Skip to main content

 

               กริชรามันห์ เดิมทีในภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า กริชตาจง มีอายุกว่า 1200 ปี อาจารย์พิชัย หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านกริชได้อธิบายว่า ด้ามกริชแบบเดิม ที่มาจาก “หัวยักษ์ที่มีเขี้ยว” โดยเขี้ยวนั้นเรียกว่า   “สือยง”  เจ้าเมืองในสมัยโบราณจะใช้กริชด้ามนี้เมื่อขึ้นบัลลังก์ แต่แล้ววัฒนธรรม “สือยง”ก็ต้องจบลง เพราะ ชาวบ้านในสมัยนั้นเชื่อว่า กริชที่มีสือยง เป็นกริชที่กิน “หัวใจคน”  เจ้าเมืองจึงต้องยกเลิกกริชที่มีสือยงนั้นไป

               ในอดีตสถานที่ทำกริชตั้งอยู่ในหมู่บ้านอาติห์ จังหวัดยะลา แต่ภายหลังได้มีการแบ่งเขตขึ้นทำให้หมู่บ้านอาติห์ในสมัยนั้นเปลี่ยนมาเป็น บ้านหมู่ 3 ตำบลซาวอ อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส กริชรามันห์สมัยนั้นผลิตโดยช่างผู้ชำนาญการเรื่องเหล็ก ที่มีชื่อว่า “ปาแนบือซี”

                “ปาแนบือซี” ถือเป็นช่างที่มีความชำนาญในการทำกริชเป็นอย่างมาก โดยเขาได้ทำกริชให้กับชาวบ้านเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพการทำเกษตร ฝีมือการทำกริชของเขาได้รับการร่ำลือจนทำให้เขาได้รับอุปการะดูแลจากเจ้าเมืองในที่สุด

                ด้วยความที่“ปาแนบือซี”  เป็นคนมีฝีมือในการทำกริช และ อยู่ในการอุปการะดูแลจากเจ้าเมืองจึงไม่แปลกที่เขาจะเป็นคนที่ร่ำรวยในหมู่บ้าน ซึ่งการร่ำรวยของเขาทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน ต่างไม่พอใจ “ปาแนบือซี” เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เขาถูกใส่ร้ายว่าเรื่องชู้สาวกับภรรยาของชาวบ้าน เจ้าเมืองจึงเรียกตัวมาสอบสวน และโดนประหารชีวิตในเวลาต่อมา หลังจากที่ประหารชีวิตผ่านไป 7 วัน “ปาแนบือซี” กลับฝื้นขึ้นมาใหม่ เดินออกจากหลุมฝั่งศพที่ชาวบ้านร่วมกันฝั่ง การฝื้นคืนชีพของเขาทำให้ชาวบ้านต่างตกใจเป็นอย่างมาก จึงนำเรื่องไปทูลกับเจ้าเมืองว่า “ปาแนบือซี” ยังไม่ตาย เขากลับฝื้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

                  เจ้าเมืองจึงเรียกเขาไปพบเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับรับสั่งให้ประหารชีวิตของเขาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ “ปาแนบือซี” เป็นคนที่ชี้แนะถึงการประหารชีวิตของเขาด้วยตัวเองว่า “หากต้องการประหารตัวเขา ต้องประหารให้เป็นสองท่อนและต้องประหารในแม่น้ำ “ละแอ”

                   เมื่อการประหารเสร็จสิ้น ร่างกายที่ไร้วิญญาณของเขาก็ถูกแบ่งออกเป็นสองท่อน  โดยร่างท่อนบน ถูกฝั่งที่แดนประหารแล้วนำหินใหญ่มาปิดหลุดฝั่งศพไว้ และร่างท่อนล่างนำไปฝั่งที่ บ้านละแอ

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :ปราชญ์ชุมชน