“ลอดช่อง” ร่องรอยความคิด : บทเรียนจากสิงคโปร์[1]
“เพราะความมุ่งมั่นในการค้นหาคำตอบภายใต้กรอบคิดของการทำงาน Action Research การเดินทางจึงมีความหมายมากกว่าแค่ได้เห็นสิ่งที่เป็นไป”
ขณะที่ผู้เขียนทั้งสองได้นั่งอ่านงาน พลวัต “อิสลามการเมือง” ในอินโดนีเซียหลังยุคซูฮาร์โต ซึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยคุณฟารีดา ปันจอร์ สิ่งที่ทำให้เกิดประเด็นชวนถกก็เกิดขึ้นอีกครั้งถึงความเป็นไปในประเทศอินโดนีเซียกับพลวัตที่เกิดขึ้นของการดำรงอยู่ที่ดูเสมือนจะเป็นความหลากหลาย (แนะนำลองหาอ่านบทความที่น่าสนใจชิ้นนี้ดูครับ) แง่คิดที่ได้จากบทความเรื่องดังกล่าวถึงกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซีย ชวนทำให้ผู้เขียนย้อนมองหวนคิดไปยังประเทศสิงคโปร์ บนพื้นฐานโจทย์ตั้งต้นของความหลากหลายที่น่าค้นหาเพราะดูเสมือนถูกแอบซ่อนในการบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างไม่ควรมองข้ามถึงความสำเร็จของสิงคโปร์ ณ วันนี้ แม้ในบทความชิ้นนี้จะเป็นเพียงมุมคิดเล็กๆที่ชวนค้นหาก็ตามที
เมื่อการเดินทางเริ่มขึ้น...ตลอดระยะเวลาของการเดินทางร่วมค้นหาคำตอบในโจทย์วิจัยมากมายภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด สิ่งที่ดูจะเป็นเสมือนความขัดของงานวิจัยกับการเดินทางไปยังประเทศที่มีสมญานามว่า “เมืองลอดช่อง” คือการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะตอโจทย์อย่างลุ่มลึก การพยายามทวนทบเป้าหมายในงานวิจัย อย่างไตร่ตรองทำให้การวางกรอบและทบทวนการเก็บข้อมูลที่พยายามอุดช่องว่างต่างๆระหว่างทางของประสบการณ์ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยในต่างแดนที่ผ่านมาจึงดูเหมือนเป็นระบบที่จะให้ความหวังแก่คณะทำงานวิจัยมากขึ้นในการเดินทางค้นหาคำตอบ
“สิงคโปร์” ชื่อนี้ในอาเซียนหากเพียงนั่งเทียนเขียนอ่านวันวานที่ผ่านมาคำตอบที่ออกมาถึงเนื้อหาข้างในก็คงเป็นเนื้อหาที่ไม่ว่าใครจะสวมแว่นด้วยเลนส์สีใดก็คงได้คำตอบเช่นเดิม เพราะนั่นคือหัสเดิมเริ่มแรกของทุกมุมมองแต่ละคนกับเมืองที่มีความเจริญก้าวพร้อมห้อมร้อมทุกเทคโนโลยี ตามวิถีที่เคยได้รับและเรียนรู้มาถึงข้อมูล ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศนี้ คำตอบแห่งมุมมองของผู้คนด้านนี้ก็คงเป็นเฉกเช่นความคิดแรกเริ่มเดิมทีที่คำว่า Not Perfect คงมิอาจย่างกรายลอดผ่านช่องทางใดๆมายังพื้นที่แห่งนี้ได้ อะไร และทำไมจึงทำให้ผู้คนจึงมีความคิดเช่นนั้น หรือร่องรอยความคิดของผู้คนที่เคยผ่านพข้อมูล ณ ประเทศแห่งนี้ไม่มีคำตอบอื่นใดให้ลอดผ่านไม่ว่าจะใช้วิธีวิทยาวิจัยแบบใดในการค้นหาคำตอบ กรอบการขับเคลื่อนต้องเป็นทางการเท่านั้นใช่หรือไม่ในการย่างเท้าเข้าสุ่การค้อนหาคำตอบ ณ ประเทศแห่งนี้
รุ่งเช้าของอีกวันเมื่อภารกิจเริ่มต้นขึ้น ความเป็นตัวตนของคณะนักวิจัยที่พกพาความมั่นใจกันมาครบชุดในการเดินทางครั้งนี้ก็แสดงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคลผ่านความคิดและการกระทำมากมายอย่างปราศจากอคติ การริเริ่มในการค้นหาคำตอบตามวิถีคำว่า “Action Research” จึงเริ่มขึ้น
สิ่งที่เป็นข้อค้นพบแรกที่น่าสนใจและถือเป็นฐานคิดที่น่าสนใจของการยืนยันคำตอบในคำว่า “Perfect” ของเมืองลอดช่องแห่งนี้คือ “ไม่มีคำว่าคนจีน อินเดีย หรือมลายู” แต่ทุกคนที่นี่คือ “คนสิงคโปร์” การใช้ฐานคิดในการพัฒนาประเทศจากสรรพกำลังของผู้คนสามฐานจากคนจีน อินเดียและมลายู อย่างกลมกลืนเพื่อความกลมกล่องในการสร้างคนจึงทำให้ประเทศสิงคโปร์แห่งนี้ก้าวพ้นขีดจำกัดของความหลากหลายที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการได้อย่างมีเสน่ห์
แม้จะมองลองหยิบยกคนสิงคโปร์ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดแต่ในฐานะที่เขาเป็นมุสลิม ก็จะพบว่า Darul Arqam Singapore ถือเป็นสถาบันองค์กรที่ยิ่งตอกย้ำความยิ่งใหญ่ได้อย่างกระจ่างชัดแจ้งในการบริหารจัดการ เมื่อมี Case ของความตั้งใจในการเข้ารับอิสลามในการตามหาตัวตนของการถูกสร้างขึ้นมาบนโลกใบนี้กับเมืองที่ใครๆมักมองว่ามีผู้คนอีกมากมายที่ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจใดๆทางสัจธรรมกับการเข้ารับนัถือศาสนาอิสลามถึงปีละ ๗๐๐ คนได้อย่างสมคุณค่าของการทำงานเชื้อเชิญผู้คนสู่หนทางสัจธรรมที่เที่ยงตรง
