ยุทธศาสตร์และแผนงาน
สภาประชาสังคมชายแดนใต้ พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2561
1. ภูมิหลัง
สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เกิดขึ้นตามมติของที่ประชุมนักพัฒนาอาวุโสและนักกิจกรรมเพื่อสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการให้จัดตั้งองค์กรสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เพื่อเป็นองค์กรประสานงานกลางของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาสังคมอย่างถาวรขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรภาคประชาชน/ภาคประชาสังคม
2. เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน
3. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสาน และสนับสนุนระหว่างองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม
4. เพื่อสร้างพื้นที่กลางแก่ทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพ
3. การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนของแกนนำสมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์ ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก) ในการทำงานของสภาประชาสังคมที่ผ่านมาและการวางทิศทางต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์ของสภาฯ ชุดใหม่ ในปี 2559 นี้ จุดแข็งของสภาฯ ในการทำงานที่ผ่านมาคือ เป็นพื้นที่ที่สมาชิกและเครือข่ายสามารถที่จะหยิบยกประเด็นมาพูดคุยได้ทุกเรื่อง มีความหลากหลายของสมาชิกสูง ทำให้บทบาทของสภาฯ ได้รับการยอมรับที่เป็นทางการ สามารถที่จะทำงานเชื่อมต่อภาคประชาสังคมได้จริง อีกทั้งที่ผ่านสภาฯ มีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนประเด็นกระบวนการสันติภาพและกระจายอำนาจ ส่วน จุดอ่อนของสภาฯ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผ่านมากว้างเกินไป ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ทุกเรื่อง มีสมาชิกยังน้อยและยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังขาดคนรุ่นใหม่เข้าร่วมทำงานในฐานะสมาชิกสภาฯ และทำงานยังเป็นลักษณะตั้งรับขาดการสื่อสารต่อสังคมภายนอกทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมี อุปสรรคบางอย่างที่อาจต้องคำนึงในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือทิศทางการทำงานในอนาคต คือ ภายใต้ห้วงเวลาของการอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน เนื่องจากช่องทางกฎหมายบางอย่างที่จำกัดการทำงาน และการที่องค์กรภาคประชาสังคมบางส่วนนั้นได้รับการจัดตั้งโดยฝ่ายรัฐอาจทำให้ความเป็นอิสระในการทำงานของภาคประชาสังคมหายไป
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางอุปสรรคก็ยังมีโอกาสที่เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับ จุดแข็งก็จะเห็น โอกาสในการทำงานของภาคประชาสังคมมากขึ้นคือ การที่มีองค์กรภายในและภายนอกหนุนเสริมประเด็นสันติภาพมากขึ้น อีกทั้งโอกาสที่เกิดจากนโยบาย สภาความมั่นคงแห่งชาติ สมช. ปี 2555 – 2557 ว่าด้วยเรื่อง การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 230/2557 ว่าด้วย “การจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนใต้” ที่เอื้อให้เกิดการพูดคุยสันติภาพ การมีช่องทางสื่อสาร โดยเฉพาะ social media และบรรยากาศของการเปิดประชาคมอาเซียน ก็เป็นโอกาสที่สภาฯจะได้ทำงานเชื่อมต่อทั้งในด้านการดำเนินโครงการและองค์ความรู้จากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกสามารถที่จะกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของสภาฯได้ดังนี้
เป้าหมาย : สังคมที่เป็นธรรมและมีสันติภาพที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรสานพลังพัฒนากระบวนการสันติภาพแบบมีส่วนร่วมที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
พันธ์กิจ :
1. สานพลังภาคีเครือข่าย ร่วมสร้างสรรค์และหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
2. พัฒนาคุณภาพกระบวนการขับเคลื่อนสันติภาพแบบมีส่วนร่วมทุกระดับ และสนับสนุนการสร้างสันติภาพ
3. สร้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้ว่าด้วยกระบวนการสันติภาพแบบมีส่วนร่วมและเผยแพร่ทั้งในและสากล
วัตถุประสงค์ :
1. การขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพแบบมีส่วนร่วมที่ได้รับตอบรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ
2. ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ มีขีดความสามารถในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพแบบมีส่วนร่วม ที่ทุกภาคส่วนเป็นเจ้าของ นำไปสู่การสร้างการสร้างสรรค์สันติภาพที่พึงประสงค์
