From PostToday
http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%81%...
Translation:
House Passed Draft SBPAC Act, Putting Out the Southern Fire
04 August 2010, Time: 16:39 h.
House approved draft SBPAC Establishment Act, passing the baton to the upper house. Puea Thai argued the Act givesw too much power, fear PM permanently gets away seven if parts of the power is transferred, but the Admin branch still have to take responsibility
Assembly of the House of Representative approved the Southern Border Provinces Administration Act of B.E. .... with 242 votes against 86 from a total of 265 members of the assembly, with 5 abstainment and 14 members who did not vote, passing the draft to the Senate for further deliberation.
As for the Southern Border Provinces Administration Act of B.E. ....., the main content is to enable the Southern Border Provinces Administrative Command (SBPAC) to be a governmental agency under the command of the Prime Minister, with the Secretary of the SBPAC holding an equivalent rank to a Permanent Secretary of a Ministry and serving as the chief of the agency. The Prime Minister, by recommendation of the Minister of the Interior, shall have the power to appoint officials holding to rank of a high-level executive officer as the Secretary, with the authority to order officials, employees, and workers of the SBPAC, and be responsible for the work of the SBPAC..
Furthermore, the act also mandates the mission of relevant organizations in determining the strategy to solve the problem of the southern border provinces, which shows unity and connectivity in security policy and strategy with development administration, which are in accordance with administrative laws and inter-agency relations system.
Mr. Sa-nguan Phongmanee, MP from Lamphun Province, made an observation on whether this Act would establish an organization that is redundant with regular agencies that are working in the area, particularly in Sections 11, 15, and 17, which are related to the allocation of budget and authorization from the Prime Minister and Ministers, which may cause a question on whether too much power is given to the Secretary, as all of the authority will belong to the Executive Branch.
"The Opposition does not oppose the government in presenting this draft Act, but only has doubt with regard to Section 17 on whether this type of authorization would cause power to cluster at any particular individual. Particularly, there is doubt that once the power is given, would the Prime Minister, the Ministers, or any other individual who had been given power, not have any liability in case where there is an error in administration.", said Phongmanee.
Thavorn Senniam, Assistant Minister of the Interior, as President of the Extraordinary Commission, explained that the authorization in this Act does not have the objective of granting absolute power to any particular individual, but rather so that administration of the southern border provinces would become more fluid, and that the liability of the Prime Minister or the Ministers would still exist and not be absent.
original text below.
สภาผ่านร่างศอ.บต.ดับไฟใต้
04 สิงหาคม 2553 เวลา 16:39 น.
สภาฯเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ตั้งศอ.บต.ดับไฟใต้ส่งไม้ต่อให้สภาสูง เพื่อไทยติงให้อำนาจมากเกินไปหวั่นนายกฯลอยตัว ถาวร แจงแม้โอนอำนาจบางส่วนไปแต่ฝ่ายบริหารยังคงความรับผิดชอบ
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ....ด้วยคะแนน 242 เสียง ต่อ 86 เสียง จากจำนวนองค์ประชุมทั้งสิ้น 265คน มีผู้งดออกเสียง 5 เสียงและมีผู้ไม่ลงคะแนน 14 เสียงส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
สำหรับร่างพ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ....มีสาระสำคัญคือให้มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นส่วนราชการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการ ศอ.บต. มีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง เป็นหัวหน้าส่วนราชการ นายกรัฐมนตรีโดยการเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงคนหนึ่งเป็น เลขาธิการ มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานใน ศอ.บต. และรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของ ศอ.บต.
นอกจากนี้ยังได้บัญญัติถึงภารกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพ และความเชื่อมโยงทางนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงกับด้านการบริหารการ พัฒนาอันสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน
นายสวงน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน ตั้งข้อสังเกตถึงการตราร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า เป็นการตั้งองค์กรขึ้นมาซ้ำซ้อนกับหน่วยงานปกติที่อยู่ในพื้นที่หรือไม่ โดยเฉพาะในมาตรา 11,15 และ 17 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณ และการมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อาจมีปัญหาว่าเป็นการให้อำนาจแก่เลขาธิการมากเกินไปเพราะล้วนแต่เป็นอำนาจ ของฝ่ายบริหาร
“ฝ่ายค้านไม่ได้คัดค้านรัฐบาลในการเสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เพียงแต่มีข้อ สงสัยในมาตรา 17 ว่าการมอบอำนาจลักษณะนี้จะทำให้อำนาจไปกระจุกไว้ที่คนใดคนหนึ่งหรือไม่ และที่สำคัญสงสัยว่าถ้ามอบอำนาจกันไปแล้วเท่ากับว่านายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี และบุคคลอื่นๆที่ได้มอบอำนาจไปให้นั้นไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิด การบริหารงานราชการที่ผิดพลาดใช่หรือไม่” นายสงวน กล่าว
ด้านนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า การมอบอำนาจดังกล่าวตามร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้อำนาจเด็ดขาดแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพิเศษแต่ เป็นไปเพื่อให้การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรียังมีอยู่เหมือนเดิมไม่ขาด หายไป