สิทธิในการคิดและวินิจฉัยด้วยตนเองในอิสลาม
กับระดับและความหมายของคำว่า "วอเร๊าะฮ"
"Kadli Abu Yusoof /ฆาดลี่ อบู ยูซุฟ ได้มอบทรัพย์สินของเขาแก่ภรรยาเมื่อใกล้ใด้เวลาจะครบกำหนดการออกซากาต
หลังจากนั้นแล้วภรรยาของเขาได้มอบทรัพย์สินคืนให้กับ
Kadli Abu Yusoof การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงการออกซากาต เรื่องนี้ได้มีการนำมาเล่าให้อิหม่าม Abu Hanifah ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ฟังคำชี้แนะ ข้อคิดเห็นจากท่าน
อิหม่าม Abu Hanifah (أبو حنيفه) ตอบว่า
"ข้างต้นหากว่ากันตามกฏเกณฑ์ของวิชาการฟิกห์และก็ถือว่าถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของฟิกห์ดุนยา (เลี่ยงเจตนารมณ์ดั่งศรีธนญชัย) แต่ในอาคีเราะห์จำต้องรับการตอบแทนด้วยการทรมานอย่างหนักจากการถูกลงโทษ เช่นเดียวกันกับวิชา(ฟิกต์) ที่นำภัยมา เกี่ยวกับเรื่องฮาลาล ฮารอม
แท้จริงแล้ว "ความวอเร๊าะ" (ความหมายในทางวิชาการหมายถึง ไม่ดื้อด้านต่อคำสั่งห้าม(ของอัลลอฮ)/ละทิ้งสิ่งที่น่าสงสัย หรือ การระวังรักษาตัวเองจากสิ่งที่ต้องห้าม/ ที่ปาตานี บางกอกและโลกมลายู ผู้คนมักให้ความหมายถึง คนที่สุภาพ ทำตัวเคร่งครัด เรียบร้อย) จากสิ่งที่ฮารอมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ (บทบัญญัติทาง) ศาสนา
"วอเร๊าะ" นั้นมี 4 ระดับ
ระดับที่ 1 การระวังรักษาตัวเองตามกฏเกณฑ์ที่พระเจ้ากำหนด เพื่อการเป็นพยานและยืนหยัดในความยุติธรรม หากไม่มีการทำตามกฏเกณฑ์เหล่านั้น ก็จะไม่สามารถที่จะเป็นพยาน ตุลาการ และวาลีย์(ผู้รู้ซึ่งทรงคุณธรรม)ได้ ดังนั้น
"วอเร๊าะ ตามกฏเกณฑ์ นี้ คือการระวังรักษาตัวเองจากสิ่งชัดเจนว่าฮารอม
ระดับที่ 2 การระวังรักษาตัวเองของคนศอลิห ( صالح ศรัทธาชนผู้เคร่งครัด/คนดี )
คือ การหลีกห่างจากสิ่งซุบฮัต(เคลือบแคลง ไม่มั่นใจ) มีบางสิ่งบางอย่างที่น่าสงสัย ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า
دع ما يريبك إلى مالايريبك
ความว่า "จงละทิ้งสิ่งที่น่าเคลือบแคลงสงสัย เพื่อรับสิ่งที่ไม่เคลือบแคลง ไม่น่าสงสัย"
الإثم حزّاز القلوب
แปลว่า บาปนั้นถือเป็นพาหะ นำโรคสู่จิตใจ
ระดับที่ 3 การระวังรักษาตัวเองของคนมุตตากีน (متقين) คนตั้กวา (تقوى) ผู้ยำเกรง
คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ "ไม่ต้องห้าม" เพราะ(ถ้ากระทำ)เกรงว่าจะนำไปสู่สิ่งต้องห้าม ท่านนบี ได้กล่าวว่า
