Skip to main content

 

 

ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลประกาศเจตจำนงที่จะยุติการใช้การทรมาน อย่างไรก็ดี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบว่าจากการวิจัยในช่วงสองปีที่ผ่านมา การทรมานยังเกิดอย่างแพร่หลายจนน่าตกใจ สมาชิกสภานิติบัญญัติอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งหากผ่านการรับรอง จะเป็นการเอาผิดทางอาญา อย่างชัดเจนกับการทรมาน และสนับสนุนการคุ้มครองเพื่อให้ปลอดพ้นจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย รูปแบบอื่น การประกาศใช้และการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทรมานที่มีเนื้อหาสอดคล้องอย่างเต็มที่กับอนุสัญญา ต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ เป็นขั้นตอนที่จำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการเพื่อยุติการละเมิด ที่ร้ายแรงเหล่านี้ รายงาน “บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้" เปิดเผยข้อค้นพบจากการศึกษาในช่วงสองปีของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเกี่ยวกับการใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายของทางการไทย ด้วยความช่วยเหลือ จากเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รวบรวมคำให้การโดยตรงของผู้ตกเป็นเหยื่อ ข้อมูลจากเอกสารของศาล ประวัติการรักษาพยาบาลและพยานหลักฐานรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทรมาน 74 กรณีที่เกิดขึ้นในบริบทต่าง ๆ ในภาคใต้ของไทย ทหารทรมานบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ส่วนในพื้นที่อื่น ๆ ทางการได้ทรมานหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนทำผิดในคดีการเมือง หรือกระทำความรุนแรงทางการเมือง ผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด แรงงานข้ามชาติและประชากรกลุ่มอื่น ๆ บทสรุปผู้บริหารนี้ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันองค์กรซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายในประเทศไทยและให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติที่มิชอบเช่นนี้ ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป

 

DOWNLOAD PDF

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ www.amnesty.org