อิสราเอลหลายพันคนรวมตัวเรียกร้องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์
แปลบทความใน Mintpress News เรื่อง “Thousands Of Israelis Take To The Streets Calling For Palestinian Genocide” วันที่ 6 ตุลาคม 2016
เขียนโดย: Whitney Webb แปลโดย : ดร.มาโนชญ์ อารีย์
ทั้งที่มีการรณรงค์ทางเฟสบุ๊คและการเดินขบวนเรียกร้องให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ แต่สื่อกระแสหลักของตะวันตกและสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟสบุ๊คกลับเพิกเฉยไม่มีการนำเสนอใด ๆ
อิสราเอลได้กล่าวหาชาวปาเลสไตน์และพันธมิตรของพวกเขามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อเดือนตุลามคมของปีที่แล้ว (2015) ว่าทำการปลุกปั่นความรุนแรงต่อต้านชาวอิสราเอล ซึ่งจริง ๆ แล้วจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไป 230 คน ในขณะที่ชาวอิสราเอลเสียชีวิตไปเพียง 34 คน ความรุนแรงในครั้งนั้นอิสราเอลถูกประณามอย่างหนักจากนานาประเทศเพราะอิสราเอลได้รุกล้ำเขตเวสต์แบงก์ของชาวปาเลสไตน์
ขณะนี้รัฐบาลอิสราเอลได้อ้างความกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงเข้าจับกลุ่มชาวปาเลสไตน์จำนวนมากในฐานความผิดของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาที่อาจนำไปสู่การก่ออาชญากรรม โดยในปีนี้ชาวปาเลสไตน์ถูกจับไปด้วยข้อหาเหล่านี้แล้ว 145 คน การกระทำเช่นนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างเฟสบุ๊คและรัฐบาลอิสราเอล อีกทั้งยังนำไปสู่การแบนบัญชีเฟสบุ๊คของนักข่าวชาวปาเลสไตน์หลายคน รวมทั้งสำนักข่าวต่าง ๆ อีกด้วย
กระนั่นก็ตาม สื่อกระแสหลักของตะวันตกและสื่อสังคมต่าง ๆ กลับพากันนิ่งเฉย ไม่มีทีท่าจะประณามการกระทำที่เป็นการปลุกปั่นของอิสราเอลที่ต่อต้านชาวปาเลสไตน์ มันดูเสหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่พวกเขาไม่ให้ความสนใจนัก ทั้ง ๆ ที่ขบวนประท้วงต่อต้านชาวปาเลสไตน์ มีการชูภาพและข้อความต่าง ๆ ที่เรียกร้องการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เช่น “ฆ่าคนชาติอาหรับให้สิ้นซาก” “ฆ่าพวกมันให้หมด” จึงเป็นเรื่องน่าแปลกหากจะบอกว่าเป็นเรื่องปกติ หรือเรื่องเล็ก (สำหรับสื่อตะวันตก)
แม้แต่หนังสือพิมพ์ Times of Israel ยังเคยนำเสนอบทความเชิงเสนอแนะ เรื่อง “เมื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นที่อนุมัติ” (ปี 2014) โดยอ้างถึงการกระทำของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ แม้บทความนี้จะถูกถอดออกไปจากเว็บไซต์ แต่มันก็ชี้ให้เห็นถึงมุมมองความคิดที่อันตรายเมื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ถูกมองเป็นเรื่องปกติโดยสื่อสังคม รัฐบาลอิสราเอล และสื่อกระแสหลักของตะวันตก ที่เพิกเฉยเรื่องพวกนี้อย่างง่ายๆ
สำนักข่าวอิสราเอลบ้างสำนักยังได้เลือกปฏิบัติในกรณีการโพสต์ข้อความทำนองเดียวกัน (ในเฟสบุ๊คของคนอาหรับปาเลสไตน์ และยิวอิสราเอล ซึ่งแสดงข้อความว่าพวกเขาจะฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อคนอาหรับตอบโต้ด้วยการโพสต์ข้อความต้องการแก้แค้นอิสราเอลด้วยการสังหารคนยิวจะถูกสื่อนำเสนอว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคง แต่การโพสต์ตอบโต้เพื่อการแก้แค้นในลักษณะเดียวกันของคนอิสราเอลให้ฆ่าคนปาเลสไตน์ สื่อกลับเพิกเฉย) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเฟสบ๊คและอิสราเอลมีการปฏิบัติต่อกรณีการเรียกร้องสู่การแก้แค้นของคนอิสราเอลกับคนปาเลสไตน์ที่แตกต่างกันมาก (An Arab, a Jew and a Facebook post: How similar words are treated differently, The Washington Post)
แม้กระทั่งองค์กรสื่อและสื่อสังคมต่าง ๆ ยังเพิกเฉยต่อการเดินขบวนต่อต้านชาวปาเลสไตน์ครั้งใหญ่เมื่อเดือนเมษายน (2016, Media Ignores Jews’ Hate Really, the New Observer) ณ กรุงเทลอาวีฟ ทั้งที่ขบวนต่อต้านนี้เรียกร้องการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวปาเลสไตน์ ผู้ชุมนุมหลายพันคนตะโกนว่า “ฆ่าอาหรับให้สิ้นซาก” การเดินขบวนยังมีเป้าหมายเพื่อแสดงการสนับสนุนทหารอิสราเอลที่สังหารชาวปาเลสไตน์ซึ่งกำลังบาดเจ็บอยู่แล้วด้วยการยิงเข้าที่หัวของเขา
ทหารคนนั้นชื่อ Elor Azaria ถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมจากกรณีการสังหารชาวปาเลสไตน์คนดังกล่าวในเมือง Hebron เขตการปกครองตนเองของปาเลสไตน์ ซึ่งในเมือง Hebron นี้มีชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมายแต่กลับได้รับการปกป้องจากกองกำลังทหารของอิสราเอล ทำให้เกิดการปะทะกันบ่อยครั้งระหว่างคนอิสราเอลกับชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่
การเดินขบวนต่อต้านชาวปาเลสไตน์ที่เทลอาวีฟ มีคนอิสราเอลเข้าร่วมประมาณ 2000 คน มีคนดังคนมีชื่อเสียงในวงการบันเทิงเข้าร่วมด้วยหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนักร้องดังอย่าง Maor Edri, Moshik Afia, and Amos Elgali รวมทั้งแร๊ปเปอร์ชื่อดังอย่าง Subliminal โดยในขบวนมีการตะโกนว่า “ Elor (ทหาร) คือวีรบุรุษ” พร้อมกับเรียกร้องให้ปล่อยตัวทหารคนนั้น ผู้หญิงคนหนึ่งในขบวนชูป้ายข้อความว่า “Kill Them All” (ฆ่าพวกมันให้หมด)
ทั้ง ๆ ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการแสดงความอาฆาตพยาบาทและการปลุกปั่น (ความรุนแรง) แต่ผู้รายงานข่าวชาวยิวที่ลงพื้นที่ชุมนุมยังแสดงความเห็นว่า “มันดูเหมือนเป็นการเฉลิมฉลองให้กับการฆาตกรรมมากกว่า” ซึ่งจินตนาการได้ไม่ยากเลยว่าการตอบโต้ (จากอิสราเอล) จะเป็นอย่างไร หากฝ่ายสนับสนุนปาเลสไตน์เดินขบวนในลักษณะเดียวกันแล้วเรียกร้องให้ฆ่าชาวยิว การแบ่งแยกที่เห็นกันอยู่โทนโทระหว่างอะไรที่ทำได้สำหรับชาวปาเลสไตน์ อะไรที่ทำได้สำหรับชาวอิสราเอล ควรเป็นประเด็นที่ผู้คนตระหนักรู้ เมื่อองค์กรสื่อและสื่อสังคมต่าง ๆ รัฐบาลหลาย ๆ แห่ง ไม่มีความเป็นกลาง มีอคติ พยายามปิดหูปิดตาผู้คนไม่ให้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
----------------------------------------------------------------------------
งานแปลเพื่อการบริการข้อมูลภายใต้ “โครงการศึกษาอิสลามการเมืองและโลกมุสลิม” ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการศึกษาอิสลามการเมืองและโลกมุสลิม จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการศึกษาและบริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในแวดวงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในโลกมุสลิม โดยมุ่งผลิตผลงานวิชาการและสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัย บทความวิชาการ งานแปล การจัดเสวนาวิชาการ และภารกิจอื่น ๆ