หลังจากที่สภาอุลามาอ์อินโดนีเซีย Majelis Ulama Indonesia - MUI ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาอิสลามสูงสุดของรัฐ ได้ออกคำวินิจฉัย ห้ามมิให้มุสลิมถือเอาศาสนิกอื่นมาเป็นผู้นำ โดยอ้างอิงอัลกุรอาน ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ อายะฮ์ ที่ 51
ผู้ว่าการกรุงจากาตาร์ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีน นับถือศาสนาคริสต์ จึงออกมาตอบโต้ จนเลยเถิดถึงขั้นเหยียดหยามอัลกุรอาน จนลุกลามเป็นการประท้วงขับไล่
เพื่ออะไร ? เพื่อใคร ? จะจบลงที่จุดใด ? คงไม่ทันฉุกคิด
อันที่จริง ต่อกรณีดังกล่าว ระดับเสาหลักทางวิชาการอิสลามในโลกปัจจุบัน เช่น ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์ ได้ให้ทัศนะไปในทางที่ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมมากกว่า
เป็นอิสลามที่เป็น "ความเมตตาอารี" จากพระเจ้าในการสร้างความสงบร่มเย็นแก่สังคมมากกว่า
ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์ เห็นว่า การห้ามถือเอาศาสนิกอื่นมาเป็นผู้นำดังความในอัลกุรอานดังกล่าว ไม่ได้หมายถึง "ต่างศาสนิกทุกคน" แต่หมายถึง "ต่างศาสนิกที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับอิสลาม" เท่านั้น
หน้าประวัติศาสตร์อิสลามยืนยันถึงกรณีนี้ได้เป็นอย่างดี
หลายคนอาจไม่ทราบ อาจหลงลืมไปว่า หลักการอิสลามในด้านรัฐศาสตร์ หรือ "สิยาสะฮ์ชัรอียะฮ์" ไม่ได้มีลักษณะของความเป็น "กฎฟิกฮ์" ตายตัวแบบนิติศาสตร์ หากทว่าหัวใจหลักจะอยู่ที่ "มัศละหะฮ์" หรือ "สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า" หรือ "มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย" ตามลักษณะของรัฐศาสตร์ทั่วไปนั่นเอง
http://m.republika.co.id/berita/nasional/pilkada/16/10/11/oevla1330-ini-...