Skip to main content

 

การบริหารจัดการตัวตนของมนุษย์งาน ของประชาชาติ (ที่ดี) ที่ควรตระหนัก[1]
 
ฟูอ๊าด (สุรชัย)  ไวยวรรณจิตร[2]
 
“แท้ จริงอัลลอฮ์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขา และเมื่ออัลลอฮ์ทรงปรารถนาความ ทุกข์แก่ชนกลุ่มใดแล้ว ก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์”   (อัรเราะอฺดุ อายะฮฺที่ ๑๑)
 
ผู้เขียนเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ด้วยอายะ ฮฺกุรอ่านที่ต้องสร้างความตระหนักควรค่าแก่การปฏิบัติอย่างยิ่งสำหรับประชา ชาติในทุกยุคทุกสมัย การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยมองข้าม ผ่าผ่านกาลเวลาอย่างไร้ซึ่งการมองผ่านในประสบการณ์ของบททดสอบครั้งแล้วครั้ง เล่าที่ผ่านมา ที่ผ่านมาองค์กรเกิดความล้มเหลวอย่างไร้ทิศทางอันเนื่องจากสิ่งหนึ่งที่เรา มักหลงลืมไป คือ ภารกิจการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นแนวทางภายใต้กรอบคิดของอัลอิสลาม
 
ในบรรดาปัจจัยทางการบริหาร ๔ ประการ ได้แก่ มนุษย์ เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ มนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่ง เพราะมนุษย์มีสติปัญญาที่สามารถใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ เงิน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการจัดการในการทำงานให้ได้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งปัจจัยทางการบริหารอื่น  ๆ ไม่สามารถทำได้  ดังนั้น การบริหารคนจำนวนมากที่มีความหลากหลายด้านวิชาชีพ ด้านทักษะและความสามารถ ให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีความสำคัญอย่างมาก  เราจึงควรเรียนรู้ความหมายและความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมต่อไป
 
ความสำคัญของการบริหารจัดการ[3] 
 
ยุคของท่านนะบี    ได้กำหนดตัวบุคคลที่จะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆได้อย่างลงตัว   ตลอดจนเน้นเลือกเฟ้นคนดีและมีความสามารถเข้ามารับผิดชอบงานได้อย่างเหมาะสม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเผยแพร่  สังคม  เศรษฐกิจ  การทหาร  การปกครอง  และการศึกษา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการอพยพมาสู่นครมาดีนะฮ์ท่านได้นำกฎหมายอิสลามมาใช้  วิธีการดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และเป็นจุดเริ่มต้นของ รูปแบบการปกครองแบบอิสลาม  จนถูกเรียกว่า  กิยาม อัดเดาละฮฺ  (การสถาปณารัฐอิสลาม) อันเป็นผลมาจากการบริหารจัดการของท่าน เช่นเดียวกับความเจริญรุ่งเรืองและ การขยายตัวในงานด้านต่างๆยุค ๔ เคาะลีฟะฮฺ  ราชวงศ์อุมมัยยะฮฺ  และราชวงศ์อับบาซียะฮฺล้วนได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการบริหารและจัดการของ ท่านนะบี      ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและโลกอิสลามให้ไปในทิศทางที่ถูก ต้อง  ก้าวหน้า  และยืนยงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน  
 
การโอนถ่าย อำนาจ และหน้าที่ 
 
          เมื่อการบริหารการจัดการงานของอุมมะฮ์(ประชาชาติ)อย่างมีรูปแบบและแบบแผนใน นครมะดีนะฮ์   ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงตามมาในสังคมมุสลิม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเผยแพร่ศาสนา  การศึกษา  การจัดระเบียบสังคม   การส่งเสริมให้รู้จักทำมาหากินสร้างรายได้  การสร้างฐานทางเศรษฐกิจ  และการปกครอง  ตลอดจนการใช้กฎหมายอิสลาม   ดังนั้นภารกิจและความรับผิดชอบต่างๆ  ดังที่กล่าวมาจึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเทจากรุ่นสู่รุ่น  ท่านนะบี     เคยกล่าวว่า  
 
