Skip to main content

ระเบิดโต้รุ่ง ผ่านมา 8 วัน แล้ว นอกจากความระทมทุกข์ของผู้ที่ต้องสูญเสียสภาพร่างกายที่ปกติ เยาวชนต้องตัดขาและสูญเสียโอกาสทางการศึกษา เด็กน้อยที่ต้องอยู่กับผู้ดูแลเพราะแม่ต้องรักษาตนเองอยู่ ที่โรงพยาบาล
เรายังไม่เห็นแนวทางการเฝ้าระวังและการปกป้องตนเองเลย เราได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดที่ผู้ก่อเหตุได้นำระเบิดมาวางในช่วงเวลา 5:40 น และ ระเบิดเกิดในช่วงทุ่มกว่า ซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า

1 ไม่มีการตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่มีอยู่ในช่วงวันเลยไม่ว่ากล้องนั้นจะเป็นกล้องวงจรปิดของเอกชนหรือหน่วยงานราชการ

2 ไม่มีการตระเวนตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังป้องกันเขตเมืองในช่วงเวลา 05:40 – 19:00 น หรือ การตรวจนั้นไม่รอบคอบดีพอ

3 ประชาชนไม่ได้ระมัดระวังตนเองในการสังเกตวัตถุสิ่งของผิดปกติ ในแต่ละวันถึงแม้ประชาชนจะรู้ดีว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง และพื้นที่นี้ก็เคยเกิดเหตุการณ์มาแล้ว

ถึงเวลาหรือยัง ที่ประชาชนควรจะเรียนรู้ในการป้องกันตนเอง และ ให้การช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานรัฐในการสร้างความปลอดภัยให้กับตนเอง

กลุ่มด้วยใจเคยทำรายงานเรื่องการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้ง จึงอยากนำเสนออีกครั้งเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองต่อไป

