Skip to main content

ตีความฉากหลัง องค์ปาฐก Party B ในมุมมองนักตะวันออกกลางศึกษา

โดย ดันย้าล อับดุลเลาะ

 

          เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ในวันงานสื่อสันติภาพชายแดนใต้ ในช่วงดุลยปาฐก โดยมีองค์ปาฐกถา จากสามฝ่าย ประกอบไปด้วย ตัวแทนจาก Party A โดย พล.ท.นักรบ บุญบัวทอง เลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนจาก Party B “อาวัง ญาบะ” ประธานมาราปาตานี และตัวแทนจากผู้อำนวยความสะดวก ดาโต๊ะ ซัมซามิน

ในระหว่างที่ท่าน อาวัง ญาบะ ประธานมาราปาตานี กำลังปาฐกถา ได้ปรากฏฉากหลังซึ่งได้รับการตีความกันอย่างขวางถึงนัยยะสำคัญของฉากหลังในระหว่างที่ท่านกำลังปาฐกถา ว่ามีความหมาย นัยยะสำคัญในมิติใดบ้าง

 

 

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.tcijthai.com/office-tcij/headpicture/LSDIWjgWed120402.jpg

ในฐานะที่ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากสาขาตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลาม มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงมีมุมการตีความฉากหลังดังกล่าวที่ปรากฏให้เห็น คือหนังสือFIQH JIHAD ซึ่งเขียนโดย เชค ยูซุฟ กอรอฎอวี ผู้ที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองจาก อิยิปต์ บ้านเกิดไปยังต่างประเทศ โดยปัจจุบัน ท่านได้ถือสัญชาติ กาตาร์ ท่านคือผู้นำด้านจิตวิญญาณของกลุ่ม อิควานนุลมุสลิมมีน หรือกลุ่มภราฎรภาพมุสลิม และประธานของสหภาพนักปราชญ์มุสลิมนานาชาติ (IAMS)

ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงท่านเชคยูซุฟ กอรอฎอวีย์มากนัก เนื่องจากท่านไม่ใช่ตัวแสดงหลักในบทความชิ้นนี้

คำถามสำคัญคือ ทำไมฉากหลังในวันนั้น ไม่มีหนังสือเล่มอื่นอย่างแจ้งว่า เล่มใดคือหนังสืออะไร แต่มีหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ตั้งตระหง่าน แงะชัดแจ้งว่า หนังสือเล่มนั้นคือหนังสืออะไร ชื่อหนังสือ และยังปรากฏภาพของผู้เขียนอีกด้วย เป็นเพราะว่า ชั้นวางหนังสือที่เป็นฉากหลัง เหมาะเจาะแก่การที่วางสันหนังสือออกมา จนไม่สามารถเดาได้เลยว่าหนังสือเหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร แล้วทำไมต้องเป็นสองเล่มนั้นที่มีชื่อว่า FIQH JIHAD ทำไมกัน เพราะว่าเล่มอื่นนั้นเมื่อวางหันสันปกหนังสืออกมาแล้ววางบบนชั้นได้พอดี แต่เหลือที่ไม่มากให้กับหนังสือเล่มที่ชื่อว่า FIQH JIHAD

 

 

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.deepsouthwatch.org/sites/default/files/u3/cover_fiqh_jihad_fr...

จึงต้องหันหน้าปกออกกระนั้นหรือ แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ แต่ผู้เขียนไม่ให้น้ำหนักมากนัก นั่นเป็นการตีความที่ง่ายเกินไป ผู้เขียนกลับเชื่อว่านั่นคือ อวัจนะภาษา ที่ท่านผู้กำลังปาฐกถา กำลังส่งสาร สื่อสารอะไรบางอย่าง คำถามสำคัญคือ แล้วสื่อสารอะไร สื่อสารไปยังใครล่ะ จุดนี้คือจุดที่ผู้สนใจเป็นอย่าง ยิ่งหนังสือที่เป็นสัญญะของการสื่อสารเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนทางการเมืองและศาสนาในตะวันออกลางแล้ว ทำให้ตัวผู้เขียนนิ่งเฉยต่อปรากฏการณ์นี้มิได้ จึงขออนุญาตนำเสนอความเห็นจากการตีความ สัญญะของอวัจนะภาษานั้นผ่านแว่น มุมมองและวิธีคิดแบบนักตะวันออกกลางศึกษา

