Skip to main content

ความล้มเหลวในการพยายามล้มอำนาจรัฐของกลุ่มที่เป็นภัยแห่งความมั่นคงของชาติในตุรกีเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๙ ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อสถานการณ์โลกอย่างน่าสนใจ

 

 

มันส่งผลให้นโยบายต่างประเทศของชาติมหาอำนาจถูกปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ โดยต่างฝ่ายต่างจดจ่อต่อสถานการณ์ในดินแดนที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรปอย่างม่ีนัยสำคัญ

 

การเมืองในตุรกีมีปัจจัยซับซ้อนและสืบทอดความยุ่งยากนี้มาอย่างยาวนาน ด้วยบริบทที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของโลก และประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นในหลายอารยธรรมส่งต่อผ่านกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ความเคลื่อนไหวในตุรกีทุกวันนี้ กลายเป็นสิ่งต้องเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจในความเป็นไปของโลก โดยเฉพาะโลกปัจจุบันที่อ่อนไหวเหลือคณา เหตุการณ์ในที่หนึ่ง ส่งผลให้มีผลลัพธ์อีกที่หนึ่งได้ไม่ยากเหมือนอดีต

 

ปกติแล้วดินแดนแห่งนี้ประสบเหตุการณ์ "รัฐประหาร" ได้บ่อยครั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ซับซ้อนและขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในสังคม แต่ความพยายามรัฐประหารครั้งที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นถึง "ความไม่ปกติ"

 

กลุ่มอำนาจที่เข้มแข็งที่สุดในตุรกีคือ"ประชาชน "ผู้รักความถูกต้องของตัวบทกฏหมาย ที่ต่างออกมาปกป้อง "รัฐบาล" ที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้การนำของ "ประธานาธิบดีแอร์โดอาน" ผู้โด่งดัง

 

แม้นจะมีบางส่วนที่ไม่เคยเห็นด้วยกับนโยบายของท่านประธานาธิบดี แต่ก็เข้าใจถึงความเจ็บปวดและลำบากภายใต้การปกครองของกลุ่มที่ฉกฉวยผลประโยชน์อย่างไม่ชอบธรรม ผิดกฎหมาย และปล้นอำนาจประชาชน

 

ความล้มเหลวในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ จึงสื่อไปด้วย "ชัยชนะของประชาชน" ได้ในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน

 

เช่นกันที่ช่วงเวลานี้มีการกล่าวหาและพยายามพิสูจน์ถึงภัยแห่งความมั่นคงของชาติ โดยมุ่งเป้าไปยังกลุ่มอำนาจของฝ่าย "เฟตุลเลาะห์ กูเลน" ชายชราวัย ๗๕ ปี ที่ลี้ภัยอยู่ในเพนซิเวเนียร์ สหรัฐอเมริกา

 

เป็นที่ทราบกันว่า "กุเลน" เป็นชายที่มีอำนาจซ้อนรัฐและมีบริวารมากมายในทุกวงการ เขาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม "ฮิชเม็ต" ขึ้นมาในรูปแบบการช่วยเหลือด้านการศึกษา สาธารณสุข ธุรกิจ เงินทุน ที่มีเครือข่ายทั่วโลก

 

ความเคลื่อนไหวในเชิงการเมืองของผู้นำตุรกีและฝ่ายกุเลนข้างต้นนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในชั่วระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการต่างประเทศของมหาอำนาจ การจัดการระบบราชการภายในตุรกีเอง การเปลี่ยนกฏหมายบางประการเพื่อความปลอดภัยของรัฐ และเช่นกันที่มีผลกระทบต่อทุนการศึกษาของตุรกีที่ได้รับการทบทวนขนานใหญ่อีกรอบ

 

การเสวนาคราวนี้ได้รับการสนใจจากหลายๆท่าน แม้ว่าจะเลิกกันค่อนข้างดึก แต่บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ข้อมูลที่ไม่เคยรับรู้ต่างได้รับการแลกเปลี่ยนจากวิทยากรที่ใช้ชีวิตและศึกษาในตุรกีอย่างเข้มข้น

 

ในฐานะพิธีกร...ยังไม่อิ่มครับ เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่สามารถนำมาถักทอร้อยเรื่องราวเป็นฐานของการเรียนรู้ ในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่

 

"‪#‎สถานการณ์ที่เปราะบาง_สังคมจึงต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง"

ตุรกี กำลังอยู่ในบริทบทนี้ ในขณะที่มหาอำนาจต่างใจจดใจจ่อรอดูมัน

 

งานเสวนา "ตุรกีศึกษา Turkey and Neo-Ottoman , What happened ? " ณ โรงแรมรีเจนทร์ รามคำแหง ๒๒ จัดโดยกลุ่มบัณฑิตและนักศึกษาอัสสาลาม (AGSA + BAS) เมื่อวันอังคารที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมาครับ

 

‪#‎PrinceAlessandro

02-08-2016