การลดความเสี่ยงของเด็ก

1) สถานที่
เป้าหมายของการวางระเบิด หรือ พบวัตถุต้องสงสัย ตามสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะพบในที่ ชุมนุมชน ห้างร้านต่างๆ เส้นทางสัญจร ร้านค้าตามจุดพัก จุดผ่าน จุดตรวจของเจ้าหน้าที่ ขึ้นอยู่กับผู้วางจะวางที่ใดและ กำหนด ให้ระเบิดแบบใด
ดังนั้นเด็กควร
• อยู่ห่างจากพื้นที่ที่เกิดระเบิด หลายกรณีที่เกิดเหตุแล้วมีไทยมุงแล้วเกิดระเบิดซ้ำ
• ผู้ปกครองเด็กควรสำรวจว่าตัวเองเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ล่อแหลมหรือเปล่าหลีกเลี่ยงการใช้สถานที่ที่สุ่มเสี่ยง หรือให้เด็กร่วมเดินทางด้วย
• ระวังเรื่องเวลา สถานที่ ของการเดินทาง ซึ่งบางพื้นที่ไม่ควรไปเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ก็ควรเลี่ยงการเดินทาง ไปยังสถานที่นั้นๆ
• ควรมีการสอดส่องดูแลลูกหลานของตัวเองอย่าให้ออกจากบ้านนาน หรือไม่ทราบว่าไปอยู่ไหน อาจจะมีความเสี่ยงที่จะประสบเหตุ
2) หลักการสังเกตสิ่งต้องสงสัย
• เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ ต้องสอบถามเจ้าของก่อนว่ามีเจ้าของหรือไม่
• เจอวัตถุที่ไม่รู้จักมาก่อน วางอยู่ในจุดที่สังเกตได้ ไม่เคยเห็นมาก่อน
• เจอวัตถุที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะอยู่
• มีวัตถุที่ดูแล้วน่าจะเป็นความเสี่ยงที่จะเป็นวัตถุระเบิด ดูแล้วไม่เรียบร้อย อาจจะมีลักษณะการพันเทป ใส่กล่อง ซึ่งไม่น่าจะปกติ
3) ระยะที่ปลอดภัยจากวัตถุระเบิด
• ควรอยู่ห่าง 100 เมตร หากวัตถุเป็นกล่องเล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นกล่องเหล็ก
• ควรอยู่ห่าง 200 เมตร หากเป็นถังดับเพลิง รถจักรยานยนต์ ถังแก๊ส
• ควรอยู่ห่าง 400 เมตร หากเป็น รถยนต์ (car bomb)
• หาที่ปลอดภัยจากแรงระเบิด โดยดูขนาดของระเบิด ซึ่งการหลบหลังกำแพงจะสามารถช่วยได้ สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ปลอดภัยคือ การสังเกตสิ่งผิดปกติมากที่สุด
• ยางนอกรถยนต์ สามารถช่วยลดระยะอันตรายของแรงระเบิดและสะเก็ดระเบิดได้ โดยซ้อนกันหลายวง ควรวางยางซ้อนสูงอย่างน้อย ๒ – ๓ ชั้น
• ยางล้อเครื่องบิน เนื่องจากยางมีความหนาและขนาดใหญ่ สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ดระเบิดได้ดี กับระเบิดแสวงเครื่องที่เป็นหีบห่อขนาดเล็กและขนาดกลาง
• กระสอบบรรจุทราย สามารถใช้ป้องกันแรงระเบิดและสะเก็ดระเบิดได้ดี โดยการนํามาวางเรียงรอบวัตถุต้องสงสัยห่างพอสมควร อย่างน้อย ๒-๓ แถว ความสูงขึ้นอยู่กับพื้นที่รอบบริเวณนั้น เมื่อเกิดการระเบิดจะเสียหายเพียงใดควรวางให้สูงอย่างน้อย ๔-๕ ชั้น
ข้อแนะนําเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่า เมื่อพบวัตถุต้องสงสัยต้องทำอย่างไร สิ่งของที่พบเห็นนั้นเป็นวัตถุต้องสงสัยหรือไม่นั้นจะต้องเป็นสิ่งของที่
เมื่อพบสิ่งของที่เข้าหลักเกณฑ์ เป็น วัตถุต้องสงสัย เพื่อความปลอดภัย สําหรับเด็กควรปฏิบัติตามข้อแนะนําดังต่อไปนี้.
1. ห้าม (แตะ/จับ/ขยับ/เคลื่อน)
2. ถาม (ถามหาเจ้าของ)
3. จดจำ (มองสิ่งสงสัย รูปร่าง/ลักษณะต่างๆ)
4. นำรายงาน (แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถที่จะเฝ้าระวังความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการสังเกตดังต่อไปนี้