มีคำถามมากมายเกี่ยวการเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธหรือนักรบปลดแอกปาตานี กับขบวนการต่อสู้กลุ่มต่างๆในตะวันออกกลาง แม้จะยังไร้ข้อมูลที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีส่วนเชื่อมโยงกัน แต่ยังมีส่วนที่ปฏิเสธไมได้ว่า ต้องส่วนเชื่อมโยงกันแน่ๆ ในมิติของความหวัง เป้าหมาย และความใฝ่ฝัน ที่เชื่อมโยงกัน ทั้งมิติของความเชื่อที่เชื่อและศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม เชือกแห่งอิสลามจะสามารถผูกโยงกันระหว่างขบวนการต่อสู้ในตะวันออกกลางและขบวนการติดอาวุธเพื่อปลดแอกปาตานี หลายคนอาจจะโต้แย้งว่า ไม่น่าจะเชื่อมโยงกันได้ ผู้เขียนก็คิดว่าในส่วนของรายละเอียด วิธีการ แนวคิด การต่อสู้อาจจะแตกต่างกัน แต่ที่ไม่แตกต่างกันคือ เป้าหมาย ความหวัง ความใฝ่ฝัน ในอิสรภาพ เนื่องจากขบวนการต่อสู้ในตะวันออกกลางนั้น ล้วนเกิดขึ้นและต่อสู้กับการกดขี่ เพื่อปลดแอกตนเองจากลัทธิลาอาณานิคมด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นขบวนการปลดแอกปาเลสไตน์ที่ต่อสู้ เพื่อปลดแอกตนออกจากการปกครองของอิสราเอล การต่อสู้ของกลุ่มตอลิบัน ที่ยืนหยัดต่อสู้กับการรุกรานของสหภาพโซเวียต หรือแม้แต่บทบาทของกลุ่มอิควานนุ้ลมุสลิมีน เคยยืนหยัดต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับรัฐบาลทหารของ อิยิปต์ เพื่อต้านอำนาจการปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศสเหนือคลองชุเอซ จึงไม่แปลกอะไรหากขบวนการปลดแอกปาตานี จะมีความคิด เป้าหมาย ความใฝ่ฝันที่เชื่อมโยงกัน

หากฉากหลังนั้นจะสื่อสารกับคนธรรมดาอย่างเราที่ตั้งคำถามว่า ทำไมขบวนการปลอดแอกปาตานีกลุ่มต่างๆ ต้องต่อสู้ และกำลังต่อสู้กับใคร เพื่ออะไร ฉากหลังนั้นคงจะสื่อสารและตอบคำถามดังกล่าวว่า เขาเหล่านั้น (อาจจะรวมหรือไม่รวมกลุ่มอื่นๆที่ไม่ใช่มาราปาตานีก็ได้) ต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมสยาม ที่ต้องต่อสู้เพื่อปลดแอกตนและผองชนจากเจ้าอาณานิคมสยาม จะมีเหตุมากน้อยเพียงใดที่กลุ่มคนต้องยืนหยัดต่อสู้เพื่อปลดแอกตนเองและผองชนเพื่ออิสรภาพจากเจ้าอาณานิคม หากจะตั้งคำถามในลักษณะเดียวกันกับมาราปาตานี(รวมไปถึงกลุ่มต่อสู้กลุ่มอื่นๆ)ก็ต้องย้อนไปดูที่ สัญญะ ในฉากหลังนั้นว่า ทำไมกลุ่มนั้น(กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและศาสนาตะวันออกกลาง)ต้องต่อสู้ด้วยเล่า