               “ทุกครั้งที่นะบีท่านหนึ่งได้จบชีวิตไป จะมีนะบีอีกท่านตามมา และแท้จริง หลังจากข้าพเจ้าจะไม่มีนะบีอีก แต่จะมีเพียงบรรดาตัวแทนเท่านั้น”   (รายงานสอดคล้องทั้งอัลบุคอรีย์และมุสลิม) 
นอกจากนั้นท่านยังได้กล่าวว่า
 
              “ผู้ใดภักดีต่อข้าพเจ้า แท้จริงเขาได้ภักดีต่ออัลลอฮ์แล้ว และผู้ใดทรยศต่อ ข้าพเจ้า แท้จริงเขาได้ทรยศต่ออัลลอฮ์แล้ว ผู้ใดภักดีต่อผู้นำ แท้จริงเขา ได้ภักดีต่อข้าพเจ้า ผู้ใดทรยศต่อผู้นำ แท้จริงเขาทรยศต่อข้าพเจ้า” (บัน ทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)
 
การกระจายอำนาจ และหน้าที่ 
 
การดำเนินงาน  การบริหารและการจัดการงานอุมมะฮ์(ประชาชาติ) นั้นจะไม่อาจลุล่วงไปได้ด้วยดี หากปล่อยให้ผู้นำรับผิดชอบหรือผูกขาดอำนาจเพียงลำพัง  โดยปราศจากการกระจายหน้าที่  แบ่งเบาภาระ  และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถอย่างแท้จริง  เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีใครสามารถกระทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง  หรือเชี่ยวชาญในทุกๆเรื่องโดยไม่พึงพาใคร  การกระจายอำนาจบริหารและหน้าที่ต่างๆเหล่านี้  สามารถพบได้จากช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ในนครมะดีนะฮ์ ทั้งในรูปแบบมอบหมายให้รับผิดชอบงานเป็นรายบุคคลและกลุ่มคณะ  นอกจากนั้นท่านนะบี    ยังกำชับว่า 
 
               “ทุกคนย่อมมีหน้าที่  และทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่  ผู้นำก็มีหน้าที่และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  ชายคนหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัว  และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  สตรีคนหนึ่งก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของสามี  และนางต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนาง  คนรับใช้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินของเจ้านาย  และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  ทุกคนต้องมีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา”  (รายงานสอดคล้องทั้งอัลบุคอรีย์และมุสลิม)
 
บทสรุป 
 
                พลัน เขียนบทความชิ้นนี้เสร็จสิ้นผู้เขียนนึกถึงคำสองคำ คือคำว่า “โลก ทรรศน์” กับคำว่า “วิสัยทัศน์” ด้วยเหตุผลของสภาวการณ์ในปัจจุบันเมื่อย้อนกลับมาทบทวนในสภาวการณ์ของสังคม ในปัจจุบันถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบริบทแง่มุมต่างๆสิ่งหนึ่งที่ ไม่อาจปฏิเสธได้คือ ทรัพยากรที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะยืนหยัดอยู่ในตำแหน่งใดหน้าที่ในบริบทใดทำความ เข้าใจของคำสองคำไม่แตกฉานถึงการงานที่ควรจะเป็นแม้เราจะมีพันธกิจที่เขียน ไว้ประจักษ์ชัดแจ้งในถ้อยแถลง แต่หากทรัพยากรของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ที่เรียกว่ามนุษย์ไม่สามารถแยกแยะระหว่างหน้าที่กับความรับผิดชอบ กรอบของความคิดในการสร้าง “วิสัยทัศน์” สู่การมอง “โลกทรรศน์” ในการเดินทางต่อไปของพันธกิจก็คงจะมืดอับดับแสงไปอีกนานตราบเท่าที่คนคน หนึ่งจะรู้จักกับคำว่า หน้าที่ “การบริหารจัดการมนุษย์ของอุมมะฮฺ (ประชาชาติ) ที่ดี”
 
 -วัลลอฮฺอะลัม-
 
 
 

[1] บทความเรียบเรียงเสนอมุมคิดของการบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายใต้ความคิด เห็นของผู้เขียน
 
[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
 
[3]   นิ พล  แสงศรี.๒๕๕๓. การบริหาร จัดการงานของอุมมะฮ์(ประชาชาติ) (ออนไลน์).  สืบ ค้นจากhttp://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=4&id=2182 .  [เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓]
 

 ข้อมูลอ้างอิง http://gotoknow.org/blog/fuad1011/359830