มูลค่าทางเศษรฐกิจที่สังคมไทยสูญเสียไปจากปัญหายาเสพติด
โดย รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์
เขียนโดย นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
ขอบคุณภาพจาก http://region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=3804
นับเป็นข้อดีหนึ่งของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล และ ความสร้างสรรค์ของนักเศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎี ที่สามารถผลิตนวัตกรรมในรูปสมการและวิธีการในการประมาณมูลค่า ของหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นนามธรรม ให้มาเป็นตัวเลขได้ ปัญหายาเสพติดก็เช่นกัน ถ้าจะบอกว่ามันสร้างความเสียหายให้กับสังคมเท่าไหร่ เราคงมีคำเป็นล้านๆคำในการอธิบายความเสียหายที่มันทำต่อภาพรวมสังคมได้ แต่ทั้งหลายทั้งมวลนั้น นับเป็นตัวเลขได้อย่างไรบ้าง
ความจริงแล้วทฤษฎีในการประมาณการต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมของปัญหายาเสพติด มีหลายทฤษฎีที่นำมาใช้ แต่แบบแผนในการประเมินของรัฐบาลไทยได้ทำนั้น ประเมินจากต้นทุน 5 ประเภทดังนี้ (ตามแนวคิดของ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์)
1.ต้นทุนนโนบายยาเสพติดของภาครัฐ
เป็นการรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายรัฐบาล โดยรัฐบาลไทยได้จำแนกผู้ดำเนินนโยบาย และชุดนโยบายยาเสพติดเป็นสามประเภท คือ การป้องกัน การปราบราม และการบำบัด ตัวเลขการประมาณการที่อยู่ในหมวดนี้ในช่วงปี 2551-2558
นักโทษยาเสพติดชายเทียบกับนักโทษคดีทั่วไป เพิ่มขึ้นจาก 55% เป็น 71%
นักโทษยาเสพติดหญิงเทียบกับนักโทษคดีทั่วไป เพิ่มขึ้นจาก 71% เป็น 82%
งบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้นสูงมากจาก 217 ล้านบาทในปี 2542 เป็น 10,700 ล้านบาทในปี 2559 ในรอบ 17 ปี เพิ่มขึ้นถึง 50 เท่า
2.ต้นทุนด้านผลิตภาพการผลิต
อันนี้เป็นต้นทุนที่มีมูลค่าสูงสุดในการประเมินนี้ (ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งมีค่าที่สุดที่เราสูญเสียไปจากปัญหายาเสพติด) ต้นนี้ประเภทนี้ประมาณการจากการสูญเสียผลิตภาพการผลิต อันได้แก่การสูญเสียกำลังของผู้ใช้ยาเสพติดที่ส่นใหญ่จะเป็นวัยแรงงาน การสูญเสียเวลาที่เป็นต้นทุนในการผลิตมาใช้กระบวนการยาเสพติด ในช่วงระหว่างปี 2551-2558 มีความสูญเสียประมาณ 529,814-902,386 ล้านบาท
3.ต้นทุนของการก่ออาชญากรรม
ต้นทุนรวมของการก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งในภาครัฐและเอกชนระหว่างปี 2550-2558 มีมูลค่าระหว่าง 38,790-106,879 ล้านบาท
แยกเป็นต้นทุนของภาคเอกชนประมาณ 2,500-4,400 ล้านบาท และต้นทุนของภาครัฐในการก่ออาชญากรรม(การติดสินบนจนท.รัฐ และการตอนยาของตำรวจ) อีกประมาณ 18,000-100,000 ล้านบาท
4.ต้นทุนของสังคม
ต้นทุนทางสังคมที่สูญเสียผลิตภาพวัยแรงงานจากโรคปอดอักเสบและโรคเอดส์ระหว่างปี 2551-2557 ราวๆ 26,880 ล้านบาท
ต้นทุนทางสังคมที่สูญเสียผลิตภาพวัยแรงงานจากการเสียชีวิตด้วยยาเสพติดระหว่างปี 2550-2557 ราวๆ 2,448 ล้านบาท
5.ต้นทุนของนักโทษในระบบยุติธรรม
หมวดนี้เป็นการประมาณจาก ต้นทุนของนักโทษเด็ดขาดที่ต้องเสียค่าปรับให้แก่ศาลและ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของนักโทษยาเสพติดที่อยู่ในการควบคุมของกระบวนการยุติธรรม มีมูลค่าประมาณ 693,284 ล้านบาท
รวมแล้ว ตั้งแต่ปี 2551-2558 มูลค่าความเสียหายของสังคมไทยจากปัญหายาเสพติดอยู่ในระหว่าง 1.153-1.559 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.8-18.9 ของ GDP เฉลี่ยในปีงบระมาณ 2550-2558
ไม่ว่าจะมองในมุมระดับปัจเจกที่ยาเสพติดพรากโอกาสและชีวิตที่ดีของคนไทยนับล้าน
มองในมุมของครอบครัวที่เสียสมาชิกและทรัพสินเงินทองของครอบครัวให้กับยาเสพติดและปัญหาที่ตามมาของยาเสพติด
หรือมองในมุมของภาครัฐที่ต้องดูแลภาพรวมยาเสพติดในระดับนโยบาย
มองมุมไหน ยาเสพติดก็เป็นสุดยอดมหันตภัยในสังคมไทยอย่างแท้จริง
ข้อมูลประกอบจากเอกสารการบรรยายเรื่อง ทิศทางของนโยบายยาเสพติดโลกหลังการประชุม UNGASS (2016) กับการพิจารณาทบทวนกฏหมายและการตีความของไทยเกี่ยวกับยาเสพติด
ประเด็น ข้อบ่งชี้ความล้มเหลวของการทำยาเสพติด การเพิ่มขึ้นของคน งบประมาณ คดี และนัดโทษ