Skip to main content

ถอดบทเรียนโดย

ดันย้าล อับดุลเลาะ

*ส่วนหนึ่งของงาน วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด สันติภาพเดินไปข้างหน้า วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2016

ภาพจาก WeWatch Dsp Coordinate

 

 

ความสุ่มเสี่ยงในการนำเสนอข้อมูลจากพื้นที่ความขัดแย้ง

ในภาวะความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพื้นที่หรือการนำเสนอมิติอื่นๆ หรือมุมมองอื่นๆ น้อยมากเนื่องจากมีการนำเสนอภาพความรุนแรงของความขัดแย้งในชายแดนใต้ ในมุมมองของข่าวอาชญากรรมหรือเรื่องการเมือง ทำให้ช่องทางที่จะนำเสนอมิติอื่นๆของความขัดแย้งที่ชายแดนใต้มีน้อยมากเมื่อเทียบกับการนำเสนอในมิติอาชญากรรมและการเมือง อีกทั้งพื้นที่ชายแดนใต้เป็นพื้นที่ทางการทหารมากกว่าพื้นที่ทางการเมือง ทำให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆจึงมีความสุ่มเสี่ยงมาก ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่นี่ อาจจะต้องขยับให้มีการสื่อสารในมิติอื่นๆมากขึ้น หรือต้องมีกลยุทธ์ในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ความสุ่มเสี่ยงนั้นลดลง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในมิติอื่นๆอาจจะช่วยให้ภาวการณ์หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพได้ง่ายขึ้น จะทำให้คนข้างนอกมองเห็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่ความรุนแรง ความเจ็บปวด

อุปสรรคในการนำเสนอสารต่อสาธารณะจากพื้นที่ความขัดแย้ง

การนำเสนอข้อมูลข่าวสารหลายครั้งนำเสนอไม่รอบด้าน ซึ่งเป็นปัญหาทั้งสื่อจากกระแสหลักและสื่อทางเลือก ความต้องการนำเสนอและรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วมักจะพบปัญหาการนำเสนอที่ไม่รอบด้าน ซึ่งในปัจจุบันการนำเสนอข่าวไม่ใชการนำเสนอข่าวตอบโต้กันที่ละวาระ ปัจจุบันการสื่อสารสามารถอย่างรวดเร็วทำให้การตรวจสอบการนำแสนอข้อมูลต่างๆมีการตรวจสอบจากพื้นที่ที่ถูกนำเสนอเองด้วย และด้วยความรวดเร็วของรับและส่งข้อมูลต่างๆทำให้การแก้ไขข้อมูลที่ถูกนำเสนอนั้นรวดเร็วไปด้วย ส่งผลให้การนำเสนอข้อมูลต่างๆมีการตรวจสอบมากขึ้นก่อนที่จะนำเสนอสู่สาธารณต่อไป ดูเหมือนว่ามีแรงถ่วงระหว่างการนำเสนอของสื่อกระแสหลักกับสื่อทางเลือก หลายครั้งการนำเสนอของสื่อกระสือหลักเกิดจากข้อมูลหรือนำเอาข้อมูลจากสื่อทางเลือกในการนำเสนอเองด้วย ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลลักษณะแบบนี้ความผิดพลาดหรือเนื้อหาที่นำเสนออาจจะมีความผิดพลาดมาจากต้นทางด้วย จึงปฏิเสธไมได้ว่า การสื่อสารของวาระสันติภาพในพื้นที่เองก็ต้องย้อนดูว่าการนำเสนอของสื่อทางเลือกในท้องถิ่นเองนั้นเป็นอย่างไร และสื่อกระแสหลักเองก็มีการสร้างกลไกเพื่อกรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับก่อนนำเสนอด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เป็นกลไปที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารจากต้นทางของข้อมูลที่มาจากพื้นที่เอง กลไกเหล่านั้นอาจจะเรียกว่าเป็นความรับผิดชอบของการนำเสนอข้อมูลต่างๆก็ว่าได้ หรือนี่คือการปรับตัวในการรับสารและนำเสนอสารต่อสารธารณะ หรืออีกทางหนึ่งคือกลยุทธ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาจากบทเรียนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆจากสื่อทางเลือกในพื้นที่และการนำเสนอข้อมูลของสื่อกระแสหลักเองด้วย นอกจากการนำเสนอข้อมูลของสื่อกระแสหลักที่นำมาจากสื่อทางเลือกในพื้นที่ ยังมีการนำเสนอข้อมูลจากสื่อกระแสหลักโดยสื่อทางเลือกในพื้นที่ด้วย บางครั้งการนำเอาข้อมูลนำเสนอในรุปแบบการนำเอาจากที่แหล่งหนึ่งในนำเสนอในอีกที่หนึ่ง ทำให้สื่อที่ทำหน้าในการนำเสนอต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวสำหรับการนำเสนอข้อมูลเองด้วย รวมไปถึงการเอาข้อมูลไปนำเสนอและการอ้างอิงหรือระบุแหล่งข่าวที่ส่งข้อมูลมาเพื่อนำเสนอต่อไป จึงเป็นแรงเหวี่ยงให้สื่อต่างๆที่จะนำไปนำเสนอต่อหรือที่เราเรียกว่าแชร์ต่อไป ต้องมีความระมัดระวังและรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำเนอไปด้วย การสร้างข้อมูลจากในพื้นที่เองก็ต้องมีความรอบคอบรอบด้าน มีความรับผิดชอบต่อเนื้อด้วยเช่นกัน เนื่องสื่อทั้งสองแบบมีรับส่งลื่อสารต่อกัน จึงไม่ใช่ความรับผิดชอบหรือการปรับตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