1. บุคคล คือ ผู้ที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ของท่าน หรือเป็นบุคคลแปลกหน้าที่มาเฝ้าสังเกตใกล้สถานที่ของท่านโดยอาจนําสิ่งของติดตัวมา เพื่อการลอบวางระเบิดและดูแลหน้าบ้านว่ามาสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ และ อะไร
2. สิ่งของ คือ สิ่งของที่ผู้เข้ามาในบริเวณสถานที่ของท่านนําติดตัวมา เช่น กระเป๋า กล่องบรรจุสิ่งของ ถุงต่างๆ ฯลฯ
3. ยานพาหนะ คือ รถที่เข้ามาในพื้นที่ เนื่องจากอาจมีการซุกซ่อนวัตถุระเบิดมากับรถได้ โดยเฉพาะรถยนต์บรรทุก( รถกระบะ )อย่าให้รถที่ไม่ติดผ่านป้ายทะเบียนจอดหน้าบ้าน
4. ระวังคนสวมหมวกนิรภัย หมวกแก๊ป เข้ามาในบ้าน
และผู้ปกครองควรดำเนินการเตรียมตัวและวางแผนเพื่อปกป้องเด็กดังนี้
1. วางแผนว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่าตื่นตกใจ คุณต้องคิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ใช้ สติ สามัญสํานึกให้มากและใช้สิ่งของที่มีอยู่เฉพาะหน้า ปรับใช้เพื่อปกป้องตนเองและคนที่คุณรัก
2. สร้างแบบแผนการติดต่อระหว่างคนในครอบครัว ท่ามกลางเหตุการณ์ความรุนแรง ครอบครัวอาจพลัดพรากกระจัดกระจาย คุณต้องเตรียมวางแผนว่า เมื่ออยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นจะมีวิธีการอย่างไรที่จะติดต่อกันและกัน และช่วยกันคิดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆ ขึ้น สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนควรจะทําอย่างไรบ้าง คิดไว้ก่อนว่าเพื่อนหรือญาติคนใด ที่สมาชิกในครอบครัวรู้กันว่า ควรจะโทรไปหาหรือส่งอีเมลล์ถึง เพื่อเป็นการส่งข่าวถึงกันและกัน อาจกําหนดที่หมายการติดต่อไว้นอกเมืองที่ตนอยู่ เนื่องจากบ่อยครั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน การโทรศัพท์ทําได้ง่ายที่สุดที่มีภัยพิบัติ
3. การจะตัดสินใจว่าต้องอยู่ในบ้านพัก หรือจะต้องอพยพนั้น ขึ่นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของแต่ละบุคคล รวมถึงลักษณะของภัยพิบัติด้วย หากทําได้คุณควรรับฟังข้อแนะนําอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานรัฐทางโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียง
4. และผู้ปกครองควรฝึกฝนเด็กในความดูแลถึงการตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน
5. ทุกคนในบ้าน รวมทั้งเด็ก ควรเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตนต่อสถานการณ์ฉุกเฉินของครอบครัว และความพยายามในการปกป้องและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6. สอนเด็กให้รู้จักสัญญาณอันตราย ให้แน่ใจว่า ลูกของคุณรู้ว่าสิ่งที่เครื่องตรวจจับควัน , สัญญาณเตือนไฟไหม้ ระบบเตือนภัยของชุมชนและท้องถิ่น ( แตรไซเรนเสียง )
7. อธิบายวิธีการขอความช่วยเหลือ สอนว่าบุตรของท่านควรขอความช่วยเหลืออย่างไร และ ตรวจสอบสมุดโทรศัพท์สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินท้องถิ่นและการบันทึกหมายเลขโทรศัพท์เหล่านี้โดยการโทรศัพท์ทั้งหมด
8. ช่วยให้เด็กจดจำข้อมูลที่สำคัญของครอบครัว เด็กควรจดจำชื่อครอบครัวของพวกเขาที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังควรรู้จักที่จะพบกันในกรณีฉุกเฉิน เด็กบางคนอาจจะไม่โตพอที่จะจดจำข้อมูล พวกเขาสามารถพกบัตรดัชนีขนาดเล็กที่แสดงข้อมูลในกรณีฉุกเฉินให้กับผู้ใหญ่หรือเลี้ยง. สอนเด็กของคุณวิธีการสอบถามความช่วยเหลือสอนบุตรหลานของคุณอย่างไรและเมื่อเรียกขอความช่วยเหลือ พวกเขาควรจะเรียก 191