กลุ่มอิควานนุ้ลมุสลิมีน เป็นกลุ่มขบวนการที่มีสัญลักษณ์เชิงประจักษ์แล้วว่า การต่อสู้ของกลุ่มนี้ต่อสู้ด้วยสันวิธีมาโดยตลอด มีพลวัตรในการต่อสู้มาโดยตลอด มีวิวัฒนาการในการต่อสู้ มีสาขาย่อยบางสาขา เช่นสาขาปาเลสไตน์ในฉนวนการซ่า คือกลุ่มฮามาซ กลุ่มที่เกิดขึ้นมาโดยการกระตุ้นของประชาชนในฉนวนการซ่า กลุ่มปัญญาชนคนหนุ่มสาวที่ต้องออกมาต่อสู้และปกป้องผองชนจากการรุกรานอย่างหนักโดยกองทับรัฐบาลอิสราเอล ในการต่อสู้ของฮามาส ได้ประกาศก้องแก่สายตาชาวโลกได้เห็นว่าเมื่อ หนทางสันติวิธีไม่ได้ผลและพบกับทางตัน ทางออกสุดท้ายของการต่อสู้คือการเลือกใช้ความรุนแรง การเผชิญหน้า และสงครามประชาชนปาเลสไตน์กับกองทัพรัฐบาลอิสราเอลก็เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ มาราปาตานีกำลังจะสื่อสารว่า สงครามที่ปาตานีเป็นสงครามประชาชนกับกองทัพ(หรือไม่) แต่ที่แน่ๆนัยยะนี้ค่อนข้างมีน้ำหนักว่า มาราปาตานีกำลังจะบอกว่าสงครามที่ปาตานี คือสงครามประชาชน และทางเลือกของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มขบวนการปลดแอกปาตานีกลุ่มต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้น คือการเลือกใช้หนทางสุดท้ายของต่อสู้เนื่องจากประตูการต่อสู้ในแนวทางสันติวิธีนั้นถูกปิด(ผู้เขียนหมายถึงการก่อตั้งกลุ่มและระยะหรือช่วงเวลาที่กลุ่มติดอาวุธก่อตั้งขึ้นมา) ประเด็นนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แล้วมาราปาตานี ได้รับการกระตุ้นหรืออุ้มชูหรือได้รับฉันทานุมัติให้เป็นตัวแทนของประชาชนชาวปาตานีหรือไม่

หากจะตีความในมุมที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวหนังสือ ซึ่งผู้เขียนเองก็ไมได้ตัวหนังสือในฉากหลังเป็นหลัก แต่จะตีความตัวละครที่ปรากฏในฉากหลัง ท่านเชค ยูซุฟ กอรอฎอวียร์ เป็นนักวิชาการศาสนาอิสลามระดับที่โลกยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันท่านยังเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกด้วย แม้แต่กลุ่มขบวนการต่อสู้กลุ่มต่างๆในตะวันออกกลาง ไม่ได้ต่อสู้หรือเคลื่อนไหวเฉพาะเรื่องศาสนา แต่มีมิติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย มาราปาตานีที่ยอมรับตัวเองมาโดยตลอดว่าเป็นองค์กรทางการเมือง ในฐานะตัวแทนของประชาชนปาตานี เพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวทางเมือง จุดนี้จะเป็นจุดยืนยันว่า มาราปาตานีเป็นองค์กรทางเมือง และลักษณะเด่นคือ ยังมีนักวิชาการศาสนารวมอยู่ในองค์กรอยู่ด้วย หมายความว่า ขบวนการต่อสู้ในปาตานี ไม่ใช่มีเพียงแต่นักรบเท่านั้น ยังคงมีองค์ประกอบอื่นๆอีกด้วย ไม่ว่าจะด้านการเมือง ด้านศาสนา ตีความจากจุดนี้คือเครื่องหมายยืนยันถึง ตัวองค์กรร่มมาราปาตานีเองด้วยว่า เป็นองค์ทางการเมือง

