Skip to main content
แนะนำโดย ซุกกรียะห์ บาเหะ
ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ
 
 
ชื่อหนังสือ : ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง” ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ
ผู้เขียน : ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

การเชื่อใน “ความจริง” หรือ “ประวัติศาสตร์” คนละชุดกัน ระหว่างผู้คนแห่ง “ปัตตานี” และ “สยาม” หรือ “รัฐไทย” ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะว่าด้วยเรื่อง “กรณีเจ้าแขกเจ็ดหัวเมือง” เรื่องของฮัจญีย์สุหลงไปจนถึงกรณีการประท้วงรัฐบาลไทยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2518 อย่างที่ ดร.ชัยวัฒน์ นำเสนอบทวิเคราะห์ คือภาพสะท้อนที่สำคัญยิ่งถึงฐานรากของความเป็นจริงของปัญหาภาคใต้ที่แม้ทุกวันนี้ก็ยังคงคุกรุ่นรอการแก้ไขให้ลุล่วงอยู่

เนื้อหา

บทนำ คำถามเบื้องต้นว่าด้วยการศึกษาความรุนแรงกับ “ความจริง” จากกึ่งศตวรรษปัตตานี
บทที่ 1  ความรุนแรงกับ “ความจริง” ทฤษฎี – วิธีวิทยา- ขอบเขตการศึกษาวิจัย ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยความรุนแรง “ความจริงในทางทฤษฎี วิธีวิทยาดวงตาค้างคาว
บทที่ 2  การศึกษาปัตตานี : หนึ่งทศวรรษภูมิทัศน์วิชาการ(2534- 2543) ในหนึ่งศตวรรษประวัติศาสตร์การปกครองปัตตานี
บทที่ 3  ความเงียบของอนุสาวรีย์ลูกปืน: ดุซงญอ- นราธิวาส,2491
บทที่ 4  มูลนิธิของคนสาบสูญ, ทะเลสาบสงขลา 2497 – ปัตตานี 2537
ข้อเรียกร้องทั้ง 7 และรางวัลด้วยการสาบสูญ
มูลนิธิในฐานะสถาบันผลิต “ความจริง”
บทที่ 5  กระสุนนัดละบาท? นราธิวาส-ปัตตานี 2518 การประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในปัตตานี 2518
นวนิยายกับ “ความจริง”
ซือโก๊ะแซกอ นวนิยายวิเคราะห์ “ความจริง” ว่าด้วยความรุนแรงภาคใต้
บทที่ 6  เสียงระเบิดใกล้ที่ประทับ : แถลงการณ์, เสียงเพลงและรถมอเตอร์ไซค์,ยะลา 2520
บทสรุป ความรุนแรงจัดการ “ความจริง” จากความผิดธรรมดาสู่ความเป็นปรกติ นัยทางนโยบายของความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง”

 

ชื่อหนังสือ : ความรุนแรงซ่อนหาสังคมไทย
บรรณาธิการ: ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
นับแต่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่เริ่มก่อร่างสร้างขึ้นมาในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความรุนแรงของสังคมไทยก็ได้ “เผยตัว” มากขึ้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปไม่อาจรู้สึกได้ว่า “ความรุนแรง” อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ด้วยเหตุและผลเดียวกัน ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย
ซึ่งเกิดจากงานวิจัยชุดเดียวกับผลการศึกษาปีที่สองในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่อง “สันติวิธี ความรุนแรงและสังคมไทย” ซึ่ง ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เมธีวิจัยอาวุโสของ สกว. รับหน้าที่เป็นหัวหน้าการวิจัยในครั้งนี้ ทั้งยังเป็น “บรรณาธิการ” ให้กับหนังสือเล่มนี้อีกด้วย เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จึงประกอบด้วยผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยคนสำคัญๆ ของเมืองไทยมากมาย
 
•   ประจักษ์ ก้องกีรติ กำเนิดและพัฒนาการขององค์ความรู้ทางวิชาการ ว่าด้วยความรุนแรงทางการเมือง : บทสำรวจงานวิชาการในโลกตะวันตก
•   พวงทอง ภวัครพันธุ์ ปฏิบัติการสงครามของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย
•   กฤษฎา บุญชัย สืบรอย “ความรุนแรง” จากวรรณกรรมของขบวนการสิทธิมนุษยชนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย
•   อุษณีย์ ธโนศวรรย์ การศึกษา: มายาการความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
•   ธัญญรัตน์ ทิวถนอม : การศึกษาเรื่อง “กระแสโลกาภิวัฒน์และการลงโทษประหารชีวิตในรัฐไทย
•   ธงชัย วินิจจะกูล  6 ตุลาในความทรงจำของฝ่ายขวา 2519-2549 จากชัยชนะสู่ความเงียบ (แต่ยังชนะอยู่ดี)

 ซึ่งทุกเรื่องของงานวิจัยได้บ่งชี้ให้เห็นพัฒนาการของความรุนแรงนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งความรุนแรงจากอาชญากรรมโดยรัฐ ความรุนแรงของโทษประหารชีวิต ความรุนแรงจากการปรามปรามยาเสพติดในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่ความรุนแรงในรั้วโรงเรียนทุกระดับชั้นด้วยเช่นกัน