source: http://www.oneindia.com/img/2015/04/24-1429866825-black-money-list.jpg
หลังรัฐบาลได้นำเสนอนโยบายยกเลิกการใช้ธนบัตรใบ 500 และ 1000 รูปีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การใช้บริการธนาคารและที่ทำการไปรษณีย์นั้นแออัดไปด้วยผู้คน ประชากรกว่า 1 พันล้านคนได้กระจัดกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดียเพื่อทำการแลกเงิน
เงินมืดนับเป็นภัยคุกคามรัฐบาลอินเดียมาโดยตลอด ซึ่งเกิดจากการนำเงินไปฝากที่ธนาคารต่างประเทศ การหลบเลี่ยงภาษีและการเก็บเงินไว้ซึ่งใช้ในการดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้นับเป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวง หลังจากมีการประกาศยกเลิกเงินธนบัตรดังกล่าว จันทราบาบู นัยดู (Chandrababu Naidu) ผู้นำสูงสุดในรัฐอันดราปราเดส เมืองไฮเดอร์ราบาด ได้มีการตรวจสอบ พบว่า เจอเงินมืด (Black Money) กว่า 130,000 ล้านรูปี ซึ่ง 100,000 ล้านรูปีนั้นได้ถือครองโดยคนคนเดียว ซึ่งในประเทศอินเดียมีการคาดการณ์ว่ามีเงินมืดถึง 1,250,000 ล้านรูปี
ณ ตอนนี้ทุกคนต้องการจะปล่อยเงินของตัวเองที่มีอยู่ก่อนที่จะไม่สามารถใช้ได้ ผู้ถือครองเงินจำนวนมากต้องการเปลี่ยนมูลค่าเงินของตัวเองให้เป็นสิ่งของอย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อเป็นเงินมืด จะต้องถูกตรวจสอบ เงินและงานอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ร้านค้าแห่งหนึ่งในนิวเดลี ได้ขายของให้กับชายผู้หนึ่งซึ่งถือเงินสดมากว่า 3 ล้านรูปี ส่วนนักการเมืองในรัฐบิหาร ได้ซื้อเพชรราคากว่า 20 ล้าน ก่อนเงินจะหมดค่าตามกการประกาศของรัฐบาล ในขณะที่ผู้ป่วยในโนงพยาบาลกัลกัตตาจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวน 40,000 รูปีด้วยเหรียญ
นโยบายการป้องกันเงินในตลาดมืด การคอรัปชั่น และธุรกิจการฟอกเงิน นั้น รัฐบาลโมดีได้เริ่มเข้มงวดตั้งแต่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง แต่ทำได้แค่เพียงเฝ้าดูอาการมาพักใหญ่ รัฐบาลใช้เป็นหนึ่งในนโยบายปิดลับและไม้ตายสุดท้ายในการตรวจสอบการทุจริต ที่สำคัญกว่านั้น การเลือกตั้งที่จะมาถึงในต้นปี 2017 นี้ ในรัฐปัญจาบและอุตระปราเดช เป็นการหักดิบนักการเมืองเจ้าเก่าที่ทรงอิทธิพลไปหลายราย
อินเดียเคยใช้มาตรการณ์ในลักษณะนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ในปี 1946 และ 1978 ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดคือ ปี 2016 หากจะกล่าวโดยสรุปคือ เฉลี่ย ทุก ๆ 35 ปี อินเดียจะทำการล้างเงินมืดหนึ่งครั้ง และที่สำคัญเวลาแค่เพียง 3 ทศวรรษ เงินมืดได้โดตเวเป็นยอดเงิน ล้านล้านรูปีเลยทีเดีย
ครั้งแรกสุด คือ เดือนมกราคม ปี 1946 อินเดียเคยประกาศยกเลิกเงินธนบัตรใบ 500, 1,000 และ 10,000 ก่อนการประกาศเอกราชเพียงแค่ปีกว่า ๆ และเงินธนบัตรจำนวนดังกล่าวก็ถูกผลิตนำมาใช้อีกครั้งในปี 1954 เงินธนบัตรใบ 10,000 รูปี ถือเป็นจำนวนเงินและธนบัตรที่มีค่ามากที่สุดตามประวัติศาสตร์การเงินของประเทศอินเดีย ซึ่งมีการประกาศใช้เป็นเงินตราของประเทศใช้ตั้งแต่ปี 1938
หลังจากนั้นใน เดือนมกราคม ปี 1977 พรรคการเมืองจานาธา (Janata Party) ได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โมราจิ ดีซัย (Morarji Desai) ผู้นำของพรรคซึ่งได้เข้ามาทำงานปีกว่า ๆ ในช่วงเวลานั้น ก็ได้นำเสนอนโยบายปราบปรามเงินตลาดมือด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้มีการประกาศยกเลิกธนบัตรใบ 1,000, 5,000 และ 10,000 รูปี และให้เป็นเงินนอกกฎหมายเช่นเดียวกัน
โมดีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจาก โมราจิ ดีซัย แต่โมดีได้รับสนับสนุนจาก ดร. อุรฺจิต อาร์ ปาเตล (Urjit R. Patel) ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งอินเดีย จึงเป็นที่มาของการประกาศการยกเลิกธนบัตรในเดือนพฤศจิกายนปี 2016 ครั้งล่าสุด แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ใช้ธนบัตรใบ 2000 รูปี
อินเดียผลิตธนบัตรใบ 10 รูปีครั้งแรกมาใช้ระหว่างปี 1967-1992, ธนบัตรใบละ 20 รูปีในปี 1972-1975, ธนบัตรใบละ 50 รูปีในปี 1975-1981, ธนบัตรใบละ 100 รูปีในปี1967-1979, ธนบัตรใบ 500 รูปีในเดือนตุลาคม ปี 1987 ซึ่งได้รูปคานธีและลายน้ำเสาหินพระเจ้าอโศก
สำหรับธนบัตรรูปมหาตมะ คานธีนั้นได้ผลิตมาใช้ เริ่มจากธนบัตรใบ 5 รูปีในปี 1996, ธนบัตรใบละ 10 รูปี ใช้ในเดือนมิถุนายน 1996, ธนบัตรใบ 20 รูปี ใช้ในเดือนสิงหาคม 2001, ธนบัตรใบละ 50 รูปี เริ่มใช้ในเดือนมีนาคมปี 1997, ธนบัตรใบละ 100 รูปี เริ่มใช้ในเดือนมิถุนายนปี 1996, ธนบัตร 500 รูปี ใช้ในเดือนตุลาคมปี 1997 และธนบัตรใบละ 1000 รูปี ใช้ในเดือนพฤศจิกายนปี 2000
หลังจากนั้นธนบัตรดังกล่าวมีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 2005 ซึ่งธนบัตร 50 และ 100 รูปี ได้ผลิตขึ้นในเดือนสิงหาคม, ธนบัตรใบละ 500 และ 1000 รูปีได้ผลิตขึ้นในเดือนตุลาคม และ ธนบัตรใบ 10 รูปีได้ผลิตขึ้นในเดือนเมษายนปี 2006 และ ธนบัตรใบ 20 รูปี ได้ผลิตขึ้นในเดือนสิงหาคม 2006
แต่นโยบายการขุดรากเงินนอกฎหมายนั้นก็ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ถือครองเงินนอกกฎหมายอย่างมากมาย เพราะพวกเขาได้ฝากเงินเกือบจะทั้งหมดไว้ใน Swiss Banks ซึ่งหนึ่งในผู้ครองครองเงินผิดกฎหมายนั้นก็คือ ผู้นำพรรคการเมืองครองเกรส ทั้งราหูล คานธี (Rahul Gandhi) ซึ่งมีเงินเป็นอันดับ 2 และโซเนีย คานธี (Sonia Gandhi) ผู้เป็นแม่อยู่ในลำดับที่ 7 ถือเป็นการตัดคู่แข่งทางการเมืองและฐานอำนาจเก่าได้อย่างทรงพลังอีกวิธีหนึ่ง
การประกาศนโยบายการเรียกเงินคืน ส่งผลให้ตู้เอทีเอ็มและธนาคารหลายแห่งต้องทำการปิดชั่วคราวในช่วงวันที่ 9 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2016 เพื่อปรับปรุงระบบและนำเงินใหม่เข้ามาใช้บริการ
การแลกในวงเงินที่จำกัด การถอนเงินที่ถูกควบคุม การโอนเงินผ่านบัญชีได้ถูกทำให้เข้มงวดโดยเจ้าหน้าที่ และการต่อแถวยาวของพลเมืองอินเดีย นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ความไร้ระเบียบของประเทศได้ถูกฉายซ้ำภาพสะท้อนของความไร้ระเบียบที่ค่อนข้างจะถูกจัดให้เป็นจัดระเบียบอย่างจริงจังโดยสำนึกลึก ๆ ที่ไม่ค่อยได้นำออกมาใช้เท่าไหร่
กระนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะในประเทศอินเดีย มุมของการเข้าคิว ต่อแถวและเคารพกฎ มักจะไม่ค่อยได้พบเห็นสักเท่าไหร่ เพราะบ่อยครั้งเห็นแค่การลัดคิว แซงคิวอย่างโจ่งแจ้งและซึ่งหน้า ในภาวะคับขันของสถานการณืจะสอนให้ผู้คนงัดกลยุทธ์และวิธีต่าง ๆ ที่บ่อยครั้งทุกคนมักรับได้ และคุ้นชินมาโดยตลอด กระนั้นวิกฤติคราวนี้ทุกคนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า “จะต้องมีระเบียบวินัย”จนสามารถกล่าวได้ว่า อินเดียวันนี้ได้เปลี่ยนไป ไม่มีใครรับได้กับระบบการแซงคิว
