๑. การจับกุมและคุมขัง
กรณีทั่วไป การจับต้องมีหมายจับ เว้นแต่
- บุคคลนั้นกระทำผิดซึ่งหน้าที่เจ้าพนักงานผู้จับเป็นผู้เห็นเอง หรือ
- บุคคลนั้นมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น หรือเป็นการจับเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำผิดขึ้นและไม่อาจขอหมายได้ทัน
- มีเหตุด่วนจำเป็นที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับได้
- การจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราว
ข้อจำกัด - การจับกุมบุคคลไม่ว่าจะมีหมายหรือไม่นั้น ห้ามจับในที่รโหฐานเว้นแต่มีหมายค้นและต้องค้นในเวลากลางวัน ยกเว้นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่สามารถค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลหรือข้อยกเว้นที่อาจค้นในเวลากลางคืน
|
๑. การจับกุมและควบคุมตัว
การจับกุมตัวบุคคลต้องสงสัย จะต้องขออนุญาตศาลให้ออกหมายจับตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เว้นแต่
- บุคคลนั้นกระทำผิดซึ่งหน้าที่เจ้าพนักงานผู้จับเป็นผู้เห็นเอง หรือ
- บุคคลนั้นมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น หรือเป็นการจับเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำผิดขึ้นและไม่อาจขอหมายได้ทัน
- มีเหตุด่วนจำเป็นที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับได้
การจับกุมในที่รโหฐานนั้น สามารถเข้าไปจับกุมได้โดยอาศัยอำนาจค้นตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน แต่การจับกุมจะต้องมีหมายจับตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือเป็นกรณีที่สามารถจับได้โดยไม่ต้องมีหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลายกรณีเป็นการจับกุมโดยอาศัยอำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งต่อมาหากมีการแจ้งข้อกล่าวหา เช่น ข้อหาฝ่าฝืนประกาศตาม พรก. ฉุกเฉิน หรือ ข้อกล่าวหาตาม พรบ.อาวุธปืน เป็นต้น ผู้ต้องสงสัยก็จะกลายเป็นผู้ถูกกล่าวหา และต้องนำตัวเข้าสู่กระบวนการฝากขังต่อ ป.วิ.อาญา หรือกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป ทั้งนี้ การฝ่าฝืนประกาศตาม พรก.ฉุกเฉิน โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แผนผังลำดับที่ 1)
|
๒. สิทธิของผู้ถูกจับกุมและถูกคุมขัง
-สิทธิได้รับการแจ้งข้อหาและรายละเอียดแห่งการจับ รวมถึงผู้จับต้องแสดงหมายต่อผู้ถูกจับ (หากมี)
-สิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้ใจทราบถึงการจับกุมในโอกาสแรก
-เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับถึงสิทธิที่จะไม่ให้การและถ้อยคำที่พูดอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในชั้นพิจารณา
-สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ
-สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ในกรณีจำเป็น
-สิทธิในการให้ทนายความและผู้ที่ไว้ใจเข้าร่วมฟังการสอบปากคำ
-สิทธิที่จะมีล่าม หากไม่เข้าใจภาษาไทย
-สิทธิขอสำเนาคำให้การ
-สิทธิในการยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อพนักงานสอบสวน
-สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวหากมีการคุมขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๓. ระยะเวลาในการควบคุมตัว
การควบคุมตัวที่สถานีตำรวจได้ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง หากจะทำการควบคุมตัวต่อ จะต้องนำผู้ถูกจับกุมไปยังศาลเพื่อขออนุญาตควบคุมตัวต่อโดยออกหมายขัง ณ เรือนจำหรือสถานที่อื่นที่ศาลกำหนด ทั้งนี้ ศาลอาจออกหมายขังได้ไม่เกินครั้งละ ๑๒ วัน และศาลจะต้องไต่สวนทุก ๑๒ วันเพื่อพิจารณาว่ายังมีเหตุอันควรควบคุมตัวอยู่หรือไม่
-สำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน๖เดือน ศาลจะออกหมายขังรวมกันได้ไม่เกิน๗วัน
-สำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน๑๐ปี ศาลจะออกหมายขังรวมกันได้ไม่เกิน๔๘วัน
-สำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูง๑๐ปีขึ้นไป ศาลจะออกหมายขังรวมกันได้ไม่เกิน๘๔วัน
|
๒. สิทธิของผู้ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัว
- สิทธิได้รับแจ้งข้อเท็จจริงและเหตุแห่งความสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
- การจับกุมตัว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงหมายจับตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินแก่บุคคลผู้ต้องสงสัยก่อนเข้าจับกุม
-เมื่อมีการจับกุม พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำรายงานการจับกุมเสนอต่อศาลที่ออกหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อให้ญาติของผู้ถูกจับสามารถตรวจสอบได้
-สิทธิในการพบญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องสงสัยไว้ใจ
-สิทธิในการพบและปรึกษาทนายความเป็นการส่วนตัว
-สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วย
-สิทธิในการให้ทนายความและผู้ที่ไว้ใจเข้าร่วมฟังการสอบปากคำ
-สิทธิที่จะมีล่าม หากไม่เข้าใจภาษาไทย
-สิทธิขอสำเนาบันทึกการซักถาม
-สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวหากมีการคุมขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๓. ระยะเวลาในการควบคุมตัว
บุคคลผู้ต้องสงสัยตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะถูกควบคุมตัวไว้ ณ สถานที่ตามคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ไม่เกินคราวละ ๗ วัน แต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ายังมีเหตุในการควบคุมตัวต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องนำตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยนั้นไปยังศาลเพื่อให้อนุญาตให้ควบคุมตัวต่อ ทั้งนี้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้นต้องไม่เกิน ๓๐ วัน เมื่อพ้นระยะเวลา ๓๐ วันแล้วจะต้องได้รับการปล่อยตัว แต่หากมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็อาจถูกจับกุมตามกระบวนการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป
|
๔. สถานที่ควบคุมตัว
๑) สถานีตำรวจ (กรณีควบคุมก่อนฝากขัง)
๒) เรือนจำ (กรณีขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาต หรือขังระหว่างพิจารณาคดี)
กรณีขอฝากขังต่อศาลอาญาหรือศาลแขวงในกรุงเทพฯ แม้เป็นกรณีการจับกุมโดยอาศัยอำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน หากต่อมาถูกแจ้งข้อกล่าวหาและนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลตามข้อ ๓ ผู้ถูกกล่าวหาจะถูกนำไปควบคุมตัวที่
๑) เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
๒) ทัณฑสถานหญิงกลาง
|
๔. สถานที่ควบคุมตัว
ตามประกาศ ศอฉ.
