Skip to main content
แปลโดย
ตูแวดานียา มือรีงิง
บรรณาธิการสำนักข่าวอามาน

หมายเหตุ: รายงานชิ้นนี้เป็นการแปลจากการรายงานข่าวภาคค่ำ Buletin Utama ของทีวี 3 มาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา

[คลิกดูคลิปวิดีโอบางส่วนที่นี่]

ครบรอบสองปีนับตั้งแต่การลงนามเพื่อพูดคุยสันติภาพในการแสวงหาสูตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาใต้ (ปาตานี-ผู้แปล) การเดินทางสู่สันติภาพยังคงต้องเดินทางอีกยาวไกลระหว่างรัฐบาล กับประชาชนในพื้นที่และกลุ่มขบวนการ มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยการความสะดวกในการพูดคุยได้รับลมหายใจการใหม่ด้วยการเข้าถึงวิธีการที่แตกต่างกัน

มีการพบกันทั้งหมดสี่ครั้งก่อนเกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่กรุงเทพฯ และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น การเข้ามาของทหารที่ทำการยึดอำนาจและเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งขณะนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นผู้นำประเทศ

“เราสามารถพูดได้ว่า วันนี้เข้าสู่ยุคใหม่ของการพูดคุย กระบวนการพูดคุยในครั้งนี้ก็เป็นกระบวนการใหม่ ที่ว่าใหม่เพราะว่าทั้งฝ่ายไทยเป็นคนใหม่และฝ่ายขบวนการเองก็เป็นกลุ่มใหม่ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบกันอย่างเป็นทางการ แต่ที่สำคัญคือมีการสานต่อกระบวนการพูดคุย”ดาโต๊ะศรีซัมซามิงกล่าว

ถึงกระนั้นก็ตามการพูดคุยที่ผ่านมาเป็นการเปิดช่องทางและโอกาสของฝ่ายขบวนการได้ตระหนักถึงว่าในการแสวงหาสันติภาพไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นเท่านั้น แต่ต้องให้ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยที่กัวลาลัมเปอร์และต้องเปิดให้ขบวนการต่อสู้ทุกกลุ่มที่กำลังต่อสู้ในภาคใต้ และจะมีการพบกันครั้งแรกในช่วงกลางปีนี้ สำหรับกัวลาลัมเปอร์แล้ว เราก็มีประโยชน์บ้างจากการที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำประเทศไทย

“เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามารับหน้าที่ในตรงนี้ สถานการณ์ก็มีความแตกต่าง เนื่องจากว่าท่านเป็นทหาร ท่านมีอำนาจในการที่จะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นและเป็นผลบวกหลังจากที่ท่านให้ความจริงใจ ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ภายใต้การนำของท่าน โดยเฉพาะกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายความมั่นคงจะปฏิบัติตาม เพียงตอนนี้เราต้องมานั่งใหม่ มาร่วมกันวางแผนในกระบวนการสร้างแนวทางต่างๆ” ผู้อำนวยการอำนวยการความสะดวกกล่าวปิดท้ายรายการ