เหตุไม่สงบชายแดนใต้ นัยความต่างของรอมฏอนในปีที่ไร้ข้อตกลงยุติความรุนแรง
ในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนโดยเฉพาะเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว พบว่าสถิติของสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้มีความถี่ค่อนข้างสูง แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่มีการพูดคุยสันติภาพโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2556 และ 2557 ซึ่งช่วงนั้นได้เริ่มกระบวนการพูดคุยฯ โดยใช้เดือนรอมฎอนเป็นข้อตกลงร่วมกันอย่างลับๆ ว่าจะยุติความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย
ดาโต๊ะซัมซามิน: ลมหายใจใหม่ของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
หมายเหตุ: รายงานชิ้นนี้เป็นการแปลจากการรายงานข่าวภาคค่ำ Buletin Utama ของทีวี 3 มาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
ศาลยกฟ้องผู้ต้องหาคดียิงครอบครัว‘มะมัน’เนื่องจากไม่มีประจักษ์พยานยืนยัน
อสนียาพร นนทิพากร
จากเหตุการณ์เมื่อค่ำคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 กรณีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามเอ็ม 16, อาก้า และปืนพกขนาด 9 มม. กราดกระสุนใส่สมาชิกครอบครัวมะมัน ส่งผลให้เด็กชายสามพี่น้องเสียชีวิตอย่างน่าสลดใจ เหตุเกิดขึ้น ณ บ้านเลขที่ 143/4 หมู่ 7 บ้านปะลุกาแปเราะ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส โดยนายเจ๊ะมุ มะมัน บิดา บาดเจ็บเล็กน้อย น.ส.พาดีละห์ แมยู มารดาได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนบุตรชายทั้งสามคือ ด.ช.อิลยาส มะมัน อายุ 6 ปี, ด.ช.บาฮารี มะมัน อายุ 9 ปี และ ด.ช.มูยาเฮด มะมัน อายุ 11 ปี ต้องสังเวยชีวิตให้กับคมกระสุน
ยกฟ้อง 2 อดีตทหารพราน สะเทือนถึงการพูดคุยสันติสุข
เมื่อไม่นานมานี้ เกิดเหตุคาใจคนในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ กรณีศาลจังหวัดนราธิวาส อ่านคำพิพากษาเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.58 ยกฟ้องอดีตทหารพราน 2 นายในคดียิงเด็ก 3 ศพ ตระกูลมะมันที่บ้านบลูกาแปเราะ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส ทำให้สังคมสาธารณะทั่วไปที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่มีปฏิกิริยาแบบต้องอึ้งและทึ่งในเวลาเดียวกันอย่างพร้อมหน้ากันโดยไม่ต้องนัดหมาย เพราะคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าหลังจากที่อดีตทหารพรานทั้งสองคนดังกล่าวถูกทางตำรวจติดตามจับกุมได้และต่อมาก็ให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุจริงนั้น ความเข้าใจตรงกันของทุกคนต่อฆาตรกรใจโหดเหี้ยมครั้งนี้ก็คืออดีตทหารพรานนั้นเอง