لا يكون الرجل من المتقين حتى يدع مالا بأس به مخافة مما به بأس
ความว่า ยังไม่สามารถเรียกคนๆนั้นว่า คนตั้กวา /ผู้ยำเกรง จนกว่าเขาผู้นั้นจะละทิ้งสิ่งที่ไร้สาระ เพราะเกรงกลัวต่อสิ่งที่(อาจจะ) มีอะไรสักอย่างเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น
การระวังที่จะไม่พูดเรื่องของคนอื่น เพราะเกรงว่าจะเป็นการนินทา และการระวังตัว ที่จะไม่ทานอาหารตามอำเภอใจ เพราะเกรงว่าพละกำลัง/พลังงานที่ได้จากการทานอาหารตามอำเภอใจอย่างมากมายนั้น จะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ต้องห้าม
ระดับที่ 4 การระวังรักษาตัวเองของคนซิดดีกีน (صديقين) /ผู้ยึดมั่นในสัจจะธรรม นั้น จะหันหลัง ละทิ้งทุกอย่าง ยกเว้นอัลเลาะห์ เพราะเกรงว่าทุกลมหายใจที่มีอยู่นั้น แม้เพียงแค่เศษเสี้ยวเดียวอาจจะถูกนำไปใช้ในหนทางที่ไร้ประโยชน์ ชอบที่จะทำตัวใกล้ชิดอัลเลาะห์มากกว่า ถึงแม้เขาจะรู้ว่า การกระทำเหล่านั้นมิได้ นำไปสู่สิ่งที่ต้องห้าม(حرام )
แท้จริงแล้ว "วอเร๊าะ ทั้งสี่ระดับที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อยู่นอกเหนือความใส่ใจของบรรดาเหล่านักวิชาการฟิกต์ทั้งหลาย ยกเว้น ระดับที่หนึ่งเท่านั้น คือ การระวังรักษาตัวเองเพื่อ เป็นนำใช้กฏเกณฑ์ เพื่อเป็นพยาน และงานยุติธรรม
การยึดตามหลักการนี้อย่างเดียว จะยังไม่พ้นในเรื่องบาปบุญที่จะต้องตอบในวันอาคีเราะห์ ท่านนบีได้กล่าวว่า
إستفت قلبك وإن أفتوك وإن أفتوك وإن أفتوك
ความว่า จงขอฟั้ตวาจากหัวใจของท่าน (ถามใจตัวเอง- ผู้แปล) แม้นว่าจะมีคนฟั้ตวาให้ท่านแล้ว แม้นว่าจะมีคนฟั้ตวาให้ท่านแล้ว แม้นว่าจะมีคนฟั้ตวาให้ท่านแล้ว
บรรดานักฟิกต์ มิได้คำนึงถึงโรคภัยทางจิตวิญญาณ (และรวมถึงการหา)หนทางในการแก้ไข แต่ที่มีนั้น มักจะเน้นเรื่องความยุติธรรม สิ่งที่เหล่านักฟิกต์เน้นและสนใจ คือ สิ่งที่เกี่ยวกับโลกดุนยา ซึ่งดุนยานั้นจะเกี่ยวโยงถึงอาคีรัต (โลกหน้า) แต่ เมื่อพูดถึงเรื่องจิตใจ และอาคีรัต ก็มักจะพูดถึงแบบผ่านๆ เช่นเดียวกับกับเมื่อพูดถึง ศาสตร์การแพทย์ บัญชี ดาราศาสตร์ ภาษาศาสตร์ รวมถึง ปรัชญา ไวยกรณ์ภาษา และบทกวี (เป็นต้น)
والله اعلم
แปลโดย อุสตาส
محمد لاذم بن چئقوب
บทแปลเนื้อหาข้างต้น มาจากตำรา เอี้ยะยาอุลุมุดดีน
(ฉบับ ภ.มลายู น.91-93 ภ.อาหรับ น.29-30.)