ข้อควรปฏิบัติสำหรับเด็ก

1. เมื่อพบกล่องหรือวัตถุแปลกไม่ควรแตะต้อง ควรรีบบอกผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงโดยทันทีเพราะข้างในอาจมีสิ่งที่จะเป็นอันตรายได้
2. จดจำบ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด
3. จดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครอง บ้าน หรือญาติใกล้ชิด
4. ถ้าจำไม่ได้ควรจดเก็บไว้ในกระเป๋า หรือให้ผู้ปกครองจดไว้ให้

วิธีการสื่อสารกับเด็กถึงสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นและการปรับตัวสำหรับเด็ก
ทั้งจากบทสนทนาที่ผู้ใหญ่พูดคุย ข่าวตอนเย็น หรือภาพจากหนังสือพิมพ์ ทำให้เด็กๆรับรู้ข้อมูล ข่าวสารความรุนแรง อีกทั้งเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะควบคุมข้อมูลข่าวสารที่จะออกมาสู่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปความรุนแรงต่างๆ จากสงคราม ภัยพิบัติต่างๆที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเด็กๆอาจจะเสี่ยงต่อการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสมกับวัย โคโรไลน์ คนอร์ บรรณาธิการสื่อเพื่อครอบครัวได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจสำหรับวิธีที่ผู้ ปกครองควรปฏิบัติต่อลูกหลาน รวมถึง อีริก รอสสัน นักวิชาการทางจิตวิทยาและผู้อำนวยการสมาคมวิชาชีพจิตวิทยาโรงเรียน ได้ กล่าวว่า การที่เด็กได้บริโภคข้อมูลข่าวสารเยอะๆไม่ใช่เรื่องแย่สักทีเดียว แต่ผู้ปกครองควรดูแลและควบคุมในการรับสารของเด็กๆ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเปิดข่าวตอนเย็นให้เด็กดู ขอแนะนำ 10 วิธีปฏิบัติ ในการพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับข่าวสาร

วิธีที่ 1 การจำกัดการรับชมภาพและเสียงจากสื่อ เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น ทีวีแต่ละช่องจะแสดงข่าวซ้ำๆ แต่นักวิชาการทางจิตวิทยา รอสสัน ได้กล่าวว่า เด็่กอายุน้อยๆ อาจจะไม่รู้ว่าพวกเขากำลังชมข่าวที่ฉายซ้ำไปซ้ำมา เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นถูกฉายซ้ำๆ เด็กเล็กอาจจะเข้าใจว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันแทน พ่อแม่ควรปิดทีวีเมื่อเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านี้เกิดขึ้น ควรจำกัดภาพที่เด็กรับชม เพราะเด็กๆเหล่านี้ มักจะได้รับอิทธิผลจากภาพเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายมากกว่าเสียงพูด และลดเสียงทีวีลงเมื่อมีเสียงดัง เช่นข่าวยิงกัน หรือการระเบิด เพราะเด็กอาจตื่นตระหนกตกใจ

วิธีที่ 2 การอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเด็กเห็นภาพและต้องการที่จะรู้มากขึ้น ควรอธิบายแต่เพียงข้อมูลพื้นฐานและเล่าถึงบริบทที่เกิดขึ้น มากาเร็ต นิกเกิล ผู้อำนวยการ สถาบันอิรักสันเพื่อเด็กและครอบครัว ได้เสริมว่าเด็กได้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดช่วงวัยของเขา หากเด็กๆเห็นภาพเครื่องบินตก หรือคนต่อสู้กัน พวกเขาอาจจะไม่รู้ว่าความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่ง การโชว์และใช้แผนที่อธิบายจะเสริมความเข้าใจดียิ่งขึ้น

วิธีที่ 3 การเล่าถึงเหตุการณ์อย่างพอดี ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กบริโภคข่าวสารมากจนเกินไป ยกตัวอย่าง เช่น หากเด็กชมภาพทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ พ่อแม่ควรอธิบายว่าทหารเหล่านี้กำลังถูกไปส่งที่โรงพยาบาล เพื่อรักษา พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าทหารเหล่านี้อยู่ที่ไหน หรือประเทศกำลังเกิดสงคราม

วิธีที่ 4 สนใจเมื่อเด็กมีความรู้สึกตื่นกลัว หากพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยน จากการพูดเก่งเป็นพูดน้อยและดูครุ่นคิดมากขึ้น เด็กๆอาจจะพยายามตีความสารนั้นๆ กระตุ้นให้เด็กพูดออกมาถึงสิ่งที่เขาคิดอยู่ หากลูกเล่าถึงเหตุการณ์ใหม่ ถามคำถามปลายเปิดกับเด็ก เช่น ว่าเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ค่อยๆให้เด็กเล่า โดยไม่ทำให้เด็กรู้สึกบีบคั้นเกินไป หรือรู้สึกว่าข้อมูลล้น และปรับความรู้สึกโดยพ่อแม่เล่าถึงความรู้สึกของตนเองว่ารู้สึกอย่างไรต่อ เหตุการณ์นั้นๆ

