Skip to main content

คนสงขลา-ปัตตานีร่วมกันละหมาดฮายัตต่อต้านคนไม่หวังดี เผยกฟผ.ตั้งท่าฮุบที่ดินสาธารณะ 700 ไร่ใช้ในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านประกาศทำทุกวิถีทางปกป้องทะเล-ที่ดินเกษตร

 

ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ :  http://transbordernews.in.th/home/?p=12794

20 พฤษภาคม, 2016 

 

 

ขอบคุณภาพจาก เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

 

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นายดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เปิดเผยว่า เวลา 14.00 .วันนี้ ชาวอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาและตัวแทนชาวบ้านจากปัตตานีกว่า 50 คน ร่วมกันทำละหมาดฮายัต ขจัดภัยร้ายจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-ปานาเระโดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุของชุมชน ที่ไม่สามารถร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวเดินต้านโรงไฟฟ้า หรือกิจกรรมรูปแบบอื่นๆ ได้ ดังนั้นพิธีกรรมทางศาสนาจึงเป็นโอกาสเหมาะในการรวมกลุ่มกันเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าและท่าเทียบเรือ ซึ่งระยะหลังพบว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความพยายามหลายอย่างเพื่อการรณรงค์ให้ประชาชนสนับสนุนโรงไฟฟ้า ทั้งการบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกิจการชุมชน แจกของกิน-ของใช้ชาวบ้าน ฯลฯ ทั้งที่หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าและท่าเทียบเรือจริงๆ ชาวบ้านจะต้องเสี่ยงกับการสูญเสียถาวร แต่ กฟผ.ก็ยังไม่เคยยอมหยุดวิธีการ แถมยังเดินหน้าประกวดราคาการดำเนินการอีกต่อเนื่อง ขอบคุณภาพจาก เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

 

ขอบคุณภาพจาก เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

 

คนพิการ คนแก่ บางทีเรี่ยวแรงเขาไม่มี แต่เขามีความรู้ ความเข้าใจ เขามีใจจะปกป้องบ้านเกิด เราอยากให้เขาได้ร่วมทำอะไรบ้าง เราก็เลยจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา ซึ่งหลายคนก็ประทับใจและให้ความร่วมมืออย่างดี การละหมาดครั้งนี้จึงดูพิเศษกว่าละหมาดทั่วไป เพราะเป็นการละหมาดแบบสาปแช่งคนคิดร้ายและขอพรพระเจ้าให้ปกป้องธรรมชาติ ปกป้องแผ่นดินพี่น้องทุกคนเพราะมีหลายพื้นที่เสี่ยงถูกเวนคืนที่ดินนายดิเรก กล่าว

 

นายดิเรก กล่าวอีกว่า สำหรับเวทีเสวนาของชาวบ้าน ประเด็นที่ทุกคนกังวลคือ การที่รัฐพยายามเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าฯ เทพา อย่างเร่งรีบโดยไม่สนใจเสียงคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ และไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาชี้แจงต่อข้อกังวลและข้อเสนอของชาวบ้าน โดยเฉพาะเรื่องที่ กฟผ.ยื่นเรื่องขอนำที่ดินสาธารณะจำนวน 700 ไร่ ไปใช้ประโยชน์ในโครงการโรงไฟฟ้าฯซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่ดินแปลงนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชน มีบ้านเรือน มัสยิด กุโบร์ ปอเนาะ โรงเรียน และที่ทำกินการเกษตร จึงมีการไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อสำนักงานที่ดินอำเภอเทพา และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการนำที่สาธารณะไปใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าฯ เทพา

 

การเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินคือความผิดพลาดของรัฐ เพราะควรจะรอให้กระบวนการจัดทำอีเอชไอเอเสร็จสิ้นก่อนที่จะเปิดยื่นซองประมูล ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐไม่ยอมรับฟังเสียงของชาวบ้าน และการเข้ามายึดที่ดินสาธารณะอาจเท่ากับเป็นการขับไล่ชุมชนมุสลิม ที่อาจกลายเป็นเงื่อนไขบั่นทอนกระบวนการสันติภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นายดิเรก กล่าว

 

ด้านนายดลร่อเฉด สยัง อายุ 61 ตัวแทนชาวบ้านเทพา กล่าวว่า การละหมาดครั้งนี้เป็นกรณีพิเศษ ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการขอพรพระเจ้าเพื่อให้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ซึ่งตามคัมภีร์อัลกุรอ่าน ระบุไว้ชัดเจนถึงคำสอนของพระเจ้าว่า ต้นไม้ ป่า ดิน และน้ำ เป็นทรัพยากรส่วนรวม ธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคน มนุษย์มีสิทธิใช้ได้แต่ห้ามครอบครองแล้วเบียดเบียนคนอื่น ซึ่งหากพบกิจกรรมใดของมนุษย์ที่ส่อแววทำลายธรรมชาติ เราในฐานะคนของพระเจ้าต้องรายงานและชี้แจง ซึ่งครั้งนี้เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่จะสื่อสารให้พระเจ้าเห็นว่า มีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น และโรงไฟฟ้ากับท่าเทียบเรือจะทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ ชาวมุสลิมจึงต้องเร่งมือทำพิธีกรรมละหมาดให้พระเจ้าเห็นใจและดลบันดาลให้คนคิดชั่วระงับความคิด และรู้จักกิน ใช้ อยู่ อย่างเข้าใจธรรมชาติ

