บะหมี่ซองกับโรคหัวใจ
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน
ใน ค.ศ. 2000 บะหมี่ซองที่เรียกกันว่า Instant noodle หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับการโหวตว่าคือนวัตกรรมแห่งศตวรรษของญี่ปุ่น ผ่านมา 14 ปีใน ค.ศ.2014 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Nutrition สรุปไว้น่าสนใจว่าคนที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ่อยหรือมากเกินไปเสี่ยงต่อความผิดปกติของเมแทบอลิซึมในหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิง
งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยมหาวิทยาลัยสองแห่งในสหรัฐอเมริกาคือมหาวิทยาลัย Baylor ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หัวหน้าทีมคือนายแพทย์ฮุนจุนชิน (Hyun Joon Shin) แพทย์ด้านหัวใจชาวเกาหลีใต้ ให้ข้อสรุปว่าคนเกาหลีใต้ที่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงเสี่ยงต่ออาการผิดปกติของเมแทบอลิซึมในหัวใจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น
เหตุที่ผู้หญิงเสี่ยงมากกว่าผู้ชายเป็นผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไปเสริมการทำงานของสารบางตัวที่พบในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยรบกวนเมแทบอลิซึมการทำงานของหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่าหากปรุงบะหมี่ซองในภาชนะโฟมชนิดสไตโรโฟมที่นิยมใช้ในเกาหลีใต้รวมทั้งประเทศไทย สารบิสฟีนอลเอ (bisphenol A) หรือ BPA จากภาชนะสไตโรโฟมอาจผสมโรงรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ สารตัวนี้เองที่นักวิจัยบางคนเชื่อว่าทำให้ผิดปกติทางเพศเกิดปัญหาเลดี้บอยและทอมบอย รวมทั้งภาวการณ์มีบุตรน้อยของคนยุคหลัง
ในฐานะที่คนไทยเป็นอีกชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปริมาณสูงทั้งมีปัญหาคนข้ามเพศกันมาก ผลงานวิจัยจากเกาหลีใต้ร่วมกับสหรัฐอเมริกาหากสนใจหน่อยก็ดี บะหมี่ซองน่ะกินได้แต่อย่าให้มากหรือบ่อยนัก