ดูเสมือนแง่คิดที่อยากทิ้งไว้ในบทความชิ้นนี้ของผู้เขียนจะจบลงตรงย่อหน้าก่อนหน้านี้เป็นสำคัญ เพราะอย่างที่ได้เกริ่นนำตอนต้นถึงข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและความเป็นทางการที่จะได้มาซึ่งคำตอบใดๆก็ตาม ณ ที่แห่งนี้ แต่ด้วยเครือข่ายฮาลาเกาะฮ์ (ฮัลเกาะฮ์) ที่ทรงพลังผลักดันให้การเดินต่อขอข้อมูลดูมีน้ำหนักมากขึ้น การเดินทางไปยัง Kolej Islam Muhammadiyah จึงเกิดขึ้นโดยฉับพลันหรือนี่เป็นวิธีวิทยาอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Snow Ball ทุกฉากตอนล้วนเป็นการกำหนดจากพระเจ้าอย่างน่าขบคิด การลิขิตขีดเขียนทางความคิดจึงเริ่มต้นอีกระลอกเพื่อบอกความอีกครั้ง ผ่านการบอกเล่ายืนยันเรื่องราวการทำงานร่วมกันต่อไปในภายภาคหน้า หรือ ที่เรียกว่า การทำงานเชิงเครือข่ายทางวิชาการไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆที่จะสามารถเกิดขึ้นก็ตามแต่ หรือนี่จะเป็นคำตอบสุดท้ายอีกครั้งที่ลอดผ่านช่องร่องรอยความคิดเพื่อพิชิตคำตอบโจทย์วิจัยที่ได้ตามหามา
หาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะคณะนักวิจัยยังต้องเดินทางต่อไปยังขุมพลังทางปัญญาสำคัญของประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นขุมพลังที่สำคัญทางสรรพวิทยาของอาเซียนก็ว่าได้ นั่นคือ “NUS” หรือมหาวิทยาลัยนานาชาติสิงคโปร์ ซึ่ง ณ วินาทีนี้หากยังมีผู้คนในแวดวงวิชาการใดไม่รู้จักคงจะถูกทายทักด้วยคำว่า “ไปอยุ่ที่ไหนมาบนโลกใบนี้” ณ ที่แห่งนี้คณะนักวิจัยได้รับคำตอบมากมายถึงโจทย์คำถามที่ครุ่นคิดสงสัยและพยายามคิดว่าจะเดินทางไปให้ถึง ณ ที่หมายเพื่อสุดท้ายคำตอบอาจจะพรั่งพรูสู่ความประจักษ์และชัดแจ้ง และแล้วผู้ประสานงานที่เป็นระดับผู้เชี่ยวชาญในสายการศึกษาของการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะที่คณะนักวิจัยกำลังศึกษาไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะไม่มีเลยที่จะเพิกเฉยพรั่งพรูข้อมูลออกมาให้ต้องทบทวนคำถามที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบของการค้นหา
... หรือทั้งหมด คือ การทำงานของ Asean Is Net ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “Bismillah” พร้อมกัน ณ ที่แห่งนั้น ณ วินาทีนั้น ณ Coffee@Peace In Pat(t)ani ที่ได้ลอดผ่านร่องรอยความคิดเพื่อมารวมตัวกันอย่างตกผลึกแม้จะทำให้รู้สึกว่ามีโจทย์ให้คิดทบทวนชวนถามต่อไปกับการก้าวเดินต่อไปของการสับเปลี่ยนประเทศ แต่นั้นมันก็คือความท้าทายทั้งหมดที่เราจะพบเจออย่างไม่พลั้งเผลอให้หลุดกรอบออกนอกเส้นทางที่เราพยายามให้ให้สุดถึงคำว่า “คุณภาพของงานวิจัย”
“เมื่อทั้งหมดที่ผู้เขียนได้อ่านในปัจจุบันของบทความคุณฟารีดา ปันจอร์ เมื่อการย้อนคิดถึงบทเรียนเมื่อสองปีที่แล้วในบางแง่บางมุมของเมืองลอดช่องกลับต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นโจทย์ให้ฉุกคิดกันอีกครั้ง เมื่อร่องรอยความคิดของประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้เราได้นั่งทบทวนถึงการก้าวผ่านสถานการณ์ต่างๆของความอยู่รอดไปพร้อมกัน เมื่อปัจจุบัน อดีต และอนาคต มิอาจจะละเลยซึ่งกันและกันกับการบริหารจัดการการอยู่ร่วมกัน...เพราะเชื่อว่าทุกคนยังคงรอคอยการคืนความสุขคืนกลับ (มา)”
ด้วยความหวังและดุอาอ์...
[1] บทความชวนคิด ส่วนหนึ่งจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ ประเทศสิงคโปร์ กับทีมวิจัย Asean Is Net
[2] นักศึกษาปริญญาเอกสาขาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / ผู้บริหาร ร.ร.เร๊าะห์มานีย๊ะห์ อ.จะนะ จ.สงขลา
[3] นักศึกษาปริญญาโทสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / นักวิจัย-นักวิชาการอิสระ