วิธีที่ 5 การเรียนรู้ร่วมกัน คนอร์เล่าว่า เด็กโต อาจอยากศึกษาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยากรู้เรื่องสถานการณ์ เพื่อช่วยผ่อนคลายความกังวลและกลัวลง การเรียนรู้เรื่องภัยร่วมกัน การอ่านหนังสือเพื่อศึกษาถึงตำแหน่งสถานที่ๆเกิดเหตุในข่าว

วิธีที่ 6 ตั้งสติในการให้ข้อมูล เมื่อข่าวที่เกิดขึ้นทำให้เด็กๆรู้สึกเครียด เด็กจะมองหาผู้ที่ให้คำแนะนำ พ่อแม่ควรตั้งสติ ไม่ว่ารูปที่ปรากฏตรงหน้าจะเป็นอะไร หากเด็กดูเครียด ย้ำกับเขาว่าที่ๆเราอยู่ปลอดภัย พูดกับเขาว่า พ่อแม่รู้ว่ารูปภาพหรือข่าวของสถานการณ์ความไม่สงบดูน่ากลัว แต่ที่ๆเราอยู่มีความปลอดภัย

วิธีที่ 7 รักษาเวลา หากเด็กรู้สึกเครียด กังวลกับข่าว รักษาเวลาในการดูทีวีให้ปกติ หากเด็กๆรู้สึกกลัวเวลาไปนอน หรือการไปโรงเรียน สละเวลาเพื่อช่วยลูกๆปรับตัวซัก 2-3 วัน เพื่อให้หายจากความหวาดกลัวนั้น

วิธีที่ 8 เล่นกับลูก เด็กจะเล่นเพื่อให้หายจากความกลัว หากเด็กยังรู้สึกกลัว เล่นกับเขาโดยการอาจเล่นเป็นนักดับเพลิง วิ่งเข้าไปในตึกที่ไฟไหม้ หรือการใช้เฮลิคอปเตอร์ในการช่วยคน พ่อแม่ควรเข้าไปดูแล หากลูกๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเด็กคนอื่นๆ

วิธีที่ 9 เน้นเรื่องเชิงบวก หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น การโจมตีจากกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ความเสี่ยงผลกระทบด้านลบต่อเด็กจะมีแทบจะทันที การเล่าถึงคนที่ไม่ดี มาโจมตีเรา รอสสันแนะนำให้เราเน้นเล่าเรื่องเชิงบวกแทน เช่นการเล่าถึงคนหรือองค์กรที่จะมาช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ หรือบาดเจ็บ เป็นต้น

วิธีที่ 10 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ จากศูนย์ฉุกเฉิน หรือผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ อาจถามเด็กว่าอยากช่วยเหลือไหม หลังจากนั้นพยายามหาวิธีที่ลูกๆจะมีส่วนร่วมในการบริจาคเงิน หรือเวลา หรือการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักต่อสาเหตุและผลกระทบ การขายน้ำมะนาว หรือการรวบรวมเงินเพื่อช่วยการวิจัยป้องกันรักษามะเร็ง เป็นต้น
ไม่ว่าเหตุการณ์ในข่าวจะเป็นอะไร หลีกเลี่ยงการอธิบายเพื่อให้จบๆไป แต่ใช้โอกาสในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนรู้เชื่อมโยงกับโลก กับข่าวนั้นๆ

การเตรียมความพร้อมในการปกป้องตนเองและเด็กในปกครองสามารถช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กมากยิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงของเด็กในการเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบ ที่จะส่งผลใหญ่หลวงต่อชีวิตในอนาคตของเด็กๆ

font-weight:normal">ข้อมูลบางส่วนจากหน่วย  EOD และ คู่มือการป้องกันภัยสำหรับเด็กเมื่อเผชิญเหตุความรุนแรง  โครงการเสียงเด็กเพื่อสันติภาพ

หมายเหตุ : รายงานชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งที่ที่เว็บไซต์ https://voicefromthais.wordpress.com