บทบาทชนชาติเติร์ก
วันนี้อาจารย์หลายท่านก็พูดถึงการเมืองตุรกีในปัจจุบันกันไปแล้ว ทางนี้ก็เลยขอพูดถึงแง่มุมอื่น ๆ จากประวัติศาสตร์บ้าง เก็บจากการอ่านและการฟังบรรยาย
โลกมุสลิมในฝั่งเอเชียในศตวรรษแรกๆ ของอิสลามประกอบไปด้วย อาหรับ ตั้งแต่คาบสมุทรอาหรับ มายังซีเรียและอิรัก, เปอร์เซีย คือ อิหร่านในวันนี้, เติร์ก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศตุรกีในปัจจุบัน สามชนชาตินี้มีลักษณะไม่เหมือนกัน
ชาวอาหรับ อยู่ในฐานะที่รับอิสลามมาช่วงแรก มีบทบาทในการเป็นอุละมาอ์(ผู้รู้)และผู้ปกครองในระยะแรกเริ่ม ... ขณะที่เปอร์เซียตามมาติดๆ โดยถูกยึดครองดินแดนมาตั้งแต่สมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ บิน ค็อฏฏอบ อิทธิพลของเปอร์เซียไหลทะลักเข้ามาในโลกมุสลิมหลังจากการย้ายเมืองหลวงคิลาฟะฮฺไปยังแบกแดด ชาวเปอร์เซียเป็นพวกศิลปิน เป็นพวกนักคิดเก่า มีงานวรรณกรรมมากมาย เพราะฉะนั้นจึงมีอิทธิพลทางความคิดสูงมาก
ส่วนชาวเติร์กเข้ามาในโลกมุสลิมในฐานะนักรบ มีความเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจ เป็นความพิเศษที่ปรากฏอยู่ตลอดประวัติศาสตร์ จนกระทั่งชนชาติเติร์กกลุ่มหนึ่งสามารถตั้ง #ราชวงศ์อุษมานียะฮฺ ได้ในปลายศตวรรษที่ 13 หลังมองโกลทำลายแบกแดดได้ไม่นานนัก โดยเป็นราชวงศ์มีอายุประมาณ 600 ปี และยังได้สืบมรดกของการเป็นคิลาฟะฮฺต่อมาอีกด้วย ก่อนจะล่มสลายไปในปี ค.ศ.1924 (คือการล่มสลายไปของสถาบันคิลาฟะฮฺนั่นเอง) ถือเป็นราชวงศ์คิลาฟะฮฺที่ยาวนานที่สุดในโลกอิสลาม เพราะฉะนั้นเติร์กจึงมีอิทธิพลในทางอำนาจ ... ความรู้สึกพวกนี้ยังคงฝังอยู่ในสายเลือดของพวกเขา
หลังจากสาธารณรัฐตุรกีก่อตั้งขึ้น ตุรกีก็กลายเป็น #รัฐเซคคิวลาร์ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ยกเลิกระบบต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับอิสลาม ปกครองภายใต้อิทธิพลของทหาร ต่อมาภายหลังช่วงปลายศตวรรษได้มีพรรคการเมืองฝ่ายอิสลามเริ่มได้รับความนิยมก้าวขึ้นมามีอำนาจปกครอง ภายใต้การนำของ "นัจญมุดดีน อัรบาคาน" ที่ได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงสั้นๆ ก่อนจะถูกทหารแบนพรรคการเมือง และต้องลงจากอำนาจ ... แต่ต่อมาพรรคในแนวทางของเขาถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในชื่อใหม่ภายใต้ผู้นำรุ่นใหม่ๆ ในชื่อพรรคยุติธรรมและพัฒนา ภายใต้ผู้นำที่เข้มแข็งคือ “เรเจพ ทายยิบ เเอร์โดก์อาน” ... หลังปี 2000 เป็นต้นมา ถือว่าเป็นยุคสมัยของเขาและพรรคของเขาโดยแท้
ภายหลังการขึ้นมาของผู้นำคนนี้ ตุรกีก็กลับมามีอิทธิพล มีกำลัง กลายเป็นมหาอำนาจย่อม ๆ เศรษฐกิจเป็นอันดับ 16 ของโลก ประกาศตัวเป็นฝ่ายอิสลาม(ที่เติบโตในรัฐเซ็คคิวลาร์อยู่)และให้ความช่วยเหลือโลกอิสลามอย่างชัดเจน... เป็นเรื่องที่เราต้องมองย้อนกลับไปแล้วจะเข้าใจว่า จิตวิญญาณอิสลามและความยิ่งใหญ่ในอดีตมันยังอยู่ในความรู้สึกหรือตกทอดอยู่ในอารมณ์ของคนที่นั่นซึ่งมันฟื้นขึ้นมาได้ไม่ยาก
ความเป็นออตโตมันเติร์ก 600 ปี (6 ศตวรรษ) ของการเป็นรัฐคิลาฟะฮฺที่นั่น มันยาวนานที่สุดในการมีคิลาฟะฮฺที่มีเอกภาพ แม้แต่อับบาสียะฮฺและอุมะวิยะฮฺซึ่งเป็นคิลาฟะฮฺที่เป็นชาวอาหรับก่อนหน้านั้น ก็ไม่สามารถเทียบได้กับความยาวนานของคิลาฟะฮฺที่นี่ได้ ... ออตโตมันเติร์กมีความเป็นเอกภาพและยิ่งใหญ่ในเรื่องของอำนาจมากกว่าอับบาสียะฮฺที่อยู่ที่แบกแดด สิ่งที่อยู่ในร่องรอยของประวัติศาสตร์มันเป็นความต่อเนื่องที่ไม่ได้สูญหายไป การฟื้นกลับมาของความรู้สึกแบบออตโตมานเติร์กยังอยู่ในความรู้สึกของคนตุรกี ... ออตโตมานเติร์กมีประวัติศาสตร์การควบคุมโลกอิสลามในด้านตะวันตกมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นความเป็นมหาอำนาจของชนชาตินี้มันฟื้นขึ้นมาง่ายในรูปแบบของความยิ่งใหญ่ทางการต่อสู้เพื่อพิทักษ์โลกอิสลาม
ความเป็นมุสลิมที่มีบทบาทยาวนานเช่นนี้ของคนเติร์กได้กลับมา และประธานาธิบดีเเอร์โดก์อาน กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมุสลิมในแบบอุษมานียะฮฺ ... ความรู้สึกเป็นผู้ปกป้องโลกมุสลิมยังอยู่ในความรู้สึกของพวกเติร์กและมันได้กลับคืนมาอีกครั้ง