Skip to main content

Original Link  

 

color:#1D2129">รุมประณามการก่อเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนจนเด็กตายที่ตากใบ

color:#1D2129">หลายฝ่ายขอให้ร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กและพลเรือน ทั้งองค์กรสิทธิ เอ็นจีโอในและนอกประเทศ จุฬาราชมนตรี โรงเรียนสอนศาสนา และผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนหนึ่งต่างแสดงความไม่พอใจและประณามการก่อเหตุวางระเบิดหนหลังสุดที่หน้าโรงเรียนบ้านตาบาที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต color:#1D2129">3 คน บาดเจ็บอีก 7 คน ต่างเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันดูแลเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ขณะที่แถลงการณ์จุฬาราชมนตรีชี้เป็นเรื่องขัดคำสอนทางศาสนาที่ให้ปกป้องผู้อ่อนแอแม้ในยามสงคราม

color:#1D2129">นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียและแปซิฟิกขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวในแถลงการณ์ของกลุ่มระบุว่า เหตุระเบิดที่หน้าโรงเรียนขณะที่พ่อแม่ของเด็กกำลังส่งลูกๆ เข้าเรียนนั้น ถือเป็น color:#1D2129">“ความโหดร้ายที่เกินกว่าจะเข้าใจได้และถึงจะใช้คำว่า อาชญากรรมสงครามก็ยังไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดความหมายของความโหดร้ายที่กระทำต่อเหยื่อและผลกระทบที่กว้างขวางจากการโจมตีเด็กๆ และยังระบุว่า 12 ปีที่ผ่านมามีโรงเรียนกว่า 200 แห่งถูกเผา และเป็นเป้าในการวางระเบิด มีครูถูกสังหารไป 182 คน

color:#1D2129">แถลงการณ์ของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่า แม้จะมีการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและกลุ่มมารา ปาตานี แต่กลุ่มบีอาร์เอ็นก็ไม่ได้ระงับการก่อเหตุต่อเป้าหมายพลเรือน การโจมตีหลายหนที่ผ่านมาถือว่าละเมิดแม้แต่กฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยภาวะสงคราม และอาจถือเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามได้ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยภาวะสงคราม ต้องไม่โจมตีประชาชนรวมไปถึงตำรวจจราจรก็ทำไม่ได้

color:#1D2129">พร้อมกันนั้นได้เรียกร้องให้สหประชาชาติบรรจุชื่อของกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนตลงในบัญชีรายชื่อของกลุ่มใช้อาวุธที่กระทำรุนแรงต่อเด็ก ซึ่งมาพร้อมกับรายงานในเรื่องเด็กในภาวะสงครามของเลขาธิการยูเอ็น โดยระบุว่า หากใส่ชื่อลงไปจะส่งผลให้ยูเอ็นเข้ามามีบทบาทมากขึ้นได้ซึ่งอาจส่งผลยาวไกลไปถึงมาตรการคว่ำบาตรจากคณะมนตรีความมั่นคง

color:#1D2129">อีกด้านหนึ่ง ฮิวแมนไรท์วอทช์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้ความเห็นชอบกับปฏิญญาว่าด้วยโรงเรียนปลอดภัยร่วมกับอีก 55 ประเทศ ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวเป็นการสมัครใจให้คำมั่นในการวางแนวปฏิบัติในการปกป้องนักเรียน ครูและโรงเรียนซึ่งอยู่ในภาวะความขัดแย้งที่มีการสู้รบ อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ของกลุ่มแสดงความกังวลกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกัน โดยชี้ว่า การสังหาร ทำให้สูญหาย การซ้อมทรมาน ไม่ได้เป็นวิธีการที่ควรจะใช้ตอบโต้ความรุนแรงจากอีกฝ่ายหนึ่ง และที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ที่ทำผิดยังได้รับการปกป้องต่อไป

color:#1D2129">ส่วนแถลงการณ์ของจุฬาราชมนตรีที่ออกมาเมื่อ 6 ก.ย. แสดงความเสียใจกับผู้สูญเสีย ขอประณามอย่างรุนแรงกับการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม ถือว่าเป็น การกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม นอกเหนือคำสอนของศาสนาและแบบอย่างที่ดีของท่านนบีมุฮัมหมัด ที่แม้อยู่ในภาวะสงครามเพื่อป้องกันตัวก็ไม่ทำร้ายเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้บาดเจ็บ ผู้ครองตนเป็นพระและนักบวชในศาสนาอื่นๆ ไม่เผาทำลายศาสนสถานของทุกศาสนา