เหตุการณ์ที่ปรากฏแบบนี้แม้จะเกิดขึ้นมานานครั้ง แต่ก็ถือว่า “คลาสสิค” แม้นโยบายนี้จะส่งผลต่อคนอินเดียอย่างมากมายในช่วงนี้ แต่ก็ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านและนโยบายดังกล่าวก็ส่งผลแค่คนที่ถือครองทรัพย์สินเพียงกลุ่มเดียวและกระทบโดยตรงต่อคนเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ภาพรวมชาวอินเดียกว่า 850 ล้านคนเหมือนจะดีใจกับนโยบายดังกล่าว
แม้วิกฤติครั้งนี้จะสิ่งผลอย่างมาก แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศชื่นชมกับนโยบายดังกล่าวของรัฐเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดมีการพูดกันว่า “โมดีช่างกล้า” การทำให้เงินในตลาดมืดหายไปและที่สำคัญคือ เป็นการปราบการทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศ เงินนอกระบบที่ถูกใช้ไปในทางผิดกฎหมายนั้นอาจลดลงกว่าเดิม แม้ในช่วงแรกสังคมอินเดียมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน หลังรัฐบาลประกาศให้เงินธนบัตร 500 และ 1,000 เป็นเงินผิดกฎหมาย ทางรอดของเงินเหล่านี้ คือ จะต้องทำการแลกตามที่รัฐบาลกำหนด
อมีร คาน หนึ่งในดาราคนสำคัญของอินเดียยังเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว พร้อมออกมาบอกกับประชาชนว่า “ให้ประชาชนอดทนสักระยะหนึ่ง แม้ช่วงนี้จะโหดร้าย การเป็นอยู่อาจลำบากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่เราต้องเข้าใจถึงช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่าน เมื่อเราผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้ แน่นอน เราจะมั่นคง และที่สำคัญประเทศชาติของเรานั้นจะมีเสถียรภาพมากกว่าเดิม เพราะทั้งหมดที่รัฐบาลได้ทำก็คือ ผลประโยชน์แห่งชาติ”
การแลกเปลี่ยนเงินตรามีเงื่อนไขที่ต้องขบคิดอย่างหนึ่งคือ
1. รัฐบาลเปิดให้แลกเงินสดภายใน 50 วัน (10 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2016) ช่วงที่ 1 (10-25 พฤศจิกายน 2016) สามารถแลกได้วันละ 4,000 รูปี นั่นก็หมายความอย่างคร่าว ๆ ก็คือ ประชาชนแต่ละคนสามารถแลกเงินได้ประมาณ (4,000 X 15 = 60,000 รูปี) และในช่วงที่ 2 (25 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2016) สามารถแลกได้วันละ 8,000 รูปี (8000 x 35 = 280,000 รูปี) ซึ่งหมายความว่า ประชาชนสามารถแลกเงินได้ 280,000 รูปี
2. รัฐบาลเปิดให้ถอนเงินผ่านเอทีเอ็มได้เป็น 2 ช่วง ซึ่ง ช่วงที่ 1 (10 – 18 พฤศจิกายน 2016) สามารถแลกถอนเงินได้วันละ 2,000 รูปี นั่นคือ ประชาชนสามารถถอนเงินได้ประมาณ 16,000 รูปี (8 X 2 = 16,000 รูปี) และในช่วงที่ 2 (19 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2016) สามารถถอนเงินได้วันละ 4,000 รูปี หมายความว่าประชาชนสามารถถอนเงินได้ทั้งหมด 168,000 รูปี (42 x 4000 = 168,000 1 รูปี)
3. รัฐบาลอนุญาตให้มีการถอนเงินได้จากบัญชีธนาคารสัปดาห์ละไม่เกิน 20,000 รูปี นั่นหมายความว่า ประชาชนถอนเงินได้ประมาณ 160,000 รูปี (20,000 x 8 = 160,000 รูปี)
***หมายเหตุ***
สรุปอย่างไม่ค่อยจะเป็นทางการ หากบวกลบคูณหารทุกทางในการดำเนินการเพื่อแลกเงิน ถอนเงินผ่านตู้และผ่านบัญชีธนาคาร รวมทั้งสิ้นในระยะเวลา 50 วันนั้น ประชาชนสามารถถอนเงินได้ทั้งหมด คือ 684,000 รูปี ยอดเงินดังกล่าวนั้น ถือเป็นเกณท์ มาตรฐานที่รัฐบาลได้วางไว้เบื้องต้นเพื่อป้องกันการตื่นฟื้นของเงินมืดและเงินนอกระบบ
กระนั้น การออกนโยบายดังกล่าวในครั้งนี้ ถือเป็นการล้างบางครั้งใหญ่ในรอบ 4 ทศวรรษก็ว่าได้
เอ.อาร์ มูเก็ม,
อาลิการ์, อินเดีย
13 พฤศจิกายน 2559