อะไรคือหลักเกณฑ์และความสำคัญของการเชือดพลี(อุฎฮียะฮฺ)
................................................
:: คำถาม ::
ช่วงเวลาใดเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการเชือดพลี? เราะจะต้องแบ่งให้แต่ละคนในครอบครัวของเราทำการเชือดพลีทุกคนหรือเพียงแค่คนเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับทั้งครอบครัว การเชือดพลีดีกว่าหรือไม่หรือเราสามารถที่จะให้เงินเป็นการบริจาคแทน?
:: คำตอบ ::
อุฎฮิยะฮฺหรือการเชือดสัตว์พลีนั้นเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่งที่ได้ย้ำเตือนเราถึงการกระทำอันยิ่งใหญ่ในความเสียสละที่ท่านนบีอิบรอฮีมและท่านนบีอิสมาอีลนั้นมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำเพื่อแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ ไม่จำเป็นที่หัวหน้าครอบครัวต้องบังคับสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำการเชือดพลีเนื่องคนใดคนหนึ่งทำการเชือดพลีก็เพียงพอแล้วสำหรับครอบครัวทั้งหมด
ดร.มุซัมมิล ซิดดีกียฺ ประธานสภานิติศาสตร์อิสลามแห่งอเมริกาเหนือได้ตอบคำถามดังนี้
การเชือดพลี(อุฎฮิยะฮฺ)ในช่วงอีดอัฎฮานั้นเป็นเรื่องวาญิบหรือจำเป็นตามความเห็นของอิหม่าม อบู หะนีฟะฮฺและเป็นซุนนะฮฺ มุอักกะดะฮฺ(เป็นซุนนะฮฺที่อยู่ในระดับที่พิเศษกว่าซุนนะฮฺอื่นทั่ว ๆ ไป)ตามความเห็นของนักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ
ทุกคนที่สามารถจ่ายซะกาตได้ตามพิกัดอัตราที่ศาสนากำหนดไว้(นิศอบ)ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเชือดพลี ช่วงเวลาของการทำเชือดพลีนั้นเริ่มหลังจากละหมาดอีดอัฎฮาเสร็จ ตามหะดีษของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม มีรายงานว่าท่านกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ทำการเชือดพลีก่อนละหมาดอีด เขาเพียงเชือดสัพว์เพื่อเป็นอาหารแต่ใครก็ตามที่ทำการเชือดพลีหลังจากละหมาดอีดอัฎฮา เขาได้ทำการเชือดพลีแล้ว” (รายงานโดย อิหม่ามบุคอรียฺ)
อุฎฮิยะฮฺ(การเชือดพลี)เป็นการทำอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง เรามีช่วงเวลาเฉพาะสำหรับทำการเชือดพลีในช่วงอีดอัฎฮาเช่นเดียวกับที่เรามีช่วงเวลาสำหรับการละหมาด ช่วงเวลาของการทำเชือดพลีจะยังมีอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ 12 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ (นี่คือความเห็นที่สอดคล้องกับนักนิติศาสตร์บางส่วน ซึ่งยังมีอีกความเห็นหนึ่งที่กล่าวว่าช่วงเวลาการทำเชือดพลีนั้นยืดออกไปจนถึงวันที่ 13 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ) ซึ่งไม่จำเป็นที่หัวหน้าครอบครัวจะต้องให้สมาชิกทุกคนในบ้านทำการเชือดพลี ยิ่งไปกว่านั้นการเชือดพลีเพียงคนเดียวก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับครอบครัวทั้งหมด อย่างไรก็ตามหากว่าสมาชิกคนอื่นๆของครอบครัวมีซะกาตที่จะต้องจ่ายออกไป ดังนั้นพวกเขาก็จะต้องทำการเชือดพลีของตนเอง แพะหรือแกะหนึ่งตัวในนามของคนๆหนึ่ง แต่ถ้าเจ็ดสามารถที่จะร่วมกันทำการเชือดพลีวัวหรืออูฐหนึ่งตัว
อุฎฮิยะฮฺ คือซุนนะฮฺของท่านนบีอิบรอฮีม ท่านนบีอิสมาอีลและท่านนบีมุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่พวกเขา) อุฎฮิยะฮฺมีความหมายและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มันคอยย้ำเตือนให้เรานึกถึงการเชือดพลีอันยิ่งใหญ่ที่ท่านนบีอิบรอฮีมและท่านนบีอิสมาอีลมีความปรารถนาที่จะแสวงหาความพอพระอัยจากอัลลอฮฺ แต่พระองค์ทรงกล่าวในอัล กุรอานว่า “และเราได้ให้ค่าไถ่ตัวเขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง” สูเราะฮฺ อัศศอฟฟาต อายะฮฺที่ 107 การเชือดพลีอันยิ่งใหญ่ (สิบหฺ อะซีม) คือการเชือดพลีของคนนับพันล้านที่รำลึกถึงแนวทางการปฏิบัติดังกล่าวนี้ตลอดพันสี่ร้อยปีที่ผ่านมา แนวทางอื่นๆที่อ้างว่าดำเนินตามท่านนบีอิบรอฮีมได้หลงลืมแนวทางการปฏิบัติดังกล่าวนี้ แต่เราในฐานะมุสลิมได้รักษามาตลอดอย่างต่อเนื่อง เราต้องรักษาแบบอย่างนี้และจะต้องไม่ลืมมันเป็นอันขาด
จะไม่มีการใช้บางสิ่งแทนการเชือดพลี(อุฎฮิยะฮฺ) อย่างไรก็ตาม หากว่าบุคคลหนึ่งต้องการเชือดพลีแบบสมัครใจ(นัฟลฺ)ในนามของตัวเอง พ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วหรือญาติคนอื่นๆ เขาจะมีสิทธิเลือกที่จะทำ“อุฎฮิยะฮฺ” (การเชือดพลี) หรือมอบเงินมูลค่าเท่ากับสัตว์ที่จะเชือดเป็นการบริจาค
เนื้อของอุฎฮิยะฮฺจะถูกแบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆกัน ส่วนหนึ่งสำหรับตัวเองและครอบครัว ส่วนหนึ่งสำหรับมิตรสหาย และอีกส่วนหนึ่งสำหรับคนยากคนจนและคนขัดสน หากว่าคนจนมีมาก ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะมอบเนื้อทั้งหมดเป็นการบริจาคให้แก่คนจนและคนขัดสน ซึ่งในอเมริการและแคนนาดานั้นพวกเราอาจไม่ได้ขัดสนมากนัก แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่คนขัดสนไม่สามารถหาเนื้อมาบริโภคได้ บางทีเป็นการดีเสียยิ่งกว่าสำหรับเราในอเมริกาหากว่ามอบเงินให้กับองค์กรเยียวยาต่างๆที่เชื่อถือได้ในการทำอุฎฮิยะฮฺโดยเป็นตัวแทนของเราและทำการแจกจ่ายเนื้อในหมู่คนยากคนจนและคนขัดสนในประเทศที่ยากจนและในประเทศที่ผู้คนกำลังประสบกับภาวะสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจหรือหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง
………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net by Dr. Muzammil H. Siddiqi
#อีดอัฎฮา
#ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานปัตตานี
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทำไมต้องเชือดสัตว์เพื่อการพลี ?
ความหมายของอุฎฮียะฮ์(เนื้อกุรบาน)และกฎเกณฑ์ของมัน
แนวคิดของการเชือดสัตว์พลีในอิสลาม