การปรับตัวของสื่อต่อการนำเสนอข้อมูลในพื้นที่ความขัดแย้ง

            ปรากฏการณ์สื่อทางเลือกเป็นที่ตอบรับมากขึ้นและสื่อส่วนกลางเองก็เริ่มปรับตัว แต่การปรับตัวของสื่อส่วนกลางนั้น เกิดจากฐานของตัวบุคคลมากกว่าองค์กรของสื่อ มีการนำเสนอเนื้อหาข้อมูลที่รอบด้านและตรงใจคนในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆด้วย(ไม่ใช่เพียงแค่ชายแดนใต้) ส่วนหนึ่งเกิดจากกความขัดแย้งทางการเมือง ในพื้นที่ชายแดนใตคือพื้นที่ความขัดแย้ง ทำให้การนำเสนอข้อมูลต้องมีความรอบด้านและการปรับตัวของสื่อเองก็เกิดขึ้นจากสถานการณ์ของพื้นที่เองด้วย เนื่องจากมีแรงเหวี่ยงต่อกันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารที่เป็นคนในพื้นที่ อาจจะมองได้ว่าการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ตรงใจคนในพื้นที่ เกิดจากการกดดันทางการเมืองหรือการครอบงำสื่อด้วยอำนาจทางการเมือง เนื่องจากสื่อมีผลต่อผู้รับสารในระดับหนึ่ง แน่นอนข้อมูลที่นำเสนอออกไปนั้นย่อมมีผลต่อทัศนะคติ วิธีคิดของผู้รับสารต่อสถานการณ์ในชายแดนใต้ สิ่งที่ยังคงต้องทำความเข้าใจคือ สื่อต่างอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม การมีทัศนคติหรือมุมมองใดๆต่อพื้นที่และสถานการร์ยังวางอยู่ฐานของอคติทางศาสนา ชาติพันธ์ สิ่งที่ต้องคำนึงและจะต้องสร้างบรรทัดฐานของสื่อคือ การหลุดพ้นจากการครอบงำจากอำนาจทางเมืองใดๆ เพื่อการนำเสนอที่ไม่ทำให้ทัศนคติหรืออคติต่อพื้นที่และสถานการณ์เป็นลบมากขึ้น อาจจะเข้าใจได้ว่า การนำเสนอในลักษณะเช่นนี้เป็นการนำเสนอเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจหรือควบคุมให้ผู้รับสารมีทัศนคติและอคติที่บวกขึ้นต่อพื้นที่และสถานการณ์เอง  จุดสำคัญคือการที่สื่อทำให้คนในพื้นที่ได้พูดหรือมีเสียงเพื่อการสื่อสารว่าพื้นที่นี้เกิดอะไรขึ้นด้วยตัวของคนในพื้นที่เอง มิใช่นำเสนอเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากสถานการณ์โดยไม่คิดว่า ประชาชนในพื้นที่เองต้องตัวตนในการสื่อสารและนำเสนอข้อมูลของพื้นที่ด้วย เอาเข้าจริงแล้วการสื่อในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เพียงแค่ต้องรอให้สื่อกระหลักนำเสนอ เนื่องจากทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ คนในพื้นที่สามารถเป็นสื่อเองได้ สามารถสร้างช่องทางการสื่อสารเองได้ แต่ปัญหาที่สำคัญคือ การนำเสนอของสื่อประแสหลักที่เต็มไปด้วยความรุนแรงนั้น เกิดจากคนในพื้นที่สื่อสารสารเหล่านั้นเองด้วยหรือไม่ ดังนั้นการสร้างเนื้อหาของสารที่จะส่งสารไปยังพื้นที่อื่นๆของคนในพื้นที่ชายแดนใต้เองก็ต้องอยู่ในมิติของการนำเสนอมุมมองที่จะสามารถสร้างความเข้าใจของพื้นที่ชายแดนใต้ต่อผู้รับสารที่เป็นนอกพื้นที่ด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ยังเป็นที่ต้องการของคนในสังคมทั่วไป จึงเป็นโอกาสที่คนในพื้นที่จะสร้างเนื้อหาต่างเพื่อสื่อสารกับคนในสังคมด้วยตัวเองได้ แต่อาจจะต้องมีกลยุทธ์นำเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจและมีแรงดึงดูดในคนสนใจวาระสันติภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะการนำเอาข้อมูลหรือสารที่จะนำเสนอแทรกเข้าไปในเนื้อหาข่าวบันเทิง หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาข่าวที่เป็นจุดสนใจของคนในสังคมทั่วไป ทั้งนี้คืออยู่กับคนในพืน้ที่เองด้วยว่าจะสร้างเนื้อหาอย่างไร นำเสนอแบบไหน

ในภาวะความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ อีกทั้งยังมีวาระสันติภาพที่กำลังดำเนินไปเช่นกันนั้น สิ่งที่สื่อทั้งสองแบบต้องปรับตัวและสร้างเนื้อหาของสารเพื่อการนำเสนอไปสู่การสื่อสารของคนในพื้นที่ไปสู่ผู้รับสารที่เป็นในสังคมทั่วไป คือการนำเสนอสิ่งที่แตกต่างจากความรุนแรงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะมีการสื่อสารหรือนำเสนอคู่ขนาดกันระหว่างมิติความรุนแรงและวาระสันติภาพที่กำลังดำเนินไปอยู่เรื่อย

เส้นแบ่งระหว่างสื่อกระแสหลักและสื่อกระแสรอง

ยังคงมีข้อถกเถียงในประเด็นการแบ่งระหว่างสื่อกระแสหลักกับสื่อทางเลือก ว่าจะแยกจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์อะไร หากจะมองที่การเข้าถึงของผู้รับสาร ตอนนี้ตัวละครเปลี่ยนไปมาก หากเทียบกันแล้วระหว่างสื่อโทรทัศน์ช่องใหญ่ๆ กับสื่อเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ สื่อไหนที่มีผู้รับสารเข้าถึงมากกว่า หรือทั้งหมดนั้นคือการสื่อสารนั่นแหละแต่มีพลวัตรสำหรับวิธีการนำเสนอ เราแค่เปลี่ยนวิธีการนำเสนอทั้งที่ยังเป็นสื่อแบบเดิมนั่นแหละ หากจะวัดที่เรตติ้งแล้ว ไม่ว่าสื่อแบบไหนก็ยังคงต้องการความนิยมในการรับสารอยู่ เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการให้คะแนนนิยมเท่านั้น ซึ่งหากจะแบ่ง ว่าใครคือกระแสหลัก จะแยกว่าใครคือสื่อทางเลือก ยังคงเป็นข้อถกเถียง

โอกาสของการสื่อสารวาระสันติภาพ

การสื่อสารได้หลายภาษาทำให้เราทำงานสื่อคล่องขึ้น การนำเสนอข่าวเกี่ยวสันติภาพพบว่า สื่อต่างชาติระวังการนำเสนอข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อความสัมพันธ์ระหว่างเทศมากๆ หากมีสื่อต่างชาติเข้ามาทำข่าวเราอย่ากังวล เนื่องจากเขามีนโยบายการนำเสนอข่าวที่ต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งสำคัญคือเราจะเอาบทเรียนจากความผิดพลาดไปแก้ไขอย่างไร สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ สื่อไทยมีผู้สื่อข่าวต่างชาติมากแค่ไหนเพื่อรายงานหรือนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสันติภาพ

เวลามีการพูดคุยสันติภาพ มีการนำสื่อมวลชนไปด้วย ทำให้สื่อเข้าถึงได้ง่ายและทั้งสองฝ่ายพร้อมที่ให้ข้อมูล ในการรายงานข่าวสันติภาพถือว่ามาตรฐาน แต่อุปสรรคหรือความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยสันติภาพอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสื่อโดยตรง แต่การนำเสนอสิ่งเหล่านี้ทำให้มีความคาดหวัง จนมีผลต่อความท้าทายต่อการพูดคุยสันติภาพ และสื่อเรายังเองยังไม่เข้าใจในกระบวนการสันติภาพ สื่ออาจจะไม่มีประสบการณ์ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกระบวนการสันติภาพในส่วนของการพูดคุยสันติภาพ บางครั้งช่องทางการสื่อสารทำได้ยากเนื่องจากความคืบหน้าหรือข้อมูลไม่อาจจะนำเสนอตรงๆได้ ทำให้สื่อต้องแสวงหาข้อมูลจากที่อื่น บางครั้งแหล่งข่าวมีเยอะแต่สื่อที่เป็นสื่อท้องถิ่นจริงๆมาน้อยมากหรือให้ความสนใจในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกระบวนการสันติภาพในส่วนของการพูดคุยสันติภาพ บางครั้งทีมพูดคุยเองก็ต้องเปิดเผยบ้าง เพื่อการนำเสนอ เพื่อหนุนเสริม ถ้าไม่เผยเลยอาจจะทำให้การหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพมีปัญหา สื่อพยายามนำเสนอเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพด้วยไม่ใช่แค่การพูดคุย แต่ความคืบหน้าก็ยังจำเป็นต้องนำเสนอ คู่ขัดแย้งหลักเองก็ยังคงต้องใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อสร้างความชอบธรรมของข้อเสนอตัวเอง

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพคือ การนำเสนอข้อมูลทั้งสองด้าน ทั้งด้านลบและด้านบวก

 

ด้วยความหวังแห่งความใฝ่ฝันสู่ความมุ่งมั่นต่อการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