3. สภาประชาสังคมชายแดนใต้ได้รับการยอมรับ เชื่อถือจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคท้องท้องถิ่นและภาคประชาชน ในการสร้างความรู้ ประสบการณ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพแบบมีส่วนร่วม
4. ยุทธศาสตร์ 3 ประการ ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างพื้นที่กลางและผลักดันเชิงนโยบาย ( Common Space and Advocacy)
สร้าง/ขยายพื้นที่กลางให้กับภาคประชาชนที่มีความแตกต่าง หลากหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการสันติภาพเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอและผลักดันเชิงนโยบายด้วยความรู้แก่ทุกฝ่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมพลัง (Empowerment) เสริมพลัง สร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองให้กับภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในทุกมิติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขยายเครือข่าย (Networking) ขยายองค์กรสมาชิก/สมาชิกของสภาประชาสังคม
ชายแดนใต้รวมทั้งขยายเครือข่ายองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ
5. ประเด็นการขับเคลื่อน ปี 2559 - 2561
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การขับเคลื่อนบวนการสันติภาพ และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
2. การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
3. การเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น และองค์กรทางศาสนา ในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
4. ขยายสมาชิกและจัดทำฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพและงานพัฒนาอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นปัจจุบัน
6. การจัดกลไกการบริหาร
6.1 ที่ปรึกษา
1. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
2. พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม
3. อาจารย์ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
4. นายพงษ์พันธ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์
5. ผศ.ดร.ไฟซ็อล หะยีอาวัง
6. แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา
6.2. คณะกรรมการบริหารสภาประชาสังคมชายแดนใต้
1. นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธาน
2. นายนายอัศว์มันต์ บินยูโซะ รองประธาน
3. นายรักชาติ สุวรรณ์ รองประธาน
4. นางโซรยา จามจุรี รองประธาน
5. นายมันโซร์ สาและ รองประธาน
6. นายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล เลขาธิการ
7. นายฆอซาลี อาแว รองเลขาธิการ
8. นางสาวพวงเพ็ญ มณีสว่างวงศ์ เหรัญญิก
9. นายอับดุลการีม อัสมะแอ วิชาการ
10. นายอับดุลสุโก ดินอะ วิชาการ
11. นายแวรอมลี แวบูละ วิชาการ
12. นายอิมรอน ซาเหาะ วิชาการและการสื่อสาร
13. ผศ.นุกูล รัตนดากุล ระดมทุน
14. นางสาวลม้าย มานะการ พัฒนาเครือข่าย
15. นางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ พัฒนาเครือข่าย
16. นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต พัฒนาเครือข่าย
17. นางซีตีมาเรียม บินเย๊าะ เยียวยา
6.3. สมาชิกสภา
(1) นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน
(2) นายนายอัศว์มันต์ บินยูโซะ
(3) นายอิสกันดาร์ ธำรงทรัพย์
(4) ผศ.นุกูล รัตนดากูล
(5) นางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ
(6) นายมันโซร์ สาและ
(7) นายวศิน สาเมาะ
(8) นายสมชาย กุลคีรีรัตนา
(9) นายอับดุลการีม อัสมาแอ
(10) นายอับดุลสุโก ดินอะ
(11) นางโซรยา จามจุรี
(12) นางกัลยา เอี่ยวสกุล
(13) นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ
(14) นายแวรอมลี แวบูละ
(15) นายสมนึก ระฆัง
(16) นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากา
(17) นายอับดุลอซิซ ตาเดอินทร์
(18) นายดนยา สะแลแม
(19) นางซีตีมาเรียม บินเย๊าะ
(20) นายรอซาลี อาแว
(21) นายรักชาติ สุวรรณ
(22) นายนครินทร์ สาและ
(23) นางเตะหาวอ สาและ
(24) นางสาวบุษบา ฉิมพลิกานนท์
(25) นายชานนท์ เจะหะมะ
6.4 เจ้าหน้าที่
1. นางสาวซำซียะห์ อีแต เจ้าหน้าที่ธุรการ
2. นางสาวสุรัตน์ เทียมเทศ การเงิน/บัญชี
7. องค์กรสมาชิกและผู้แทน
1. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน
2. ประชาสังคมนราธิวาส นายนายอัศว์มันต์ บินยูโซะ
3. มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร นายอิสกันดาร์ ธำรงทรัพย์
4. ศูนย์ฟ้าใสเครือข่ายเยาวชนจังหวัดยะลา นางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ
5. โครงการวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ ม.อ.ปัตตานี ผศ.นุกูล รัตนดากูล
6. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ นายมันโซร์ สาและ
7. มูลนิธิบ้านเด็กกำพร้าปัญญาเลิศ นายวศิน สาเมาะ
8. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล นายสมชาย กุลคีรีรัตนา
9. สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายอับดุลการีม อัสมาแอ
10. ศูนย์อัลกุรอานและภาษา นายอับดุลสุโก ดินอะ
11. เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ นางโซรยา จามจุรี
12. ศูนย์ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี นางกัลยา เอี่ยวสกุล
13. เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ
14. เครือข่ายชุมชนศรัทธา นายแวรอมลี แวบูละ
15. ศูนย์ประชาสังคมจังหวัดยะลา นายสมนึก ระฆัง
16. เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากา
17. สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย นายอับดุลอาซิซ ตาเดอินทร์
18. กลุ่มยือริงา นายนครินทร์ สาและ
19. สมาคมประมงพื้นบ้านสายบุรี นายดนยา สะแลแม
20. กลุ่มซากูน่า นางซีตีมาเรียม บินเย๊าะ
21. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล นายฆอซาลี อาแว
22. มูลนิธิสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
23. เครือข่ายชาวพุธเพื่อสันติภาพ นายรักชาติ สุวรรณ
24. ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเด็กกำพร้า จชต. นางเตะหาวอ สาและ
25. เครือข่ายอาสมัครยุติธรรมทางเลือก นางสาวบุษบา ฉิมพลิกานนท์
26. องค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียง นายชานนท์ เจะหะมะ
แผนงาน
แผนงานที่ 1 เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
แผนงานที่ 2 เรื่อง การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาสังคม
แผนงานที่ 3 เรื่อง การเสริมสร้างความร่วมมือ กับภาควิชาการในการขับเคลื่อนขบวนสันติภาพ
กิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย
แผนงานที่ 1 เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
1. การประชุมคณะกรรมการสภาประจำเดือน เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ และเป็นพื้นที่กลางสำหรับการรายงานสถานการณ์สำคัญๆของพื้นที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการรับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกหรือภาคประชาสังคมเพื่อร่วมหาทางออกต่อปัญหาร่วมกัน
2. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เชิงสถานการณ์/ประเด็น/เชิงพื้นที่)
3. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเวทีการสานเสวนากับภาครัฐ
4. เวทีจัดทำธรรมนูญสันติภาพในชุมชน (เวทีประชาเข้าใจ/ประวิจารณ์)
5. สมัชชาสันติภาพชายแดนใต้
แผนงานที่ 2 เรื่อง การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาสังคม
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการสันติภาพสำหรับภาคประชาสังคม/ประชาชน
2. การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน/ภาคประชาสังคม เพื่อการขับเคลื่อนกระบงนการสันติภาพในชุมชน
3. การอบรม ความรู้ ทักษะ “กระบวนการสันติภาพสำหรับภาคประชาสังคม” ในกลุ่ม ต่อไปนี้
- กลุ่มแกนนำเยาวชน
- กลุ่ม 4 เสาหลัก (ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่และผู้นำธรรมชาติ)
- กลุ่มแกนนำองค์กรภาคประชาสังคม
4. การเผยแพร่ความรู้ เรื่องกระบวนการสันติภาพให้กับประชาชน ผ่านการรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ และสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ วิทยุชุมชน วิทยุกระแสหลัก สื่อสิ่งพิมพ์ และวีดีโอ เป็นต้น
5. การสรุปบทเรียนการและการประเมินผล
แผนงานที่ 3 เรื่อง การเสริมสร้างความร่วมมือ กับภาควิชาการในการขับเคลื่อนขบวนสันติภาพ
1. การประชุมภาคีความร่วมมือกับภาควิชาการในพื้นที่เพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
2. จัดสัมมนาทางวิชาการร่วมกับสถาบันทางวิชาการทั้งในและนอกพื้นที่ เรื่อง ภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
3. เวทีสานเสวนา 3 ภาคส่วน (นักวิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม) เรื่องบทบาทและการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ในระดับ 3 จังหวัดชายแดนใต้และรายจังหวัด (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา)
4. เวทีสานเสวนานอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดาวน์โหลด PDF คลิกที่ รูป