Skip to main content

ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้แปลคลิปวีดีโอแถลงการณ์ทาง youtube ขององค์ร BRN ที่ได้รับคำวิจารณ์ใน ชิ้นรายงานข่าว คำต่อคำแถลงบีอาร์เอ็น ฉบับแปลถูกต้อง-สมบูรณ์ ใน นสพ. ข่าวสด ผมขอตอบคำวิจารณ์ของ ศ. ดร. รัตติยา สา ที่ลง ฉบับแปลถูกต้องสมบูรณ์ และ คุณ วงค์ ตาวัน ซึ่งเป็นผู้เขียนของชิ้นรายงาน แปลให้ทะเลาะ

แรกๆ ผมขอขอบคุณท่าน ศ. ดร. รัตติยา ในสองเรื่อง

เรื่องแรกก็คือการที่ท่านได้ให้คำวิจารณ์เชิงส้รางสรรค์เกี่ยวกับ mso-fareast-language:JA">“ขอจำกัดของการใช้ภาษาปลายทาง ของผู้แปลฉบับอื่นๆ (รวมถึงผม) ผมไม่เคยเรียนภาษาไทยอย่างเป็นระบบหรือเป็นทางการ ไม่เคยตามหลักสูตรหรือการอบรมภาษาไทยในรูปแบบใดๆ จึงยังมีจุดอ่อนในภาษาไทยอย่่างมาก ผมก็ถือว่าคำวิจารณ์ของท่านเป็นคำแนะนำในการพัฒนาทักษะภาษาไทยของผมที่ยังมีข้อจำกัดหลายๆ ข้อ

อีกเรื่องหนึ่งคือผู้เชี่ยวชาญภาษามลายูเชื่อดังเหมือนท่านมาช่วยผลิตบทแปลเพื่อเพิ่มความเข้าใจมากขึ้น เพราะถ้าบทแปลที่มีความน่าเชื่อถือมีจำนวนยิ่งมากก็ยิ่งดี บทแปลของท่านมีจุดเด่นในความเรียบร้อย ความเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทางและความสวยงาม

คุณภาพบทแปลของผมดูเหมือนว่า ยังไม่น่าพอใจสำหรับท่าน ผมยอมรับว่าบทแปลผมยังมีจุดอ่อนหลายๆ จุด อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของผมในการผลิตบทแปลนั้นคือเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมไทย โดยเฉพาะเพื่อนผมที่เป็นนักวิชาการณ์ นักข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ที่ต้องการทราบความหมายของแถลงการณ์ภายในเวลาอันสั้น ผมจึงพยายามผลิตบทแปลเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ (ปกติภายในไม่กี่ชั่งโมง) ไม่มีเวลาที่จะกลั่นกรองบทแปล ค้นหาคำศัพท์ที่ดีที่สุด และทำให้บทแปลมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดในภาษาปลายทาง ด้วยเหตุนี้เองผมตั้งเรียนบทแปลของผมเป็น mso-fareast-language:JA">“ฉบับชั่วคราว และข้อให้ทุกท่านเข้าใจว่า ถึงแม้คุณภาพของบทแปลไม่เท่ากับอันที่น่าพอใจ (แม้แต่ตัวผมเองก็ยังไม่พอใจ) แต่ผมก็นำเสนอบทแปลแต่ละบทด้วยความรับผิดชอบ และผมเชื่อว่าผู้ผลิตบทแปลอื่นๆ ก็เช่นกัน

เกี่ยวกับการแปลของคำว่า JA">penjajah ที่ใช้หลายๆ ครั้งในแถลงการณ์นั้น ท่าน ศ.ดร. รัตติยา ไม่เห็นด้วยกับการใช้คำว่า นักล่าอาณานิคม

(เริ่มการอ้างอิง) 

เช่นคำว่า"เปินฌาฌัฮ" ที่มีการใช้คำว่า "นักล่าอาณานิคมสยาม" เห็นแล้วตกใจ ความหมายจริงๆ คือ "ผู้ยึดครอง" ซึ่งต่างจากนักล่าอาณานิคม

ระดับคำศัพท์ก็จำเป็นต้องจริงจัง ละเอียด ยกตัวอย่างเช่นคำพูด "กิน" กับ "เสวย" ให้ความรู้สึกต่างกัน JA">

(จบการอ้างอิง) JA">

การแปลคำว่า penjajah เป็น ผู้ยึดครอง นั้นมีปัญหาในสองด้าน ด้านแรกคือด้านความหมาย คำวpenjajah มีเกี่ยวข้องกับคำว่า menjajah ซึ่งหมายถึง ปกครองอาณานิคม และเกี่ยวข้องกับสิทธิด้วย ส่วนคำว่า ยึีกครอง ควรแปลเป็น penakluk มากกว่า

