วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปีเป็น “วันชาติมลายูอิสลามปัตตานี” ที่ถือเอาวันที่ “สมัชชาประชาชาติมลายูปัตตานี” จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2540 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 540 ปี หลังจากที่สุลต่านอิสมาแอล ชาห์ ของปัตตานีทรงทำพิธีเข้ารับอิสลาม K4DS Post ฉบับต้อนรับหน้าฝนนี้ ชวนผู้อ่านย้อนศึกษาประวัติศาสตร์ปาตานีผ่านคนในพื้นที่เพื่อเข้าใจความเป็นมาของสถานการณ์ และร่วมกันวิพากษ์กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและขบวนการบีอาร์เอ็น อันเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อสันติภาพของจังหวัดชายแดนใต้
การเจรจาสู่อนาคตปาตานี
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 ณ โรงแรมเดอะ เอตาส บางกอก กรุงเทพฯ ปาตานี ฟอรั่ม ได้จัดเวทีอภิปราย “การเจรจาสู่อนาคตปาตานี” หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวรายงานพิเศษนี้ไปแล้ว โดยมี ดอน ปาทาน และ เอกรินทร์ ต่วนศิริ ผู้เขียน นำเสนอรายงานดังกล่าวซึ่งเปิดเผยถึงบทสนทนาระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยและกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นในการเจรจาที่ผ่านมา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมให้ความคิดเห็น โดยมีผู้ที่ทำงานในประเด็นนี้ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านต่างๆ ของรายงานพิเศษฉบับนี้ซึ่งอาจเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเข้าใจต่อแนวทางการสร้างสันติภาพในพื้นที่
K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้
การเจรจาสู่อนาคตปาตานี โดย ดอน ปาทาน และ เอกรินทร์ ต่วนศิริ, 2557
"...รายงานพิเศษของปาตานี ฟอรั่ม ที่นำเสนอกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและขบวนการบีอาร์เอ็น ที่อภิปรายถึงการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของขบวนการสันติภาพ มุมมองของผู้นำการแบ่งแยกดินแดนต่อกระบวนการสันติภาพว่าเหตุใดจึงสะดุดและทำอย่างไรจึงจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้ รวมถึงความปรารถนาและเงื่อนไขของฝ่ายการเมืองของบีอาร์เอ็น และการประเมินนัยสำคัญของการประกาศแผนสันติภาพวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 พร้อมข้อเสนอแนะในการทำให้แผนสันติภาพสอดคล้องกับความเป็นจริงและเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดมีส่วนร่วมได้..."
อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่
ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู โดย อารีฟีน บินจิ อับดุลลอฮุ ลออแมนและซูฮัยมีย์ ฮิสมาแอล, 2556
"...งานชิ้นนี้เป็นงานที่มีชีวิตไม่ใช่งานที่เกิดจากการอ้างอิงจากการเก็บงานก่อนๆ เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนชีวิตและปัญหาของพื้นที่ปัตตานีอย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความเป็นมาโดยผ่านประวัติศาสตร์สังคมที่เกิดจากคนในพื้นที่ถ่ายทอดให้ได้รับรู้ ดังความมุ่งหมายของผู้เขียนที่ว่า “ขอให้หนังสือเล่มนี้ เป็นสื่อกลางสร้างความรู้ ความเข้าใจระหว่างผู้ที่มีความหลากหลายในประเทศนี้...”
อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่