๑) บก.ตชด.ภ.1 จ.ปทุมธานี
๒) บก.ตชด.13 จ.กาญจนบุรี
๓) บก.สนับสนุนทางอากาศ
๔) บก.ตชด.จ.ประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์ทหารม้า จ.สระบุรี
๕) กรมการทหารช่าง จ.ราชบุรี และ
๖) กองบัญชาการช่วยรบที่1 จ.ชลบุรี
หากไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวฝากขังต่อศาลตามกระบวนการตาม ป.วิ.อาญา ก็จะต้องปล่อยตัว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ควบคุมตัวตาม พรก.ฉุกเฉิน ต่อได้ ตามข้อ ๓
|
๕. การค้น
ห้ามทำการค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถาน เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด
ห้ามทำการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นซึ่งออกโดยศาล เว้นแต่
- มีพฤติการณ์ที่แสดงว่ามีเหตุร้ายเกิดในที่รโหฐาน
- ปรากฎความผิดซึ่งหน้าในที่รโหฐาน
- เมื่อบุคคลที่ทำความผิดซึ่งหน้า ขณะถูกไล่จับหนีเข้าไปซ่อน
- เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนอยู่ในนั้น โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากรอไปดำเนินการขอหมายค้น สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลาย
- กรณีผู้จะถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับมีหมายจับหรือเป็นกรณีที่จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
การค้นในที่รโหฐานจะต้องทำเฉพาะในเวลากลางวัน เว้นแต่เป็นกรณีการค้นต่อเนื่อง หรือ กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง
การค้นในที่รโหฐาน จะต้องกระทำต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น ถ้าหาไม่ได้ให้ทำการค้นต่อหน้าพยานอย่างน้อย๒คน
เจ้าพนักงานผู้ค้นจะต้องทำการบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้ แล้วอ่านให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทน หรือพยานแล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้
|
๕. การค้น
การค้นตัวบุคคลเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้นอาคาร ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจำทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
|
๖. การคัดค้านการควบคุมตัว
ผู้ถูกคุมขัง สามี ภริยา ญาติ หรือบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลทำการไต่สวนความชอบด้วยกฎหมายของการคุมขัง หากศาลเห็นว่าการคุมขังเป็นไปโดยไม่ชอบให้สั่งปล่อยตัวทันที
|
๖. การคัดค้านการควบคุมตัว
ผู้ถูกควบคุม สามี ภริยา ญาติ หรือบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกควบคุม มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลทำการไต่สวนความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุม หากศาลเห็นว่าการควบคุมเป็นไปโดยไม่ชอบให้สั่งปล่อยตัวทันที
|
๗. การคัดค้านการขอฝากขัง
ผู้ต้องหามีสิทธิแถลงคัดค้านการขอฝากขังได้ หากปรากฏว่าไม่มีเหตุจำเป็นต้องฝากขังเพื่อการสอบสวนหรือการฟ้องคดี โดยทุกครั้งที่มีการขอฝากขัง ศาลจะถามผู้ต้องหาว่าจะคัดค้านการขอฝากขังหรือไม่ หากคัดค้าน ศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนมาชี้แจงเหตุจำเป็นหรือเรียกพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ต้องหามีสิทธิตั้งทนายความเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยานได้ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความ และผู้ต้องหาร้องขอ ให้ศาลตั้งทนายความให้
|
๗. การคัดค้านการขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อ
ในกรณีที่มีการร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อ ผู้ถูกควบคุมตัวมีสิทธิแถลงคัดค้านการขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้ หากปรากฏว่าไม่มีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยทุกครั้งที่มีการขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัว ศาลจะถามผู้ถูกควบคุมตัวว่าจะคัดค้านการขอขยายฯหรือไม่ หากคัดค้าน ศาลอาจเรียกเจ้าหน้าที่มาชี้แจงเหตุจำเป็นหรือเรียกพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ถูกควบคุมตัวมีสิทธิตั้งทนายความเพื่อยื่นคำร้องคัดค้านการขอขยายระยะเวลาควบคุมตัวและซักถามพยานได้ ถ้าผู้ถูกควบคุมตัวไม่มีทนายความ และผู้ถูกควบคุมตัวร้องขอ ให้ศาลตั้งทนายความให้
|