

ภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/)

 

กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นมุร็อบบีที่คอยชี้แนะและเป็นโค้ช (Coach) อีกทั้งอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

ปัญหาที่เรากำลังเผชิญคือการปรับการเรียนรู้ ท่ามกลางวิกฤตทางด้านจิตสำนึกและวิถีอิสลามทำอย่างไร3R x 7C ที่สามารถบูรณาการกับหลักการศาสนา  ภายใต้ขอบเขตศาสนา ผู้รู้จักคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ เท่าทันFacebook  , Line สื่อต่างๆที่ไม่นำไปสู่การคบกันฉันชู้สาว แต่สนองเจตนารมณ์อิสลาม ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรมที่ไม่สนองยาเสพติดแต่คิดค้นวตกรรมแก้ปัญหายาเสพติดเพื่อประชาขาติดังที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งศาสนฑูตเพื่อความเมตตาต่อสรรพสิ่ง ทักษะอาชีพที่สุจริตตามศาสนบัญญัติ และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีพดังที่ท่านศาสนฑูตเรียกร้องให้เราเรียนตั้งอยู่ในเปลถึงหลุมฝังศพ สามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณไม่ใช่เฉพาะหนังสือแต่อ่านวิถีชีวิต เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันเพื่อเป็นประชาชาติตัวอย่างที่เรียกร้องสู่ความดีและละเว้นความชั่วผ่านการทำงานเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ

 

นี่แหละของขวัญวันครู 16 มกราคม 2559

 

หมายเหตุเนื้อหาส่วนใหญ่ปรับจาก

1.     จากหนังสือ วิธีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: วิจารณ์ พานิช

2.     ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญและวรางคณา ทองนพคุณ.ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต