Skip to main content

ในการบรรยายของคุณหมอรอย และ นักจิตวิทยาคลีนิค คุณ ตอยบี 

ได้แนะนำว่าในกรณีที่เด็กได้รับผลกระทบทางอ้อมคือเด็กในครอบครัวเหยื่อ ครอบครัวผู้ต้องขัง ครอบครัวผู้ที่ถูกวิสามัญฆาตกรรม เด็กอยู่ในเหตุการณ์ การปิดบังข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจะทำให้เด็กตีความความสามารถทางสติปัญญาของเขาเอง อาจจะจินตนาการไปทางลบ และ อาจจะแสดงออกเมื่อเขาโตแล้ว

 

ดังนั้นผู้ที่เป็นแม่ หรือ พ่อ หรือ ผู้ปกครอง จะต้องค่อยๆอธิบายไปที่ละนิด ทีละหน่อย ตามช่วงอายุไปเรื่อยๆ ชวนคุย และการแสดงบทบาทไม่ต้องเปลี่ยนตัวเองเช่น ตนเองเป็นแม่และพยายามแสดงบทบาทความเป็นพ่อ แต่ควรแสดงบทบาทความเป็นแม่ที่ดีที่สุดให้เขาเห็น หรือถ้าเป็นพ่อก็แสดงบทบาทความเป็นพ่อที่ดีที่สุดให้เขาเห็น

 

มีแม่ที่เขาปิดบังเหตุการณ์ตลอดมา 9 ปี เพราะกลัวลูกจะไปแก้แค้นเพราะลูกอยู่ในเหตุการณ์ตอนพ่อถูกยิง ถึงกลับร้องไห้เลยทีเดียวเมื่อได้ยินสิ่งที่เป็นปมในใจตนเอง

 

12 ปี การเยียวยา มีเรื่องที่ต้องทำมากมายเลย อาจจะถึงเวลาที่เราควรรื้อระบบการเยียวยา โดยมาดูที่รายละเอียดกัน เช่น วิธีการที่ผู้ปกครองจะสื่อสารกับเด็ก ควรมีการแลกเปลี่ยน และ เล่นบทบาท การสื่อสาร เมื่อเด็กสูญเสียผู้ปกครองหรืออยู่ในเหตุการณ์ จุดเล็กๆที่สำคัญเพราะ เป็นการสร้างเด็กให้โตภายในความขัดแย้งโดยไม่มีปมในใจ