Skip to main content

ฟังคนในพื้นที่วิเคราะห์ "ปัจจัยหลัก" เหตุป่วนใต้กว่า 10 จุด หวังดีสเครดิตรัฐบาล

 

จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ (2พ.ย59) ที่ผ่านมา สร้างความสั่นคลอนต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังเดินหน้าหรือไม่ หลังจากคณะคปต. ส่วนหน้าลงพื้นที่พูดคุย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สั่นคลอนกระบวนการสันติภาพที่กำลังเดินหน้าหรือไม่ ทีมข่าวพลเมืองภาคใต้สัมภาษณ์ผู้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้มายาวนาน เพื่อหาคำตอบ

20160411223653.jpg

(ขอบคุณภาพจาก DSID)

20160411231723.jpg

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มองว่าการก่อเหตุครั้งนี้มีปัจจัยหลักคือ

  1. จุดที่มีการควบคุนในเขตเมือง ที่กองกำลังของรัฐมีการควบคุมอยู่เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นจะมีความพยายามของฝ่ายกระบวนการอยู่ตลอดเวลาที่พลิกสถานการณ์ เพื่อสามารถดำรงรักษาจุดมุ่งหมายของตัวเองไว้  ภายใต้การควบคุมของรัฐ ที่พยายามหาช่องว่าง เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการก่อเหตุความรุนแรงของฝ่ายขบวนการ  แต่มีเงื่อนไขว่าสามารถทำได้เฉพาะบางจุดเท่านั้น
  2. มีปฎิบัติการบางส่วนของรัฐเองในแง่ของการ วิสามัญฆาตรกรรมแกนนำสำคัญในการก่อเหตุในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตอบโต้จากการสูญเสียแกนนำจากฝ่ายตนเอง โดยตอบโต้ไปที่เป้าหมายที่อ่อนแอ ได้แก่ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ หรือในพื้นที่สาธารณะ
  3. ตัวแปลที่สำคัญการพูดคุยเพื่อสันติภาพหรือสันติสุขในช่วงที่ผ่านมองว่าอาจจะมีข้อตกลงบางอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้า ซึ่งทำให้เกิดความท้าทายในส่วนของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่อพยายามก่อเหตุลดความชอบธรรมตรงนี้

ต่อคำถามที่ว่าเกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ของคปต. ส่วนหน้าหรือไม่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ มองว่า คปต. ส่วนหน้า ลงมาสอดคล้องกับสถานการณ์พอดีแต่มองว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักของการก่อเหตุในครั้งนี้

ตามกรอบนโยบายการแก้ไขปัญหาของ คปต. ส่วนหน้าหรือคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มองว่าบางส่วนสอดคล้องกับกระบวนการสันติภาพคือการสร้างสภาพแวดล้อมในการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีการสันติ มีการควบคุม ระงับการก่อเหตุความรุนแรง แต่บางส่วนมองว่ายังคงมีปัญหาอยู่เหมือนกันแต่เชื่อว่าตัวแปลที่สำคัญ ต้องแก้ไขปัญหาด้วยการพลักดันการพูดคุยเพื่อสันติภาพหรือสันติสุขและทำให้การพูดคุยเป็นรูปธรรมที่คืบหน้า ส่งเสริมในเกิดการทำงานร่วมกันของฝ่ายรัฐ ฝ่ายภาคประชาสังคมและฝ่ายประชาชนมากขึ้น ถ้าทำอย่างสอดคล้องกันก็จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวด้วยว่า การก่อเหตุที่เกิดขึ้นยังอยู่ในระดับที่ขึ้นๆลงๆ และความเข้มข้นของความรุนแรงยังไม่สูงมากนัก สังเกตุจากแนวโน้มในทางสถิติแล้วยังอยู่ในระดับคงที่ ยังไม่ถึงจุดที่เปลี่ยนแปลง มีช่วงเวลาการก่อเหตุอยู่เป็นช่วงๆ  ตรงนี้ยังเห็นเป็นภาพปกติของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ในบางช่วงการเกิดเหตุเรารู้สึกว่าเหตุการณ์มีรุนแรงขึ้น แต่ในความเป็นจริงเเล้ว ระดับของเหตุการณ์ก็ยังไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้วที่มีระดับความรุนแรงสูง มีความถี่และกระจายตัวไปทั่ว เมื่อเทียบกับตอนนี้ถือว่าเหตุการณ์ยังคงที่ แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าหลังจากนี้เหตุการณ์จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน

ในส่วนการขยายพื้นที่ในการก่อเหตุความรุนแรง ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า การก่อเหตุยังอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดและ 4อำเภอของจ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยก่อเหตุ แล้วแต่สถานการณ์และโอกาสของผู้ก่อเหตุ แม้กระทั้งในจ.สงขลาหรือในอ.หาดใหญ่ก็ตาม จุดที่เคยเกิดเหตุก็ถือว่าเป็นจุดเสี่ยง และฝ่ายความมั่นคงเองก็ต้องระมัดระวัง ถ้าถามว่าขยายพื้นที่หรือเปล่า ตอนนี้ยังไม่เห็นภาพของการขยายพื้นที่(นอกจากว่าเคยก่อเหตุเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนซึ่งลักษณะแบบนั้นแค่บางครั้งเท่านั้น) ส่วนใหญ่สถิติเหตุการณ์ทั้งหมดจะเห็นได้ว่า 90% ในช่วง10ปีที่ผ่านมายังกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดและ4อำเภอของจ.สงขลา แต่ต้องระมัดระวังป้องกันและควบคุมเฝ้าระวังในพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุ

20160511000039.jpg

ด้าน มูฮำมัดยุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการดีสเครดิตรัฐบาล และมองว่ารัฐบาลส่วนหน้ากับมิติการทำงานใน 7 กลุ่มงาน สอดรับกับความรู้สึกของคนในพื้นที่แต่ในทางปฎิบัติต้องใช้เวลา และมองว่าเป็นหน่วยประสานงานที่ดีที่ทำให้คนในพื้นที่ กับความยุติธรรมที่เป็นปัญหามาโดยตลอดของฝ่ายไดฝ่ายหนึ่งเด่นชัดขึ้นมา 7กลุ่มงานของ คปต ตอบโจทย์การทำงานของพื้นที่  และเมื่อข้อมูลสอดรับกับคนในพื้นที่ เป็นธรรมดาของฝ่ายเห็นต่างที่ต้องก่อเหตุเหล่านี้

หากกระบวนการพูดคุยไม่มีข้อยึดติ ไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนจะส่งผลกระทบและมองว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะทำให้รู้สึกว่ามีความปลอดภัยก็ต่อเมื่อ ข้อตกลงหยุดยิงของทั้งสองฝ่าย เป็นรูปธรรม” มูฮัมมัดยุบ กล่าว

20160511000055.jpg

โซรยา จามจุรี เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมองว่ามุ่งทำลายทรัพย์สินเป็นหลัก หลังจากนี้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะป้องกันเหตุรุนแรง การเข้ามาของ คปต.ส่วนหน้ายังต้องให้เวลาในการทำงาน และให้โอกาสทำงานสักระยะ

โซรยา กล่าวด้วยว่า ประโยชน์ที่ได้จากการมี คปต.ส่วนหน้าประชาชนจะได้ประโยชน์ จะทำให้การทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ทำงานแบบเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ในการการกำกับ ติดตาม เร่งรัด การทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้รวดเร็วซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และเป็นความท้าทายของรัฐในการเข้ามาแก้ไขปัญหา

20160511000113.jpg

อับดุลเล๊าะห์ สะมะแอ ชาวบ้าน จ.ปัตตานี มองว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการท้าทายอำนาจรัฐเพื่อแสดงถึงศักยภาพที่อำนาจรัฐมิอาจปกป้องฐานเศรษฐกิจได้และโจทย์สำคัญของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า หรือ คปต.สน. ในระยะสั้นคือจะต้องสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับกองกำลังทหารหรือเจ้าหน้าที่และงบประมาณมหาศาลที่จัดสรรลงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ส่วนในระยะยาว รัฐบาลและกองทัพเองต้องสร้างความมั่นใจและในเรื่องโครงสร้างการทำงานทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ เพราะอุปสรรค์ที่ผ่านมาในยุคทุกสมัย การจัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจแทนที่จะมาหน้าที่ช่วยประสานงานในข้อติดขัดต่างๆ เราเห็นบทเรียนตรงนี้อยู่ และมองว่าการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มีความซับซ้อนจะแก้ปัญหาจากคนๆ เดียวหรือคณะเดียวไม่ได้ หลายๆองค์กรต้องเข้ามามีร่วมในการแก้ปัญหา ถือเป็นปัจจัยสำคัญมากโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.citizenthaipbs.net/node/9925