บทที่ว่าด้วย หลักฐานจากการใช้ความคิด(วินิจฉัย/ตรึกตรอง)
ความรู้ที่มาจากทัศนะของอิหม่ามฆอซาลี เมื่อกว่า 700 ปีที่แล้ว
จากเนื้อหาข้างต้น ข้อคิดเห็นของข้าพเจ้า มีดังนี้
มุสลิมไทยของเราชอบที่จะยกมอบ การวินิจฉัย /ชี้ขาด ตัดสินเรื่องฟิกต์(นิติศาสตร์อิสลาม)ให้กับผู้รู้บางกลุ่ม บางพวก ทั้งที่เป็นทางการ ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ หรือรายบุคคลปัจเจก โดยเฉพาะนักการศาสนา นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์(บางท่านบางกลุ่ม) โดยยอม/ยกอำนาจให้เขาเหล่านั้นชี้ชัดว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ (ฮาลาล-ฮารอม) ไม่เฉพาะเรื่องอาหาร ปัญหาครอบครัว มรดก หากยังรวมถึง เรื่องการคัดกรองหลักการและแนวปฏิบัติในการทำนิติกรรม การทำธุรกรรมทางการเงิน การประกันภัย และข้อวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองการปกครอง และ อื่นๆ
โดยมองว่าถ้าเขา(ผู้ทรงสถานะผู้รู้) เหล่านั้นชี้ขาดแล้ว ผู้ตามจะต้องตามโดยดุษฎี ไม่ตั้งคำถามหรือมีข้อสงสัย (โดยผู้ตามไม่ตั้งคำถาม หรือหาข้อวินิจฉัยด้วยตนเอง (ในยุคที่คนเรียนจบปริญญามีมากกว่าครึ่งค่อนประเทศ)
" สิทธิ์ในการคิดเอง" ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่มุสลิมในระดับปัจเจกบุคคลมีสิทธิ์ทำได้ เพราะเราเองอาจรู้และอยู่ใกล้กับปัญหา ที่สามารถรู้และเข้าใจเองได้ว่า อะไรควรทำได้หรืออะไรทำไม่ได้ ในทางศาสนา และใกล้ปัญหามากกว่าผู้วินิจฉัยบางท่านที่อาจวินิจฉัยโดยไม่ได้ลงสัมผัสปัญหา ตรวจการเอง
หากแต่ในประวัติศาสตร์อิสลาม บรรพชนผู้รู้ได้สรุปบทเรียนไว้ก่อนแล้วว่า นักฟิกต์(ผู้รู้ที่ใช้อำนาจในการวินิจฉัยนั้น) มีหลายแบบ หลายระดับของความลึกซึ้งต่อข้อวินิจฉัย ในทัศนะของ อิหม่ามฆอซาลีแล้ว นักวิชาการฟิกต์มีความวอเร๊าะในหลายระดับ บางท่านมองแค่ระดับดุนยา (บางท่านตีความเข้าข้างตัวเลี่ยงบาลีมีมิใช่น้อย) และในทัศนะของฆอซาลีเรื่องฟิกต์นั้นเป็นเพียงศาสตร์เครื่องมือ (อิลมูอาลัต) ที่มุ่งนำพาผู้คนและสังคมสู่ความยุติธรรม(ด้วยการจัดวางแนวทางที่เหมาะสม เป็นธรรม)ในโลกนี้และ เพื่อการอำนวยวิถีเพื่อการบรรลุผลสำเร็จในโลกหน้า (อาคีเราะฮ) เท่านั้น พอๆกับวิชาแพทย์ศาสตร์ และ. )ให้ใช่ศาสตร์ที่สำคัญเท่ากับวิชาเตาฮีต(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ) และความยำเกรงตักวา ที่อยู่ในระดับที่ลึกกว่า
ด้วยเนื้อหาข้างต้น คงจะทำให้สามารถเล็งเห็นถึงความคิดส่วนบุคคลสำคัญไม่น้อยไปกว่าคำวินิจฉัยตัดสินของผู้รู้ เช่นที่ว่า อาหารที่มีตรากำกับนั้นทานได้ ธนาคารแห่งนั้นถูกต้องตามหลักการ ประกันภัยในชื่อภาษาอาหรับนั้นใช้ได้ เราคงต้องพิจารณาและตรองเอาเองอีกเยอะ กับอะไรที่ว่าคนอื่นเขาการันตีให้ว่า "ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
หรือบางกรณีมีผู้เลี่ยงการจ่ายซากาตด้วยการ สร้างหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถเพื่อให้พ้นหน้าที่ที่จะต้องจ่าย
เพราะฮาดิษนบี ระบุไว้ว่า
إستفت قلبك وإن أفتوك وإن أفتوك وإن أفتوك
ความว่า จงขอฟัตวา/วินิจฉัยชี้ขาด จากหัวใจของท่าน (ถามใจตัวเอง) แม้นว่าจะมีคนฟัตวาให้ท่านแล้ว แม้นว่าจะมีคนฟัตวาให้ท่านแล้ว แม้นว่าจะมีคนฟัตวาให้ท่านแล้ว
ใจลึกๆของเรารู้ดี ถึงความผิด ชอบชั่วดี จากการที่คนอื่นเขาฟัตวาชี้ขาด วินิจฉัยแล้ว
วัลลอฮูอะลัม
อิบรอฮีม บิน อะห์หมัด บิน มุสตาฟา
Yazakallohukoyron Prof. Wan Suhaimi Wan Abdullah about ilmu and Tafsir from Prof.