Skip to main content

ปกรณ์ พึ่งเนตร


            แม้ภาครัฐจะ "นิ่ง" อย่างน่าชื่นชมในเหตุการณ์ชุมนุมครั้งใหญ่ที่หน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ภายใต้การนำของศูนย์ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาพิทักษ์ประชาชนเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลังฉากของความนิ่งที่ว่านั้น มีความหวั่นไหวและเคร่งเครียดเจือปนอยู่ไม่น้อย

            เป็นความหวั่นไหวและเคร่งเครียดถึงขั้นที่ว่า การประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นวิเคราะห์กันอย่างจริงจัง และแม้แต่ พล..สนธิ บุญยรัตกลิน  ในฐานะผอ.รมน.ก็ยังยอมรับว่า "กำลังติดตามข้อมูลข้อเท็จจริงว่ามันคืออะไร เพราะมีข้อมูลหลายเรื่องที่น่าสนใจ"


 

           ข้อสังเกตของ กอ.รมน.จากการประเมินสถานการณ์ตลอดการชุมนุมที่ยืดเยื้อถึง 5 วันนั้น (31 ..-4 มิ..) พบว่า การที่แกนนำผู้ชุมนุมสามารถนำมวลชนมาร่วมเคลื่อนไหวได้ถึง 5,000 คน ทั้งที่เงื่อนไขในพื้นที่ยังไม่มีน้ำหนักมากนัก น่าจะมาจากการจัดการที่เป็นระบบ ทั้งเรื่องการเดินทาง และส่งกำลังบำรุง

            ที่สำคัญยังมีกลุ่มนักศึกษาที่เป็นเยาวชนมุสลิมจากมหาวิทยาลัยเปิดชื่อดังในกรุงเทพฯ ลงไปเป็นแกนนำเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ จึงน่าเชื่อว่าปมของการชุมนุมไม่น่าจะเป็นเรื่องการเมือง แต่น่าจะเป็นการทดสอบความพร้อมอะไรบางอย่าง...

            ขณะที่มีรายงานจากหน่วยข่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้จะมีปฏิบัติการรุนแรงครั้งใหญ่เกิดขึ้นค่อนข้างแน่!

            ข้อมูลของหน่วยข่าวได้รับการยืนยันจากนายทหารระดับสูงทั้งจากกองทัพภาคที่ 4 เอง และในส่วนกลาง เพราะมีการออกมาให้สัมภาษณ์กำชับให้ระแวดระวังสถานการณ์กันเป็นระยะตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และ พล.อ.สนธิ เองก็ย้ำในที่ประชุม กอ.รมน.ว่า "ทุกส่วนต้องมีความพร้อม เพราะหากมีเหตุเกิดขึ้นพร้อมกัน 50 จุดเหมือนในอดีต จะทำอะไรกันไม่เป็น"

            นี่เองที่นำไปสู่การสั่งเพิ่มเครื่องมือไฮเทคในการตรวจหาวัตถุระเบิด รวมถึงคำสั่งให้นำเครื่องบินตรวจการณ์ติดกล้องซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานปัตตานี ขึ้นบินลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง!

 

            ข้อสังเกตของ กอ.รมน. สอดรับกับผู้สังเกตการณ์จากศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ที่เข้าไปเก็บข้อมูลตลอดการชุมนุม และพบประเด็นน่าสนใจหลายประการ ได้แก่

            1.สาเหตุของการสลายการชุมนุมไม่ใช่เพราะบรรลุข้อตกลงกับภาครัฐ เพราะการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์รุนแรงหลายๆ กรณีที่ประชาชนในพื้นที่มองว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ได้อยู่ในข้อเรียกร้อง 10 ข้อ และแกนนำผู้ชุมนุมก็ไม่ได้สนใจลงนามในบันทึกข้อตกลงแต่ประการใด ฉะนั้นกรอบเวลาของการชุมนุมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงเป็นเรื่องที่ตระเตรียมการมาล่วงหน้าแล้ว

            2.การจัดขบวนของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนเข้าหรือออกจากมัสยิด การเดินประท้วงแสดงพลังในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี กระทั่งการเดินขบวนเพื่อขึ้นรถกลับภายหลังสลายการชุมนุม ล้วนดำเนินไปอย่างมีระเบียบวินัยผิดวิสัยม็อบทั่วไป โดยการเคลื่อนขบวนทุกครั้งจะมีบุคคลที่ทำหน้าที่คล้าย "การ์ด" คล้องแขนกันเป็น "รั้วมนุษย์" อย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าแทรกซึม


            3.แกนหลักของผู้ชุมนุมมีการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบกันมาแล้วอย่างชัดเจน อาทิ มีการติดสัญลักษณ์เป็นแผ่นกระดาษเล็กๆ แยกเป็นสีดำกับป้ายคล้องคอสีแดง


             4.ภายในมัสยิดกลางปัตตานีมีชาวบ้านที่คาดว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนหรือสูญเสียจากเหตุการณ์รุนแรงเข้าร่วมชุมนุมด้วย และมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สังเกตได้จากช่วงเดินทางกลับ กลุ่มผู้ชุมนุมเดินเป็นแถวหน้ากระดานเรียงสิบไปขึ้นรถที่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาส  ซึ่งมีรถกระบะจอดรออยู่เป็นแถวยาว ทุกคนรู้โดยอัตโนมัติว่าจะต้องขึ้นรถคันไหน เพื่อไปส่งยังจุดใด และเกือบตลอดเวลาของการเคลื่อนขบวน มีการร้องเพลงภาษาถิ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภารกิจของคนหนุ่มสาวอย่างพร้อมเพรียงกัน

          น่าสนใจว่า จุดศูนย์กลางของการชุมนุมครั้งนี้อยู่ที่ตัวเมืองปัตตานี อันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่เคยมีการชุมนุมใหญ่ของพี่น้องมุสลิมนับแสนเมื่อปี พ..2518 เพื่อประท้วงกรณีสังหารชาวบ้านที่สะพานกอตอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยการชุมนุมในครั้งนั้นมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาเช่นกัน และภายหลังบานปลายถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจากระเบิดปริศนา

            เหตุการณ์เมื่อ 32 ปีก่อนยังคงเป็นความทรงจำอันโหดร้ายของผู้คนจำนวนไม่น้อยในดินแดนปลายสุดด้ามขวานแห่งนี้...

 (ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์)                  

            คล้อยหลังของผู้ชุมนุมที่มัดยิดกลางปัตตานีเพียงไม่ถึง 1 สัปดาห์ ก็ปรากฏการชุมนุมของผู้สนับสนุน "พรรคปาส" ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซีย ที่บริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยคุ้มครองสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของชาวมุสลิมในภาคใต้ กระทั่งกลายเป็นข่าวที่ถูกตีแผ่ไปทั่วโลก
            ช่างเป็นความเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงและสอดรับกันอย่างยากจะเชื่อว่าเป็นความบังเอิญ...

          ทั้งหมดนี้คือพลวัตรของงานมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐจักต้อง