อีกด้านหนึ่งคือด้านบริบท ในคณะที่อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ อธิบายถึงหลักการต่อสู้ของขบวนการปลดปล่อยปาตานี ท่านไม่น่าจะใช้ภาษาทางการทูต บทแปลของ ศ.ดร. รัตติยา เป็นบทแปลทางการทูตยอดเยี่ยม ที่มีข้อดีในความสวยงามและความเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทาง แต่ในขณะเดียวกัน ในบทแปลของท่าน พลังที่มีอยู่ในแถลงการณ์ก็หายไป ผมสงสัยว่า ฝ่าย JA">BRN เองอาจจะตกใจกับบทแปลของท่าน

ท่านไม่น่าจะตกใจกับการใช้คำว่า JA">“นักล่าอาณานิคมสยาม ดังเช่น ดร. วรวิทย์ บารู ส.ว. ปัตตานี ได้อธิบายในรายการโทรทัศน์ว่า นี้คือการใช้คำปกติธรรมดาเมื่อเรากล่าวถึงประวัติศาสตร์ของปาตานีในภาษามลายู และความตกใจนี้ิเกิดขึ้นกับการที่ว่า คนไทย (รวมถึง ศ. ดร. รัตติยาเอง) ไม่เคยคิดว่าตัวเองถูกเรียกว่าเป็น นักล่าอาณานิคม

ผมขออ้างส่วนหนึ่งอขง บทความในวารสาร รูสมิแล ความคิดเกี่ยวกับรัฐไทยในฐานะ นักล่าอาณานิคม

(เริ่มการอ้างอิง) JA">

ภูมิภาคหมู่เกาะมลายูมีชื่อเรียกในภาษามลายูว่านูซันตารา ( mso-fareast-language:JA">Nusantara) ภูมิภาคทั้งภูมิภาคนี้เคยตกเป็นเมืองขึ้นของบรรดาประเทศมหาอำนาจตะวันออกในประวัติศาสตร์ของนูซันตารา จุดสุดยอด (climax) อยู่ที่ช่วงเวลาที่ประเทศ Tahoma;mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">“ mso-fareast-language:JA">บรรลุเอกราช mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">” JA"> mso-fareast-language:JA">(ภาษามลายูใช้คำว่า mencapai kemerdekaan) ไม่ใช่ ได้รับเอกราช Tahoma;mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">” mso-fareast-language:JA"> เพราะเอกราชคือผลที่เกิดจากการต่อสู้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วมีคนที่จะมาให้กับเราผู้นำของประเทศในขณะที่ JA">“บรรลุเอกราช mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">” JA">อย่างเช่น ประธานาธิบดีซูการ์โน แห่งประเทศอินโดนีเซียหรือนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งประเทศมาเลเซีย ตนกู อับดุล ราห์มัน ปุตรา ได้รับความยกย่องอย่างสูงเป็น Tahoma;mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">“ mso-fareast-language:JA">บิดาแห่งเอกราช mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-fareast-language:JA">” JA"> mso-fareast-language:JA">(Bapa Merdeka) ฉะนั้น การต่อสู้ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านี้คือการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยดินแดน

(จบการอ้างอิง) JA">

จากบริบทนี้ ชัีดเจนว่า บรรดาผู้แปลที่แปลคำว่า penjajah เป็น นักล่าอาณานิคม เข้าใจถึงบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ของโลกมลายู ฉะนั้น ขอยืนยันว่า พวกเราก็ปฏิบัีตงานแปลตามที่แนวคิดของท่าน ศ.ดร. รัตติยาที่ว่า ระดับคำศัพท์ก็จำเป็นต้องจริงจัง

อีกอย่าง ทั้ง ศ.ดร.รัตติยา และคุณวงค์ วิจารณ์คำแปลอื่นว่า เป็นบทแปลซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้ง (คุณวงค์กล่าวหาว่า JA">“แปลให้ทะเลาะกัน) แต่ทั้งสองท่านเข้าใจผิดความตั้งใจของบรรดาผู้แปล เราแปลเพื่อสันติภาพ ไม่ใช่เพิ่มเชื่อเพลิงของความขัดแย้ง  

(เริ่มการอ้างอิง) JA">

การแปลแถลงการณ์ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ความหมายคร่าวๆ ก็คล้ายกัน แต่อ่านแล้วยังต้องถกเถียง เกิดคำถาม ต้องให้ ขยายความ JA">

คน 2 คนพูด คนหนึ่งเราฟังได้ แต่อีกคนพูดเรื่องเดียวกันเราฟังไม่ได้ เหมือนดิฉันอ่านคำแปลของอีกคนยังรู้สึกกำกวม เพราะข้อจำกัดของการใช้ภาษาปลายทาง JA">

