Skip to main content

>>> ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ เป็นการละหมาดในช่วงเดือนรอมฏอน เริ่มละหมาดตะรอเวี๊ยะห์หลังจากเสร็จละหมาดอีซา

>>> บางคนละหมาด 8 รอกาอัต บางคนละหมาด 23 รอกาอัต อย่างประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 8 รอกาอัต แต่สามจังหวัดบ้านเราละหมาด 23 รอกาอัต สังเกตจากมัสญิดเป็นหลัก

>>> ขึ้นชื่อว่าเด็ก ย่อมมีสมาธิสั้นกันทั้งนั้น (ผู้ใหญ่บางท่านก็เป็นเช่นกัน) เราในฐานะผู้ใหญ่น่าจะเข้าใจน่ะ เพราะยังไงเราก็เคยผ่านการเป็นเด็กมาก่อน

>>> ทุกครั้งก่อนไปมัสญิดพวกเรา(พวกพี่ๆ) จะทำการสัญญากับน้องก่อนไปมัสญิดเสมอว่า ถ้าจะไปต้องละหมาดอีซาและตะรอเวี๊ยะห์ให้ครบ 8 รอกาอัต แล้วจึงจะอนุญาตให้เล่นได้ (แต่ไม่ควรสนับสนุนให้เล่น ขณะคนอื่นละหมาด)

>>> ปีนี้พิเศษหน่อย น้องอายุ 9 ขวบ ต้องฝึกให้ได้มากกว่า 8 รอกาอัต ซึ่งต้องหาเทคนิคให้น้องนั้นก็คือ ละหมาด 1 ครั้ง หยุด แล้วละหมาดต่อ หรือเรียกว่า ละหมาดเว้นละหมาด

>>> ‪#‎วิธีละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ คือ ละหมาด 1 ครั้ง เท่ากับ 2 รอกาอัต ถ้าละหมาด 8 รอกาอัต เท่ากับ 4 ครั้ง ถ้าละหมาด 23 รอกาอัต เท่ากับ 10 ครั้ง อีก 3 รอกาอัต คือละหมาดวีตีร

>>> น้องทำตามเทคนิคที่บอกจนถึงละหมาดสุดท้าย นั้นคือ ละหมาดวีตีร‪#‎ละหมาดวีตีร คือ การสิ้นสุดการละหมาดในวันนี้ โดยครั้งแรก ละหมาด 2 รอกาอัต และครั้งที่ 2 แค่รอกาอัตเดียว

>>> น้องไม่แน่ใจเลยถามอีกครั้งว่า "ละหมาดแค่รอกาอัตเดียวจริงเหลอ?" ฟังแล้วขำ เพราะนี้คือครั้งแรกของน้อง ที่ละหมาดวีตีร

>>> หลังจากละหมาดเสร็จ พวกเราก็ถามน้องว่า "เป็นอย่างไรบ้าง ละหมาดวันนี้?" น้องพูดไม่ออก แต่ยิ้มและเขินอาย

>>> วันต่อมา หลังจากละหมาดมัฆริบเสร็จ ทุกคนต่างเตรียมตัวไปมัสญิด น้องบอกว่า "เตาะห์!! (แทนพี่สาว) เดะ(น้อง) จะละหมาดเหมือนเมื่อคืนน่ะ" พวกเราฟังต่างก็ยิ้ม เป็นครั้งแรกที่พวกเราไปมัสญิดแบบไม่ต้องทำการสัญญาใดๆ (คิดไปแล้วเทคนิคนี้ก็ได้ผลน่ะ)

ปล.
- สอนน้องต้องค่อยๆ สอน อย่ากดดัน
- เทคนิคนี้อาจใช้ไม่ได้กับทุกคน แต่ถ้าจะลองก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ
- ระหว่างอยู่ในช่วงละหมาด ต้องคอยพูดคุยให้กำลังใจเขา ไม่ไหวให้หยุดก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่
- ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง วิธีนี้จึงจะสำเร็จ

‪#‎ปกครองที่ไม่ใช้อำนาจ_แต่เป็นการปกครองที่ให้กำลังใจ

‪#‎ภาพมัสญิดนูรูดีน บาโงสโต บันนังสตา ยะลา