 

นายดลร่อเฉด กล่าวด้วยว่า กรณีการสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ทำลายทรัพยากรของชาวบ้านแค่คนรุ่นนี้เท่านั้น แต่คนรุ่นหลังกำลังเผชิญวิกฤต ซึ่งหากชาวบ้านยอมถอยและยอมรับการดำเนินการหายนะจะมาสู่คนเทพา และคนที่เดือดร้อนที่สุด ไม่ใช่แค่ชาวบ้านเท่านั้น แต่รัฐบาลก็ต้องมารับผิดชอบกับคนที่ไร้ที่อยู่ ที่ทำกินด้วย ซึ่งหากสร้างโรงไฟฟ้าแล้วเสร็จมีมลพิษเกิดขึ้นรัฐต้องแบกรับเรื่องบริการสุขภาพเช่นกัน หากสิ่งแวดล้อมเสียหายรัฐก็ต้องมาฟื้นฟูในภายหลัง สิ่งเหล่านี้ในทางศาสนาอิสลาม เปรียบเหมือนการลงโทษโดยพระเจ้า ดังนั้นชาวบ้านจึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องทะเล ปกป้องพื้นที่เกษตร พื้นที่ประมงฯลฯ

 

ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการละหมาดฮายัต ตัวแทนเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้อ่านแถลงการณ์ โดยระบุว่าการที่ กฟผ. มีการเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาสำหรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทพาตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 และกำหนดยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 19 ตุลาคม 2559 รวมทั้งโครงการท่าเทียบเรือและระบบสายพานลำเลียงถ่านหิน โครงการโรงไฟฟ้าเทพา ที่จะเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม – 25 กรกฎาคม 2559 และกำหนดยื่นซองประกวดราคา ในวันที่ 26 ตุลาคม 2559นั้น แม้ทาง กฟผ.จะชี้แจงว่าไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็สะท้อนวิธีคิดที่ไม่เคารพต่อชุมชนและชาวบ้านในอำเภอเทพาจำนวนมากที่ยังมีความเห็นต่าง และยังคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

 

ในแถลงการณ์ระบุว่า การเลือกพื้นที่ตั้งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในที่ตั้งมีชุมชนมุสลิมอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่น มีมัสยิด มีกูโบร์ มีวัด มีปอเนาะ มีโรงเรียน อยู่อาศัยกันมาเป็นร้อยๆปี เป็นการไม่เคารพ ไม่เห็นคุณค่า และไม่เข้าใจต่อศาสนาอิสลามและมุสลิมอย่างชัดเจน มีอะไรอยู่เบื้องหลังที่มากกว่าเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือไม่ และการบังคับย้ายโรงเรียนปอเนาะตะเยาะซูออกจากพื้นที่ โดยในวิถีมุสลิมแล้วปอเนาะล้วนสร้างจากเงินบริจาคมากมายของพี่น้องมุสลิมทั่วประเทศระดมทุนช่วยกันสร้าง ทั้งนี้การอนุรักษ์ไม่ย้ายมัสยิด ไม่ย้ายกุโบร์ แต่ย้ายชุมชนที่สร้างและใช้ศาสนสถานเหล่านี้โดยรอบออกหมด และถมดินสูง 5 เมตรอัน แล้วมัสยิดกูโบร์จะมีคุณค่าอะไรอีก

 

ในแถลงการณ์ระบุว่า ยังมีกุโบร์โบราณของชุมชนโบราณเมื่อร้อยปีที่แล้วที่ต้องถูกขุดทิ้งเพื่อสร้างเป็นบ่อเก็บขี้เถ้าถ่านหิน แต่ กฟผ.ทำเป็นเงียบไม่กล้าแม้แต่จะพูดถึง และการใช้น้ำทะเลจำนวนถึง 9 ล้านคิวต่อวันมาใช้หล่อเย็นและกำจัดก๊าซซัลเฟอร์จะทำให้ทะเลเทพาเสื่อมโทรมชาวประมงพื้นบ้านทั้งหมดที่เป็นพี่น้องมุสลิมทั้งสงขลาปัตตานีเป็นหมื่นๆคนจะมีชีวิตที่ลำบากยากเข็ญถึงลูกถึงหลาน กลายเป็นเจ้าของแผ่นดินเจ้าของทะเล ที่ว่างเปล่า ที่ไร้เกียรติ ไร้คุณค่า ได้แต่แบมือขอทาน แย่งเศษเงินเศษทอง รองบประมาณกองทุนมะเร็ง กองทุนทะเลร้างลงมา

 

การใช้เงินให้ผลประโยชน์ซื้อผู้นำทั้งท้องถิ่น ท้องที่อย่างหนักซึ่งเป็นสิ่งที่หะรอมหรือเป็นบาปที่จะทำลายศาสนาและวิถีชุมชนที่สุขสงบ ทำให้ชุมชนแตกแยก เป็นความแตกแยกที่เกิดเพราะอำนาจเงินและอิทธิพลต่อพี่น้องเทพาที่สงบสุขสามัคคีมายาวนาน การเผาถ่านหินปริมาณมหาศาล เป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นกันที่ซ้ำเติมภาวะโลกร้อน เพราะเทคโนโลยีสะอาดไม่ได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใดในแถลงการณ์ระบุ

 

 

....ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=12794