ผู้แปลบางคนฟังภาษาต้นทางรู้แต่อ่อนภาษาปลายทาง หรือเข้าถึงภาษาต้นทางแต่เวลาถ่ายทอดคำศัพท์ของภาษาปลายทางจำกัด บางคำต้องยอมทับศัพท์แล้วใช้วิธีขยายความ JA">

สมมติดิฉันเป็นคนเจรจา ให้คนแปลคำตอบจากคู่เจรจา คนที่หนึ่งแปลอย่าง คนที่สองแปลอย่าง อ่านงานแปลของคนที่หนึ่งอาจรู้สึกกูไม่คุยด้วยแล้ว อ่านของคนที่สองอาจเห็นว่า ยังมีช่องทางพูดคุยกันได้

(จบการอ้างอิง) JA">

นี่คือการวิเคราะห์ที่ไม่ลึกซึ้งเกี่ยวกับคำแถลงการณ์ ฝ่าย mso-fareast-language:JA">BRN น่าจะใจคำที่รุนแรงด้วยความตั้งใจ และน่าจะไม่สนใจว่า ฝ่ายสังคมไทยจะตกใจหรือไม่ตกใจ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าวิเคราะห์อย่างเจาะลึกตามบริบทประวัติศาสตร์โลกมลายู เหตุการณ์ความไม่สงบและกระบวนการสันติภาพที่กำลังเกิดขึ้น แถลงการณ์ของ BRN ทั้งหมดนั้นเป็นการแสดงถึงความพร้อมของฝ่าย BRN ที่จะเข้าเจรจา ด้วยเหตุนี้ ในแถลงการณ์ไม่มีการใช้คำว่า “merdeka” (เอกราช) หรือ memisahkan tanah (แบ่งแยกดินแดน) ถ้ามีคำเหล่านี้ในการแถลงการณ์ ชัดเจนว่าฝ่าย BRN ไม่มีความประส่งค์ที่จะดำเนินการเจรจาต่อ แต่แถลงการณ์นั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ฝ่าย BRN พร้อมที่จะนั่งโต๊ะเจรจาตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา

เมื่อผมผลิตบทแปล โดยเฉพาะแถลงการณ์ครั้งแรก ผมก็คิดหนักว่าควรแปลอย่างไร เพราะคำที่ใช้ในแถลงการณ์นั้นค่อนข้างรุนแรง จึงผมขอคำปรึีกษาจากหลายๆ ท่าน และตัดสินใจจะแปลตามต้นฉบับให้ดีที่สุด แม้ว่าต้นฉบับที่ออกมาจะมีความรุนแรงในการใช้คำก็ตาม mso-fareast-language:JA">

ผมแน่ใจว่า สังคมไทยคงจะตกใจกับการใช้คำว่า JA">“นักล่าอาณานิคม แต่ผมก็คิดว่า ให้ตกใจล่วงหน้า ณ ตรงนี้ ย่อมดีกว่า ให้ตัวแทนไทยตกใจ ณ โต๊ะเจรจา ถ้าฝ่ายตัวแทนรัฐไทยเข้านั่งโต๊ะเจรจา โดยมีอารมณ์ทางการทูตตามที่ทั้งสองท่าน (ศ.ดร.รัตติยา และ คุณวงค์) เข้าใจว่าถูกต้องนั้น คณะตัวแ่ทนไทยก็คงจะตกใจมากกับความแตกต่างทางอารมณ์ระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับฝ่าย BRN   

การที่ ทับศัพท์แล้วใช้วิธีขยายความ นั้นคือสิ่งที่ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ในขณะที่ผู้แปลจำเป็น้ต้องผลิตบทแปลภายในเวลาอันจำกัดมาก ขนาดในเวลาเมื่อผมยุ่งกับการแปลอยู่ เพื่อนๆ ต่างคงก็ส่งข้อความทางเฟสบุ๊กถามว่า เสร็จหรือยัง เสร็จเมื่อไร และการที่ผมใช้วิธีการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปิดช่างทางให้ผู้รู้/ผู้เชียวชาญทางอื่นมานำเสนอความคิดในเรื่องนี้เอง

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีแถลงการณ์ทาง youtube ต่อไปก็ผมขอรับหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้แปลเป็นภาษาไทยด้วยครับ ผมก็ขอพยายามเพื่อยกระดับคุณภาพของภาษาปลายทาง (ภาษาไทย) และจะนำเสนอฉบับชั่วคราวภายในเวลาอันสั้น ส่วนฉบับที่สมบูรณ์กว่าก็ขอมอบให้กับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาปลายทาง 

 

คำต่อคำแถลงบีอาร์เอ็น ฉบับแปลถูกต้อง-สมบูรณ์

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01EUXlOREEwT1E9PQ%3D%3D&sectionid

แปลให้ทะเลาะกัน JA">

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01EUTBOVFUxTlE9PQ%3D%3D&sectionid