พระเอกและตัวร้ายในการเมืองมีจริงหรือไม่?
-------------------------------------------------------------
โดย ติรมีซี ยามา
ขอบคุณภาพจาก www.findlay.edu
ถ้าพวกเราเข้าใจเกมส์แห่งสนามอำนาจในการเมือง ผมมั่นใจว่าเราจะไม่มองการเมืองแบบเชิงศีลธรรมแน่ ที่มันต้องมีฝ่ายดีกับฝ่ายเลว เหมือนในหนัง ละครที่มีพระเอกและตัวร้าย
ในเกมส์การเมืองหนึ่งมีคนที่อยู่ในสนามอำนาจเท่าไหร่ แต่ละคนมีผลประโยชน์อะไรบ้าง แน่นอนละ พอพูดถึงคำว่าผลประโยชน์ ต่างก็มองไปในเชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ลืมไปว่าแม้แต่อุดมการณ์ก็คือผลประโยชน์ คนๆ หนึ่งฆ่าคนเพื่อสนองอุดมการณ์ของตน โดยอ้างว่าไม่ได้ทำเพื่อเขาเอง แต่ทำเพื่อความเชื่ออะไรบางอย่าง(ในที่นี่อาจจะทำเพื่อพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ) การกระทำนั้นก็เป็นการทำเพื่อ satisfaction ของตัวเอง (มองแบบ realist) ไม่ได้จะบอกว่าการทำเพื่อตัวเองนั้นดีหรือร้าย เพราะมนุษย์ต่างก็มีนัยยะเพื่อตนเสมอ เพราะแน่นอน เขาไม่สามารถทำอะไรที่ขัดกับความเชื่อหรือความสุขของตัวเขาเองได้
เมื่อมองสนามอำนาจในทางการเมือง เราควรตั้งสติแล้วทำความเข้าใจว่ามีใครได้ประโยชน์อะไรบ้าง ผลประโยชน์ตรงนี้เองที่คนในสนามอำนาจต้องใช้พลังในการต่อรองด้วยวิธีต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะด้วยเส้นทางการเมือง ธุรกิจ ราชการ ล้วนแล้วแต่เป็นหนทางไปสู่การสร้างอำนาจต่อรองเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตน แม้บางคนจำทำในนามองค์กรแต่แน่นอนว่านโยบายขององค์กรที่ตนเลือกก็ย่อมสะท้อนหลักการและค่านิยมบางประการของตนที่แฝงอยู่ในองค์กรนั้น แต่ละสถาบันที่อยู่ในวงจรของสนามอำนาจย่อมมีผลประโยชน์หลักที่ตนพึงต้องปกปักษ์รักษาไว้ และผู้ชนะในการต่อรองอำนาจในสนามแห่งอำนาจนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้สร้างความชอบธรรมต่างๆ winner takes all ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทหาร พรรคการเมือง ขั้วอำนาจเก่า-ใหม่ ต่างต้องมา contest กันทั้งสิ้น
ในกรณีนี้หากเราเอา moral perspective มาจับ คงผิดที่ผิดทางเพราะมันแทบจะบอกไม่ได้เลยว่าใครดีเลว เพราะแต่ละสถาบันก็มีการตีความทางจริธรรมของผลประโยชน์ที่ตนมี เพราะทุกสถาบันในสนามอำนาจต่างต้อง survive เพราะถ้าอ่อนแอ ก็จะถูกกำจัดจากวงจรสนามอำนาจนี้ เช่นฝ่ายที่ปกป้อง คสช. ใช่ว่าจะมีผลประโยชน์เหมือนกันหมด เพราะแต่ละสถาบันต่างก็มีความคาดหวังทางผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ในการปกป้องเพื่อที่ผลประโยชน์ของตนจะอยู่คู่กับการอยู่ต่อของสถาบันนี้ ไม่ว่าจะเป็น กปปส. ปชป. สว. ศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มพุทธศาสนิกบางกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของ คสช. และหนทางที่จะให้สถาบันนี้ survive ได้ก็ต้องทำทุกอย่าง เท่าที่อำนาจของตนจะมี ส่วนฝ่ายต้าน คสช. ก็ใช่ว่าจะเห็นไปในทางเดียวกัน ต่างฝ่ายก็มีผลประโยชน์ของตนกับการคว่ำอำนาจ คสช. นี้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เพื่อไทย เสรีนิยมขวาจัด กลุ่มศาสนาต่างๆ ที่ศูนย์เสียผลประโยชน์ในนโยบายของ คสช. ฯลฯ
จะเห็นว่า มันมองการเมืองแบบหนัง ละคร ที่มีพระเอก ตัวร้ายไม่ได้เลย ต่างคนก็ต่างมีผลประโยชน์ของตน มันขึ้นอยู่กับว่าใครมีอำนาจ และจะ justify อำนาจของตนไปในทิศทางใด ใครที่ชนะในสนามแห่งอำนาจนี้ แน่นอนว่าฝ่ายแพ้ในการต่อรองนี้ก็จะถูกมองว่าเป็น political oppositions ซึ่งในเส้นทางการต่อสู้ทางอำนาจ เขาก็จะต้องทำต่อไป ต่อรองต่อไปเพื่อที่จะได้เป็น winner