เมื่อกล่าวถึง เชค ยูซุฟ กอรอฎอวีย์ และกลุ่มอิควานนุ้ลมุสลิมีน เราจะนึกถึงการเดินทางสายกลางหรือแนวทางอิสลามไม่สุดโต่ง จุดนี้น่าสนใจมาก มาราปาตานีกำลังจะส่งสารอะไรมายังผู้รับสาร มาราปาตานีเดินทางสายกลาง(หรือไม่) มาราปาตานีไม่ใช่กลุ่มแนวคิดอิสลามสุดโต่ง(หรือไม่) แล้วมาราปาตานีจะสื่อสารไปยังใคร หากมาราปาตานีจะสื่อมิติความเป็นอิสลามสายกลาง จะส่งสารมายัง ประชาชนปาตานี(หรือไม่) ไม่ว่าจะอิสลามสายไหน จะสายอาชิอีเราะฮฺ(มุสลิมคณะเก่า) หรือซลาฟียูน(มุสลิมคณะใหม่) ก็ไม่ตกขบวนจากขบวนการต่อสู้(กระนั้นหรือ) หรือนี่คือการส่งสารไปถึงสายทหารของขบวนการเองด้วยว่า ต้องยึดหลักสายกลาง ไม่สุดโต่งไม่ตึงเกินไป (หรือไม่)

ส่วนตัวผู้เขียนไม่อาจจะทราบได้ว่าการต่อสู้หรือแนวทางการต่อสู้ของขบวนการปลดแอกปาตานี กลุ่มต่างๆมีแนวทางอย่างไร หรือนี่คือการส่งสัญญาณว่า กลุ่มขบวนติดอาวุธในปาตานี ยังคงมีแนวทางที่ยังคงยึดมั่นในการ Jihad ซึ่งสามารตีความได้สองประเด็นใหญ่ๆ

          คือ 1. แนวทางการต่อสู้ของขบวนการปลดแอกปาตานีกลุ่มต่างๆที่มีการเคลื่อนไหวทางทหาร ในพื้นที่หรือเฉพาะกลุ่มที่เข้าร่วมภายใต้องค์กรร่ม มาราปาตานี มีแนวที่ยึดมั่นในการใช้ความรุนแรงที่ยังอยู่ในกรอบ ขอบเขตของหลักการศาสนา (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเดียวกันกับหนังสือเล่มที่กำลังวิจารณ์และตีความ)

             2. นี่คือการส่งสารว่า การต่อสู้ในปาตานี คือการJihad

          หากมาราปาตานีคือองค์กรทางการเมือง แล้วถ้าหากว่าองค์กรทางทหารมีมติหรือข้อเห็นแย้งกับองค์กรทางการเมือง ยิ่งในเรื่องของกระบวนพูดคุยที่กำลังดำเนินไป หรือนี่คือการเตือน สะกิด ให้องค์กรทางทหารของขบวนการปลดแอกปาตานีที่เคลื่อนไหวทางทหาร ให้รับรู้ถึงวิถี แนวทางการต่อสู้ว่า ต้องอยู่ในหลักการที่ยอมรับได้ในหลักการอิสลามหรือต้องต่อสู้ในแนวทางที่อิสลามกำหนดไว้(หรือไม่)

         

          การที่มีการวางฉากหลังเช่นกรณีนี้ ไม่สำคัญว่าผู้วางหนังสือหรือผู้ปาฐกถา หรือองค์กรร่มมาราปาตานีจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากนั่นคือ อวัจนภาษา คือการส่งสาร ทั้งนี้ไม่ใช่เครื่องหมายยืนยันว่าขบวนการต่อสู้เพื่อปลดแอกปาตานี ยึดมั่นในแนวทาง วาฮาบีย์(หรือซลาฟีหรือมุสลิมคณะใหม่) และแน่นอนว่าการตีความนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ฐานคิดของผู้ตีความ ในบทนี้ ผู้เขียนเขียนจากฐานคิดที่ได้ร่ำเรียนจากสาขาตะวันออกกลางศึกษา

 

หมายเหตุ

คำว่าปาตานี ผู้เขียนใช้แทนคำว่า ชายแดนใต้

ผู้เขียนตีความจากฐานคิดของผู้เขียนเอง ที่ร่ำเรียนจากสาขาตะวันออกกลางศึกษา

ผู้มิได้มีเจตนาจะพาดพิงเชิงลบต่อใครๆในสังคม

ผู้เขียนมีเจตนาจะให้เป็นที่ถกเถียงในสังคมสาธารณะ