Skip to main content

 

สภาประชาสังคมชายแดนใต้กับสารคดีที่พยายามทำความเข้าใจกระบวนการสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

 

ชมคลิปคลิกที่ รูป

* พื้นที่ความขัดแย้ง 41 แห่งจากจำนวน 104 แห่งทั่วโลก ยุติลงได้ด้วยข้อตกลงสันติภาพ คิดเป็นร้อยละ 39.4

ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ความขัดแย้ง 41 แห่ง มีการใช้ Road Map เพื่อนำไปสู่กระบวนการเกิดข้อตกลงสันติภาพ

* มีพื้นที่ความขัดแย้งอีก 50 แห่งที่ยังไม่มีทางออกสู่สันติภาพ โดยความขัดแย้งที่ปาตานีในภาคใต้ของไทยอยู่ 1 ใน 50 แห่งนี้

* ปี 2554 ภาคประชาสังคมที่ทำงานเชิงประเด็นต่างๆ รวมตัวกันเป็น 'สภาประชาสังคมชายแดนใต้'

* สภาประชาสังคมชายแดนใต้ คือ CSO หรือ civil society organization ซึ่ง CSO มีบทบาทมากในกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ ทั่วโลก เช่น ไอร์แลนด์เหนือ อาเจ๊ะห์ มินนาเดา ฯลฯ

* CSO เป็นตัวกลางทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อส่งความเห็นไปยังคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย ในกรณีนี้คือ รัฐไทย กับ ฝ่ายต่อต้านรัฐ หน้าที่อีกอย่างของ CSO คือสนับสนุนกระบวนการพูดคุยระหว่างคู่ขัดแย้ง และนำเสนอเสียงของประชาชนให้ทั้ง 2 ฝ่ายรับไปพิจารณา

* วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 รัฐบาลไทยพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มมาราปาตานี ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มจากหลายฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐ

* ข้อเสนอของภาคประชาสังคมคือ ให้คู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย ละเว้นชีวิตผู้บริสุทธิ์ สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่ผู้บริสุทธิ์

* ถ้าเราเริ่มนับว่าปี 2547 เป็นจุดปะทุความรุนแรงที่ส่งผลมาถึงวันนี้ ก็ต้องบอกว่า 12 ปีแล้วที่ไฟยังไม่ดับ

* กว่า 6 ปีที่ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ สนับสนุนด้วยทุกยุทธวิธีในกระบวนการสร้างสันติภาพ

* สันติภาพอาจจะเกิด หรือไม่เกิดก็ได้

* แต่กระบวนการสร้างสันติภาพได้เกิดขึ้นแล้ว

the peace choral organizations คือสารคดีที่พยายามทำความเข้าใจกระบวนการสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พวกเขาต้องการสร้างสันติภาพเชิงบวก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า สันติภาพเชิงบวกคือสิ่งที่ยังขาดแคลนในสังคมไทย - ไม่เฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้

 

 

 

 

 

ที่มา เพจ way magazine