color:#1D2129">แถลงการณ์ของจุฬาราชมนตรีระบุในรายละเอียดในเรื่องของวิธีการต่อสู้ด้วยว่า ท่านนบีมุฮัมหมัดใช้เพียงธนูและดาบซึ่งจำกัดเป้าหมายเพียงผู้รุกราน และจะมุสลิมจะต้องยุติความรุนแรงทันทีที่คู่ต่อสู้ยุติการต่อสู้ แต่การใช้ระเบิดยากแก่การควบคุมทำให้เกิดการสังหารผู้บริสุทธิ์จึงขัดกับหลักการอย่างแท้จริง แถลงการณ์เรียกร้องให้ประชาชนทุกกลุ่มแสดงออกว่าคัดค้านการใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ เรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เอาตัวคนผิดมาลงโทษ ให้มีมาตรการปกป้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่ประชาชน

color:#1D2129">แถลงการณ์ขององค์การยูนิเซฟ ลงนามโดยนายโทมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทยระบุว่า ยูนิเซฟตกใจและเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเรียกร้องทุกฝ่ายร่วมกันสร้างให้โรงเรียนเป็นที่ปลอดภัยและไม่ให้มีเด็กรายใดต้องตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอีก

โรงเรียนต้องเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้ การค้นพบ และนันทนาการของเด็กๆ ไม่ควรมีเด็ก หรือผู้ดูแลเด็ก หรือนักการศึกษาคนใดที่ต้องใช้ชีวิตหรือศึกษาหาความรู้ภายใต้ความกลัวดังเช่นในเหตุโจมตีที่เกิดขึ้นและว่า ยูนิเซฟขอเรียกร้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเด็กจะได้รับการปกป้องและจะไม่มีเด็กรายได้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีก

color:#1D2129">ด้านกลุ่มด้วยใจ และโครงการ color:#1D2129">Children voice for peace ซึ่งเป็นกลุ่มส่งเสริมสิทธิของเด็กและผู้หญิงในชายแดนใต้ระบุว่า เหตุที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงปัญหาการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือสิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection) และการก่อเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนที่มีเด็กอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุจำนวนมากไม่เพียงแต่จะทำให้เด็กได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังไปหยุดยั้งการศึกษาของเด็กๆ ด้วยจากการที่ต้องปิดโรงเรียน และสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยในบริเวณใกล้โรงเรียน รวมทั้งทำให้เกิดความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียน

color:#1D2129">พร้อมกันนั้นได้เรียกร้องผู้ก่อเหตุให้พิจารณาการกระทำในครั้งนี้ว่าบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ หรือว่าได้เกิดผลในทิศทางตรงกันข้าม เพราะการกระทำนี้เป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และ ที่สำคัญ เป็นการกระทำที่ประชาชนทั่วไปไม่อาจรับได้

color:#1D2129">ด้วยใจและโครงการ color:#1D2129">Children voice for peace ได้เรียกร้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยขอให้รัฐบาลไทยและกลุ่ม มาราปัตตานี ซึ่งกำลังเจรจาสันติภาพ หารือและทำข้อตกลงให้โรงเรียนเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ปลอดภัย แต่การพูดคุยอาจมีทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยจึงเป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงในบริเวณโรงเรียนโดยอาศัยความร่วมมือจากประชาชน นอกจากนี้ยังย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายไม่ควรใช้เหตุการณ์นี้เป็นเหตุผลในการยกเลิกกระบวนการสันติภาพ กลุ่มขอให้ทุกคนอดทน อดกลั้น และใช้กระบวนการยุติธรรมในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

color:#1D2129">นอกจากกลุ่มต่างๆดังกล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ร่วมประณาม ทั้งชมรมพุทธรักษาชายแดนใต้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม color:#1D2129">3 จังหวัดชายแดนใต้ และยังมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียในภาคใต้จำนวนมากที่ออกมาประณามการก่อเหตุที่หน้าโรงเรียนหนนี้ มีผู้ไปเยี่ยมเยียนครอบครัวสองพ่อลูกที่เสียชีวิตพร้อมกันตลอดจนแชร์ภาพเด็กกำพร้า อีกด้าน กลุ่มผู้นำศาสนา นักเรียนและประชาชนในตากใบยังได้ร่วมกันประกอบพิธีละหมาดฮายัตเพื่อขอพรพระเจ้าให้สันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ พร้อมทั้งมีการเดินรณรงค์ต่อต้านเหตุการณ์รุนแรงด้วย

 

color:#1D2129">

color:#1D2129">