Skip to main content

 

 

http://www.alhassanain.com/thai/
 
การหมกมุ่นอยู่กับการกินเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ

เดือนรอมฏอนอันจำเริญนับเป็นโอกาสทองสำหรับการเดินทางเข้าสู่ความลี้ลับและรหัสยะของสรรพสิ่งต่างๆ ควรบริโภคอาหารเพียงปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างพลังงานเท่านั้น เพราะไม่มีใครหน้าใหนสามารถพัฒนาตนเองสู่ระดับจิตวิญญาณที่สูงขึ้นด้วยท้องที่อิ่มแปล้

ในคำสอนจริยธรรม (อัคล้าก) อิสลามมีอยู่ว่า "การเติมเต็มที่เลวร้ายที่สุดที่มนุษย์จะทำได้ คือการเติมภาชนะท้องของตนเอง"

เพราะเมื่อใดที่ช่องท้องอัดแน่นด้วยกระยาหาร ช่องทางแห่งการเข้าใจก็จะถูกปิดลง

คนที่กินจุย่อมไม่ไช่คนที่จะเข้าใจอะไรได้อย่างลึกซึ้ง และไม่มีทางจะสามารถหยั่งรู้ถึงความลี้ลับและรหัสยะเชิงลึกของโลกได้เลย

การหมกมุ่นอยู่กับการกินย่อมจะบั่นทอนความมุ่งมั่นและทำให้ศักยภาพมนุษย์ลดลง

ส่วนการรักษาดุลยภาพในการกินดื่มจะส่งผลให้มนุษย์มีอายุที่ยืนยาว, มีสุขภาพกายที่ดี และมีจิตใจที่สว่างไสว

การบริโภคเกินขนาดจะทำให้จิตใจมุ่งคิดเพียงจะย่อยอาหารส่วนเกินและจะทำให้ร่างกายต้องเหนื่อยล้ากับการเผาผลาญมากขึ้น

ท้ายที่สุดก็จะทำให้คนเราเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนกินจุนั้นมักจะไม่ไช่คนอายุยืน

การกินจุจะนำมาซึ่งความเกียจคร้านและความง่วง ในสมัยท่านนบี เมื่อบรรดาเศาะฮาบะฮ์เข้าพบท่านนบีเมื่อใด ท่านนบีจะถามเสมอว่า "มีนิมิตรอันดีงามบ้างหรือไม่?" เมื่อคืนนี้พวกเธอได้ฝันเห็นสิ่งใดอันเป็นนิมิตรหมายอันดีงามบ้าง?

นั่นหมายความว่าการนอนหลับพักผ่อน(ในทัศนะของอิสลาม) มีจุดประสงค์เพื่อจะได้เห็นนิมิตรหมายอันดีงามในยามฝัน มิไช่ระดมกินกันให้อิ่มแปล้เพื่อจะนอนหลับให้ยาวนานยิ่งขึ้น

มีชายคนหนึ่งได้เรอต่อหน้าท่านนบี ท่านนบีกล่าวแก่เขาว่า จงบริโภคให้น้อยลง คนเราไม่ควรกินมากจนกระทั่งเรอในวงสนทนา "จงบริโภคให้น้อยลง เพราะผู้ที่หิวโหยที่สุดในวันกิยามะฮ์ก็คือคนที่อิ่มแปล้ที่สุดในโลกนี้"

เล่าจากท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลี อิบนิ อบีฎอลิบว่า วันหนึ่งท่านถามสหายที่ช่วยทำสวนว่า ท่านมีอาหารหรือไม่?

เขาตอบว่า กระผมมีอาหารธรรมดาๆซึ่งคงไม่เหมาะกับท่านอย่างแน่นอน มันเป็นแค่ฟักที่กระผมปรุงโดยไม่มีน้ำมัน

ท่านกล่าวว่า "จงเตรียมสำรับเถิด" แล้วท่านก็ล้างมือและรับประทานอาหารดังกล่าว หลังจากนั้น ท่านชี้ยังท้องของท่านแล้วกล่าวว่า "ท้องนี้อิ่มได้ด้วยอาหารธรรมดาๆ ช่างน่าสังเวชคนที่ถูกท้องของตนเองนำพาสู่ไฟนรก"(ด้วยการละเมิดผู้อื่นเพื่อ ให้ตนเองได้กินอาหารโอชาที่หลากหลาย)

จากหนังสือ"ปรัชญาแห่งอิบาดะฮ์" ประพันธ์โดย อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี